การเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดกว๋างนิงห์กับนครไฮฟองสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ให้แก่การขยายตัว

Trường Giang-Thanh Nga -Vĩnh Phong
Chia sẻ
(VOVWORLD) - จังหวัดกว๋างนิงห์และนครไฮฟองเป็นท้องถิ่นสองแห่งที่ถือเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญด้านเศรษฐกิจของภาคเหนือเวียดนาม จากการตระหนักได้ดีเกี่ยวกับสถานะ บทบาทและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในการพัฒนาของท้องถิ่นและประเทศ สองฝ่ายได้เน้นถึงความร่วมมือและการเชื่อมโยงในหลายด้านเพื่อร่วมกันสร้างก้าวกระโดดอย่างเข้มแข็ง มีส่วนนร่วมสำคัญต่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจหลักในภาคเหนือและของประเทศ
การเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดกว๋างนิงห์กับนครไฮฟองสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ให้แก่การขยายตัว - ảnh 1 สะพานแบกดั่งที่เชื่อมระหว่างจังหวัดกว๋างนิงห์และนครไฮฟองได้ช่วยเชื่อมสองท้องถิ่นให้อยู่ใกล้กันมากขึ้น

เมื่อปี 2018 สะพานแบกดั่งที่เชื่อมระหว่างจังหวัดกว๋างนิงห์และนครไฮฟองได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ ซึ่งช่วยเชื่อมสองท้องถิ่นให้อยู่ใกล้กันมากขึ้นเนื่องจากลดระยะทางจากนครฮาลองไปยังนครไฮฟองจาก 75 ก.ม. เหลือเพียง 25 ก.ม. รวมทั้งสะพานแห่งนี้ยังมีถนนไฮเวย์ฮานอย – ไฮฟองที่เชื่อมกับจังหวัดลาวกายและถนนสายไฮเวย์ไฮฟอง – ฮาลอง – เวินโด่น ขนานไปด้วย ซึ่งในปี 2022 นี้จะเชื่อมไปถึงจุดผ่านแดนม้องก๊าย สร้างระเบียงทางบกที่เชื่อมกับประเทศจีนและอาเซียน

ไฮฟองและกว๋างนิงมีความคล้ายคลึงกันในหลายด้าน ทั้งสภาพอากาศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและการกำหนดแนวทางในปัจจุบัน โดยเฉพาะในสภาวการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในตลอดกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งไฮฟองและกว๋างนิงห์ต่างเป็นท้องถิ่นนำหน้าของประเทศเกี่ยวกับอัตราการขยายตัวในปี 2021 คือร้อยละ 12.38 และ 10.28 ตามลำดับและจุดเด่นของทั้งสองฝ่ายคืออุตสาหกรรมการแปรรูป การผลิตและโครงการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่เข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานโลก ซึ่งถือเป็นพลังขับเคลื่อนในการขยายตัวของเศรษฐกิจ นาย ฝ่ามต๊วนแอง รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์แสดงความคิดเห็นว่า “การเชื่อมโยงและร่วมมือพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่างไฮฟองและกว๋างนิงห์มีบทบาทสำคัญในการดึงดูดโครงการลงทุนในด้านนี้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปและผลิตในภาคเหนือเวียดนาม สร้างห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมในท้องถิ่นสองแห่งนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่การขนส่งวัตถุดิบและอุปกรณ์สนับสนุนการผลิตอุตสาหกรรมในท้องถิ่นอื่นๆและการส่งออกสินค้าผ่านระบบท่าเรือของไฮฟองและกว๋างนิงห์

ความร่วมมือและความพยายามในการเชื่อมไฮฟองกับกว๋างนิงห์พยายามปฏิบัตินานมาแล้ว โดยเมื่อปี 2009 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในโครงการร่วมมือและประสานงานเชิงยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ระยะยาว โดยที่น่าสนใจคือการผลักดันการดำเนินงานของห่วงโซ่อุปทานให้บริการโลจิสติกส์ การใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ท่าอากาศยานนานาชาติก๊าดบี – ท่าเรือไฮฟอง – ท่าเรือแหลกเหวียน – ท่าเรือก๊ายเลิน – ท่าอากาศยานนานาชาติเวินโด่น ยิ่งไปกว่านั้น การเชื่อมโยงระหว่างเส้นทางไฮเวย์ไฮฟอง – ฮาลอง – เวินโด่น – ม้องก๊ายจะอำนวยความสะดวกให้แก่การขนส่งสินค้าไปยังจุดผ่านแดนนานาชาติม้องก๊าย บั๊กฟองซิงและแหว่งโม เป็นต้น ดร. เลซวนซาง รองหัวหน้าสถาบันเศรษฐศาสตร์เวียดนามให้ข้อสังเกตว่า “ ไฮฟองและกว๋างนิงห์ต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดมากขึ้น เช่น ในการวางผังระบบท่าเรือ โลจิสติกส์ ทั้งสองฝ่ายยังมีศักยภาพอีกมากในความร่วมมือเพื่อสร้างห่วงโซ่ขนาดใหญ่และต่อเนื่อง

เมื่อเดือนตุลาคมปี 2021 จังหวัดกว๋างนิงเริ่มก่อสร้างโครงการท่าเรือเอนกประสงค์หวานนิงห์ในนครม้องก๊าย ซึ่งหวังว่า ในอนาคตจะพัฒนาเป็นกลุ่มท่าเรือที่เป็นประตูสำหรับการนำเข้าและส่งออกของประเทศและอาเซียน กว๋างนิงห์และไฮฟองได้ตั้งเป้าหมายร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและการท่องเที่ยว การก่อสร้างสะพานใหม่ เช่น เบ๊นหรื่งและหลายซวนจะได้รับการปฏิบัติอย่างรวดเร็วเพื่อมีส่วนร่วมเชื่อมโยงภายในท้องถิ่นและเชื่อมโยงกับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง นาย Bruno Jaspaert ผู้อำนวยการใหญ่นิคมอุตสาหกรรม DEEP C กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ กำลังลงทุนทั้งในไฮฟองและกว๋างนิงห์ “ผมคิดว่า “กุญแจ”ในการขยายความสัมพันธ์ระหว่างกว๋างนิงห์กับไฮฟองคือค้ำประกันให้ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เราเชื่อมั่นว่า กว๋างนิงห์อาจกลายเป็นไฮฟองแห่งที่สอง ดังนั้น เราได้ขออนุญาติจากทางการจังหวัดกว๋างนิงห์ในการเข้าไปลงทุนก่อสร้างถนนเลียบทะเลที่เชื่อมท่าเรือแหลกเหวียนกับโครงสร้างพื้นฐานทาของท่าเรือในกว๋างนิงห์เพื่อให้มีใช้เส้นทางจากแหลกเหวียนไปยังจังหวัดกว๋างนิงห์โดยตรง

ไฮฟองและกว๋างนิงห์จะร่วมกันจัดทำร่างโครงการเพื่อเสนอต่อกรมการเมือง สภาแห่งชาติและรัฐบาลให้พิจารณาอนุมัติกลไกและนโยบายเฉพาะเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนานครไฮฟองและจังหวัดกว๋างนิงห์ให้เป็นศูนย์เศรษฐกิจทางทะเลและประตูของเขตเศรษฐกิจหลักในภาคเหนือของเวียดนาม เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนใหม่ให้แก่การพัฒนาทั้งในระดับภูมิภาคและประเทศ.

Komentar