ผลักดันการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในด้านการเกษตรที่จังหวัดซ๊อกจัง

Thach Hong - Huyen
Chia sẻ
(VOVWORLD) -ในการปฎิบัติ “โครงการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลแห่งชาติถึงปี 2025 กำหนดแนวทางถึงปี 2030” ทางตำบล กู่ลาวยุง ในจังหวัดซ๊อกจัง ได้เน้นปฏิบัติการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในด้านการเกษตรเพื่อสร้างประสิทธิผลในการผลิตและการประกอบธุรกิจเพื่อมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษกิจสังคมในท้องถิ่น
ผลักดันการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในด้านการเกษตรที่จังหวัดซ๊อกจัง - ảnh 1สวนของนาย องค์มิงเถือง

ทุกๆ วัน นาย องค์มิงเถื่อง ในหมู่บ้านเฟือกหว่า B ตำบลกู่ลาวยุง จังหวัดซ๊อกจัง จะใช้สมาร์ทโฟนสั่งเปิดปิดระบบรดน้ำอัตโนมัติแบบสปริงเกอร์ในสวนส้มโอพันธุ์ “นำรอย” และพันธุ์เปลือกเขียวรวมพื้นที่ 4 เฮกตาร์  การใช้ระบบรดน้ำนี้ช่วยประหยัดน้ำ ค่าจ้างแรงงานและค่าใช้จ่ายในการผลิตได้มาก โดยเฉพาะสามารถสั่งรดน้ำได้จากทุกที่ทุกเวลา

“ถ้าหากไม่ใช้ระบบอัตโนมัติ ต้องใช้เวลาในการรดน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ถ้าใช้ระบบนี้ เราใช้เวลาแค่ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น ค่าใช้จ่ายก็ลดลง ประหยัดทั้งเงินและเวลา”

การใช้ระบบรดน้ำอัตโนมัติผ่านสมาร์ทโฟน ช่วยให้นาย เถื่อง สามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตเพิ่มขึ้น ไม่ต้องพึ่งพาดินฟ้าอากาศ และมีรายได้เพิ่มขึ้น นาย องค์มิงห์เถื่อง กล่าวว่า

“เมื่อก่อน เราใช้ระบบรดน้ำด้วยเครื่องปั้มน้ำซึ่งเปลืองน้ำมากและแรงดันน้ำค่อนข้างสูงทำให้หน้าดินถูกกัดเซาะ แต่ถ้าหากใช้ระบบรดน้ำอัตโนมัตินี้ ปริมาณน้ำที่ใช้ในการรดอยู่ในระดับที่เหมาะสมช่วยให้ต้นไม้เติบโตอย่างดี ลดเวลาและลดค่าใช้จ่ายให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะประหยัดน้ำด้วย ยกตัวอย่างว่า ถ้าหากเรารดน้ำในตอนกลางวันก็ต้องใช้น้ำเยอะเพราะมีแดดแรง เราจะทำการตั้งค่าในสมาร์ทโฟนให้สั่งรดน้ำในตอนกลางคืน”

ผลักดันการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในด้านการเกษตรที่จังหวัดซ๊อกจัง - ảnh 2ใช้สมาร์ทโฟนสั่งเปิดปิดระบบรดน้ำอัตโนมัติแบบสปริงเกอร์ในสวน

กู่ลาวยุง เป็นท้องถิ่นที่ปลูกผลไม้มากเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดซ๊อกจัง โดยมีพื้นที่ปลูกผลไม้ประมาณ 5,000 เฮกตาร์ นอกจากนี้ ก็มีพื้นที่ปลูกพืชอื่น ๆ อีกเกือบ 3,000 เฮกตาร์และพื้นที่ปลูกอ้อยอีก 2,700 เฮกตาร์ นาย เหงียนวันดั๊ก หัวหน้าสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทอำเภอ กู่ลาวยุง เผยว่า การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในด้านการเกษตรเป็นหนึ่งในด้านที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทางการปกครองท้องถิ่น โดยมีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ซอฟต์แวร์บริหารพื้นที่ปลูกเพื่อช่วยให้หน่วยงานการเกษตรสามารถบริหารและค้นหาแหล่งกำเนิดของพืชที่ปลูกและสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงในท้องถิ่นได้ นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์นี้ยังอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างชลประทาน เช่น ระบบเขื่อนกั้นน้ำ สะพาน เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การบริหาร พร้อมทั้งผลักดันการประยุกต์ใช้ระบบรดน้ำผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งมีเกษตรกรจำนวนมากกำลังใช้ระบบนี้ สำหรับผลิตภัณฑ์ OCOP ของอำเภอก็ได้รับการติด QR เพื่อสนับสนุนการตรวจสอบย้อนกลับ นาย เหงียนวันดั๊ก กล่าวว่า

“ในปีนี้ เราจะใช้ซอฟต์แวร์ Facefarm ซึ่งคือไดอารี่ในการผลิต โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ บางทีเกษตรเขียนในสมุด เขาก็ลืมแต่ถ้าหากใช้ไดอารี่อิเล็กทรอนิกส์ผ่านซอฟต์แวร์นี้และจากการช่วยเหลือของคณะปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนการเกษตรในชุมชน ก็จะช่วยให้พื้นที่ปลูกต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกเพื่อการส่งออกมีบันทึกการทำเกษตรอย่างสมบูรณ์มากขึ้น”

การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลกำลังเป็นมาตรการแก้ไขสำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรและสถานประกอบการในท้องถิ่นสามารถผลิตสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพด้วยต้นทุนต่ำที่สุด เพิ่มศักยภาพให้แก่เกษตรกร ซึ่งนี่ก็เป็นเป้าหมายที่ได้รับการปฏิบัติจากหน่วยงานทุกระดับ ทางการปกครองในท้องถิ่น สถานประกอบการและเกษตรกรในอำเภอกู่ลาวยุงเพื่อสร้างก้าวกระโดดด้านผลผลิต คุณภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่สินค้าการเกษตร.

Komentar