เจ้าของฟาร์มเดินหน้าในการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจสู่ยุคดิจิทัล

Chia sẻ
(VOVWORLD) -นาย ดังเยืองมิงห์หว่าง จบสาขาวิชาวิศวกรอัตโนมัติจากฝรั่งเศส เคยได้รับคำเชิญให้มาทำงานจากบริษัททั้งภายในและต่างประเทศด้วยเงินเดือนนับพันดอลลาร์สหรัฐ แต่เมื่อปี 2016 เขาได้ตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่จังหวัดบิ่งเฟือกเพื่อทำการเกษตร ด้วยความกล้าคิดกล้าทำ ทำให้มิงห์หว่างสามารถส่งออกอะโวคาโดของเวียดนามไปยังประเทศต่างๆ และตั้งสหกรณ์ให้บริการการเกษตรดิจิทัลบิ่งเฟืองที่เป็นแหล่งรวบรวมผู้ที่ชื่นชอบนวัตกรรมช่วยให้เกษตรกรทั่วไปสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ
เจ้าของฟาร์มเดินหน้าในการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจสู่ยุคดิจิทัล - ảnh 1นาย ดังเยืองมิงห์หว่าง
 

นายมิงห์หว่าง อายุ 35 ปี เป็นเจ้าของฟาร์ม เทียนนง รวมพื้นที่กว่า 50 เฮกตาร์ในอำเภอบู่ยาเหมิบ จังหวัดบิ่งเฟือก ซึ่งในนั้นมีพื้นที่ปลูกอะโวคาโด 12 เฮกตาร์ ส่วนที่เหลือปลูกยางพาราและพริกไทย ในแต่ละปี นายมิงห์หว่างสามารถเก็บผลอะโวคาโดได้เฉลี่ย 100 ตัน ขายได้ในราคา 70,000 – 90,000 ด่งต่อกิโลกรัม ได้กำไรกว่า 6 พันล้านด่งหรือ 256,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยอะโวคาโดพันธุ์หมาเยืองของฟาร์มเทียนนงไม่เพียงแต่ขายภายในประเทศเท่านั้น หากยังส่งออกไปขายที่ประเทศลาว กัมพูชา จีนและญี่ปุ่น และปัจจุบันทางบริษัทฯ กำลังหาทางขยายตลาดไปยังยุโรป

เพื่อบรรลุผลงานดังกล่าว มิงห์หว่างได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบย้อนกลับ ผ่านระบบอี – คอมเมิร์ซ โดยแค่สแกน QR Code ลูกค้าก็สามารถทราบข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ “อะโวคาโดของนาย หว่าง” เช่น ขั้นตอนการผลิตและเก็บเกี่ยว การใช้ปุ๋ยและวิธีการสั่งซื้อ เป็นต้น ซึ่งช่วยให้อะโวคาโดถึงมือผู้บริโภโดยตรงและขยายตลาดได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง นาย หว่าง เผยว่า

“เกษตรสะอาดเป็นแนวโน้มที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ โดยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากทำการเกษตรแบบอินทรีย์ แต่ไม่ทราบวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ก็จะเสียโอกาสเชื่อมโยงกับผู้บริโภค การเชื่อมโยงระหว่างการเกษตรดิจิทัลกับการเกษตรอินทรีย์จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถติดตามกระบวนการปลูกและขั้นตอนการผลิต ช่วยให้เราสามารถสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าได้เป็นอย่างดี”

ในการทำเกษตร นาย หว่าง ได้นำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงคน โดยมีการติดตั้งระบบรดน้ำและให้ปุ๋ยอัตโนมัติ ระบบเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความชื้นของดิน ปริมาณการน้ำรดและการเติบโตของอะโวคาโดแต่ละต้นผ่านแอพพลิเคชัน ซึ่งระบบจะมีการแจ้งเตือนผู้ปลูกเพื่อให้การดูแลและเก็บผลผลิตมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสามารถช่วยประหยัดน้ำได้ร้อยละ 80 และประหยัดปุ๋ยได้ร้อยละ 40

จากความสำเร็จดังกล่าว รูปแบบการเกษตรของนาย หว่าง ได้รับความสนใจจากเกษตรกรจำนวนมาก ซึ่งช่วยขยายพื้นที่ปลูกอะโวคาโด หมาเหยืองในจังหวัดบิ่งเฟื้อกขึ้นถึง 200 เฮกตาร์ นาย หว่าง บอกว่า ในการทำเกษตร ถ้าอยากพัฒนาก็ต้องร่วมมือกัน จึงอยากแนะนำวิธีการปฏิบัติให้แก่ทุกคน ซึ่งความคิดเห็นนี้ได้รับการสนับสนุนจากนักธุรกิจ แล้วเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว พวกเขาได้จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรดิจิทัลบิ่งเฟื้อกที่เป็นสหกรณ์แห่งแรกที่ได้ทำการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลด้านการเกษตรและนาย หว่าง ได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการ ในตำแหน่งนี้ นาย หว่าง ได้ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่สถานประกอบการนับสิบแห่ง นาย เหงียนมิงห์เฮี้ยว เจ้าของ Gia Bao Ecofarm ในอำเภอเมือง เฟือกลอง ให้ข้อสังเกตว่า

“นาย หว่าง มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลงใหม่ จึงได้แนะนำให้สมาชิกในสหกรณ์ฯ ปฏิบัติตามและเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลช่วยให้การประยุกต์ใช้ดิจิทัลมีขึ้นอย่างเข็มแข็งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

ปัจจุบันนี้ สมาชิกทุกคนในสหกรณ์ได้รับการแนะนำวิธีการใช้แอพพลิเคชั่น AutoAgri โดยสินค้าการเกษตรได้รับการดูแลตามขั้นตอนเพื่อให้สินค้ามีคุณภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งช่วยให้การจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศมีความสะดวกมากขึ้น

นอกจากสมาชิกสหกรณ์ 12 คน นาย หว่าง ยังแชร์แอพพลิเคชั่น AutoAgri ฟรีให้เกษตรกร 1,500 คนในจังหวัดบิ่งเฟือง จนมีหลายฟาร์มสามารถเข้าถึงรูปแบบนี้ของนาย หว่าง และประสบความสำเร็จในเบื้องต้น นาย เจิ่นก๊วกยวี ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการลงทุน การค้าและการท่องเที่ยวจังหวัดบิ่งเฟือก กล่าวว่า

“เราเดินพร้อมกับเยาวชนเพื่อส่งสารแห่งความรักและให้การช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมผ่านมาตรการที่เป็นรูปธรรมต่างๆ เช่น เชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อขยายความรู้หรือถ่ายทอดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ช่วยให้เกษตรกรรมจังหวัดบิ่งเฟือกพัฒนาอย่างรวดเร็วและนำสินค้าเกษตรเวียดนามไปสู่โลก”

ปัจจุบันนี้ มิงห์หว่าง ยังเป็นหัวหน้าเครือข่าย “เลืองดิ่งกั๋ว” ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของเยาวชนในเขตชนบทที่มีผลงานยอดเยี่ยมในด้านการเกษตร ซึ่งกำลังร่วมมือกับเยาวชนดีเด่นในเครือข่ายนี้เพื่อให้การสนับสนุนเยาวชนในเขตชนบททำธุรกิจสตาร์ทอัพตามแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 4.0.

Komentar