เยาวชนชนเผ่าเขมรดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพกับการสร้างรูปแบบทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ

Thạch Hồng - Vĩnh Phong
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีเยาวชนและสมาชิกกองเยาวชนหลายคนในจังหวัดซ๊อกจัง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนชนเผ่าเขมร ได้มีการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพ พร้อมสร้างสรรค์และพัฒนาหลากหลายรูปแบบทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้เยาวชนและสมาชิกกองเยาวชนมีงานทำที่มั่นคงและเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว นับวันมุ่งสู่เป้าหมายการขจัดความยากจนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ถิ่นเกิดให้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น
เยาวชนชนเผ่าเขมรดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพกับการสร้างรูปแบบทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ - ảnh 1นาย แถกโรซีดล ชายหนุ่มชนเผ่าเขมร ได้ “ย่อส่วน” เรืองอที่ใช้ในชีวิตจริงให้เป็นเรืองอจำลอง
 
 

สำหรับชุมชนชนเผ่าเขมร เรืองอ ถือเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนที่มีบทบาทสำคัญ เป็นสมบัติอันล้ำค่าและศักดิ์สิทธิ์ พร้อมเป็นหน้าเป็นตาของศาสนสถานและหมู่บ้านชาวเขมร ด้วยการเล็งเห็นถึงแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ นาย แถกโรซีดล ชายหนุ่มชนเผ่าเขมร อาศัยในตำบลแถกเติน อำเภอแถกจิ ได้ “ย่อส่วน” เรืองอที่ใช้ในชีวิตจริงให้เป็นเรืองอจำลอง เพื่อทำเป็นของที่ระลึก โดยเมื่อปลายปีที่แล้ว เขาเองได้นำสินค้าไปเข้าร่วมการประกวดโครงการธุรกิจสตาร์ทอัพสำหรับเยาวชนในชนบทประจำปี 2023 รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งได้รับรางวัลชมเชย พร้อมความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากความเป็นเอกลักษณ์ของตัวสินค้า หลังจากนั้น รูปแบบการประกอบธุรกิจขายเรืองอจำลองขนาดเล็กเป็นของที่ระลึกของนายซีดล ก็ยิ่งกลายเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบการแข่งเรืองอประเพณีของชาวเขมร ซึ่งมีลูกค้าบางคนได้มาสั่งทำเรืองอจำลองในรูปแบบและลวดลายที่ต้องการ นายแถกโรซีดล เผยว่า เรืองอจำลองจะมีความยาวอยู่ที่ 0.5-2 เมตร โดยสามารถเก็บรายละเอียดทั้งหมดไว้ครบถ้วนและตรงตามต้นฉบับ  ขายในราคาประมาณ 5 แสนถึง 2 ล้านด่อง ซึ่งช่วยให้เขามีรายได้ที่มั่นคง

“ผมรู้สึกดีใจเมื่อตัวเองสามารถทำเรืองอจำลองขึ้นมาได้ พร้อมได้รับความพึงพอใจจากลูกค้า ตอนนี้ ทุกคนสามารถสั่งซื้อผ่านทางโทรศัพท์หรือทางออนไลน์ ผมจะผลิตและส่งของให้”

ส่วนในหมู่บ้านลองอาน ตำบลเตินลอง อำเภอหงานัม ใครๆ ก็รู้จักนายเลิมแทงต๊วน นักธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จกับรูปแบบการเลี้ยงกบ ก่อนหน้านี้ เนื่องจากไม่มีที่ดินทำการเกษตร นายต๊วน ต้องทำงานหลายอย่างพร้อมกันเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพและครอบครัว จนถึงปี 2010 เขาตัดสินใจกลับบ้านเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ โดยทดลองเลี้ยงลูกกบจำนวน 3,000 ตัว ด้วยการศึกษาและเรียนรู้จากหนังสือ และเข้าร่วมคอร์สอบรมต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงกบที่ทางการท้องถิ่นจัดขึ้นมา โดยเฉพาะการเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการเลี้ยงจริงของครัวเรือน รูปแบบการเลี้ยงกบของนายต๊วน ก็ค่อยๆ สร้างผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจที่มั่นคงและมีประสิทธิภาพ

เยาวชนชนเผ่าเขมรดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพกับการสร้างรูปแบบทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ - ảnh 2นายเลิมแทงต๊วน (ซ้าย) กับรูปแบบการเลี้ยงกบ

นอกจากนั้น นายต๊วน ยังทำการขยายพันธุ์กับและเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบจำนวน 20 คู่ในบ่อเลี้ยงในระยะเวลา 8-9 เดือนเพื่อการฟักไข่ เนื่องจากการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของกบ ดังนั้น เขาสามารถเริ่มขายกบได้ภายหลังการเพาะเลี้ยงเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่งจะมีการขายทั้งหมด 4 รอบต่อปี ซึ่งปัจจุบัน เขาได้ส่งขายให้กับร้านค้าบางแห่งในราคาอยู่ที่ 45,000 ด่องต่อกิโลกรัม โดยเขาเองได้เลี้ยงกบเนื้อประมาณ 2,000 ตัวและส่งขายพ่อแม่พันธุ์กบจำนวนราว 30,000 – 40,000 ตัว ต่อหนึ่งรอบเลี้ยง สร้างรายได้หลายสิบล้านด่องต่อปี นายต๊วน เผยว่า 

“ในช่วงเวลาข้างหน้า ผมจะทำการขยายรูปแบบเพาะเลี้ยง โดยเพิ่มจำนวนพ่อแม่พันธุ์กบ เพื่อขายให้กับชาวบ้าน ที่ผ่านมา ผมมักจะขายพ่อแม่พันธุ์กบอยู่ที่ประมาณ 30,000 ตัวต่อปี แต่สำหรับปีนี้ ผมจะเพิ่มปริมาณที่ขาย ส่วนที่เหลือก็จะเลี้ยงต่อไป

ทั้งนี้ ด้วยจิตใจแห่งความขยันและใฝ่เรียนรู้ นอกจากการทุ่มเทให้แก่การพัฒนาการผลิตแล้ว นายต๊วน ยังเป็นหัวหน้ากลุ่มออมทรัพย์-สินเชื่อเงินกู้จากธนาคารนโยบายสังคมในหมู่บ้าน เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในท้องถิ่นอย่างแข็งขัน แบ่งปันประสบการณ์และสนับสนุนพ่อแม่พันธ์และเทคนิคการเพาะเลี้ยงให้แก่เยาวชนหลายคน เพื่อร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น ซึ่งจนถึงปัจจุบัน นายต๊วน สามารถสร้างฐานะที่มั่นคงให้แก่ครอบครัว หลุดพ้นจากความยากจน และเลี้ยงดูบุตรทั้ง 3 คนได้เป็นอย่างดี./.

Komentar