(VOVworld)–ในปี๒๐๑๓ แม้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะประสบความยากลำบากแต่การดึงดูดเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือFDIของเวียดนามยังคงประสบผลสำเร็จเป็นที่น่ายินดี โดยเฉพาะ โครงการขนาดใหญ่ในจังหวัดต่างๆทางภาคกลางเวียดนามได้เปิดโอกาสพัฒนาให้แก่ผืนแผ่นดินภาคกลาง
|
โครงการโรงกลั่นปิโตรเคมีเญินโห่ยในจังหวัดบิ่งดิ่ง(Photo:VNE ) |
ปี๒๐๑๓ จังหวัดต่างๆทางภาคกลางเวียดนามสามารถดึงดูดโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือFDIได้ ๘๕๐โครงการ รวมยอดเงินทุนจดทะเบียนเกือบ๒หมื่น๕พัน๕ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเกือบร้อยละ๑๒ของเงินทุนFDIทั้งประเทศ และท้องถิ่นที่สามารถดึงดูดเงินทุนFDIมากที่สุดคือ จังหวัดแทงฮว้า ห่าติ๋ง บิ่งดิ่ง ฟู้เอียน และกว่างหงาย โดยเฉพาะ โครงการโรงกลั่นปิโตรเคมีงีเซินซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างญี่ปุ่นกับบรรดาหุ้นส่วนในงีเซินแทงฮว้า รวมเงินทุนกว่า๙พันล้านเหรียญสหรัฐได้เป็นโครงการFDIที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม และเป็นก้าวกระโดดในการดึงดูดเงินทุนFDIในภาคกลาง ซึ่งได้เปิดโอกาสพัฒนาให้แก่ทั้งภาคกลาง นายเจิ่นหว่า หัวหน้าคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจงีเซินเผยว่า“เขตเศรษฐกิจงีเซินมีโครงการโรงกลั่นปิโตรเคมีงีเซินพร้อมอุตสาหกรรมสะอาด การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมผลิตประกอบและการบริการต่างๆ รัฐบาล และกระทรวงวางแผนและการลงทุนได้อนุญาตให้ขยายนิคมอุตสาหกรรมบนพื้นที่๔หมื่น๕พันเฮกตาร์ ปัจจุบัน จังหวัดแทงฮว้ากำลังเน้นปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน และช่วยเหลือนักลงทุนในการทำระเบียบการทางราชการอย่างสะดวก รวดเร็วและทำการเคลียร์พื้นที่”
ปี๒๐๑๓ โครงการโรงกลั่นน้ำมันหวุงโรซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่างอังกฤษกับรัสเซีย ในจังหวัดฟู้เอียนได้เพิ่มเงินทุนจาก๑.๗พันล้านเหรียญสหรัฐขึ้นเป็น๓.๑๘พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้อนุญาตให้โครงการ“โรงกลั่นปิโตรเคมีคอมเพล็ก”ของเครือบริษัทปตท ประเทศไทย ที่มีเงินทุนประมาณ๒หมื่น๗พันล้านเหรียญสหรัฐลงทุนในจังหวัดบิ่งดิ่ง ส่วนเขตเศรษฐกิจยุงก้วตที่มีโครงการโรงกลั่นน้ำมันยุงก้วตสามารถดึงดูดเงินทุนได้กว่า๑หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ รวมทั้งเงินทุนปฏิบัติที่กว่า๕พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ช่วยให้ภาคกลางกลายเป็นดาวเด่นในแผนการดึงดูดเงินทุนFDIของประเทศ
นักวิชาการทางเศรษฐกิจจำนวนมากให้ข้อสังเกตว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการปฏิบัตินโยบายอย่างโปร่งใสและให้ความช่วยเหลือนักลงทุนอย่างเต็มที่ ในตลอดหลายปีที่ผ่านมาได้มีส่วนช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนที่โปร่งใส ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในจังหวัดต่างๆทางภาคกลางเวียดนาม เฉพาะช่วงปี๒๐๐๗ถึงปี๒๐๐๙ เงินทุนFDIในภาคกลางอยู่ที่๑หมื่น๑พัน๓ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่า๔เท่า เมื่อเทียบกับเงินFDIทั้งหมดตั้งแต่ช่วงปี๑๙๘๘ถึงปี๒๐๐๖ ที่มี๒พัน๗ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ ไม่เพียงแต่เพิ่มขึ้นด้านปริมาณเท่านั้นหากคุณภาพของโครงการต่างๆก็เพิ่มขึ้นเช่นกันซึ่งโครงการโรงกลั่นปิโตรเคมีต่างๆที่มีมูลค่านับหมื่นล้านเหรียญสหรัฐคือตัวอย่างที่ชัดเจน โดยเฉพาะ จังหวัดที่ยากจนต่างๆ เช่น จังหวัดกว่างหงาย ฟู้เอียนและบิ่งดิ่ง ซึ่งเมื่อก่อนนี้ มีโครงการที่มีมูลค่าสองถึงสามสิบล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้นแต่ปัจจุบันก็มีโครงการที่มีมูลค่านับพันล้านเหรียญสหรัฐ โครงการโรงกลั่นปิโตรเคมีไม่เพียงแต่ขยายขนาดลงทุนเท่านั้นหากยังมาพร้อมกับโครงการต่างๆ เช่น ไฟฟ้าพลังความร้อน การถลุงเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมผลิตประกอบ มูลค่านับพันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสามารถต่อยอดให้แก่การพัฒนาต่างๆและสร้างงานให้แก่แรงงานท้องถิ่น นิคมอุตสาหกรรม และเขตเศรษฐกิจต่างๆในภาคกลางเวียดนามที่มีระเบียบและนโยบายที่ดี พร้อมกับแนวทางพัฒนาหน่วยงานอุตสาหกรรมจะช่วยให้เศรษฐกิจของภาคกลางพัฒนาและ ทำให้โครงการลงทุนต่างๆมีพลังจูงใจ มีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืน เขตเศรษฐกิจเป้าหมายภาคกลางประกอบด้วยนครดานัง จังหวัดเถื่อเทียนเว้ กว่างนาม กว่างหงาย และบิ่งดิ่ง มีบทบาทเป็นพลังขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ในยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจสังคมของภาคกลาง จากบทบาทเป็นแกนนำ ท้องถิ่นเหล่านี้กำลังประสบความสำเร็จในการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ สถานประกอบการใหญ่ๆจากญี่ปุ่น สหรัฐ สิงคโปร์และสาธารณรัฐเกาหลี ได้เข้ามาลงทุนในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง
จากสภาพทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ในหลายปีที่ผ่านมา จังหวัดต่างๆทางภาคกลางเวียดนามได้ผลักดันการเชื่อมโยงเพื่อส่งเสริมและดึงดูดการลงทุน การสัมมนาเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระดับภูมิภาคที่จัดขึ้นเป็นประจำได้ช่วยให้เจ้าหน้าที่บริหารท้องถิ่นต่างๆร่วมกันแลกเปลี่ยน วิเคราะห์ ส่งเสริมศักยภาพและจุดแข็งของท้องถิ่นแต่ละแห่ง จนถึงปัจจุบัน จังหวัดและนครต่างๆล้วนกำหนดด้านที่ต้องดึงดูดการลงทุนให้สอด คล้องกับท้องถิ่นของตน เช่น นครดานังเน้นเรียกเงินลงทุนในด้านเทคโนโลยีขั้นสูงและ การเงิน จังหวัดกว่างนามและเถื่อเทียนเว้ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว จังหวัดกว่างหงายเน้นอุตสาหกรรมหนัก ส่วนจังหวัดบิ่งดิ่งและฟู้เอียนเน้นดึงดูดเงินทุนในด้านการกลั่นปิโตรเคมี นายกาวควา ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดกว่างหงายกล่าวว่า การส่งเสริมการลงทุนต้องได้รับการปฏิบัติแบบมืออาชีพมากขึ้น“พวกเราจะเคียงบ่าเคียงไหล่ และให้ความช่วยเหลือนักลงทุนอยู่เสมอบนเจตนารมณ์ถืองานของนักลงทุนเป็นงานของพวกเรา อุปสรรคของนักลงทุนเป็นอุปสรรคของพวกเรา และร่วมกันแก้ไขอย่างทันการณ์”
จนถึงปัจจุบัน เงินทุนFDI ที่ไหลเข้าจังหวัดต่างๆทางภาคกลางเวียดนามคิด เป็นร้อยละ๖ของยอดผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคกลางและสร้างงาน๖หมื่น๖พันตำแหน่ง โดยการเชื่อมโยงในการดึงดูดเงินทุนถือเป็นก้าวกระโดดในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นต่างๆช่วยสร้างงาน เพิ่มรายรับงบประมาณและเป็นปัจจัยสนับสนุนภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ./.