(VOVworld)-ปราสาทจามหรือพระปรางค์เป็นพุทธสถานของยุคจามปาในอดีตที่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลจากศาสนาฮินดู โดยในเวียดนามมีปราสาทจามประมาณ50องค์ที่ตั้งกระจัดกระจายในจ.ริมฝั่งทะเลทางภาคกลาง ซึ่งตามการวิเคราะห์ของนักโบราณคดีพระปรางค์ที่มีอายุน้อยที่สุดก็ราว5ร้อยปีและมากที่สุดคือกว่าพันปี แต่เคล็ดลับในการก่อสร้างนั้นเป็นอย่างไรยังถือเป็นเรื่องที่เป็นปริศนา
หากเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆที่อยู่เลียบตามฝั่งทะเลภาคกลางของเวียดนามโดยเฉพาะตั้งแต่ช่องเขา งาง ไปจนถึงจังหวัดฟานเทียตจะสามารถพบเห็นปราสาทจามหลายชั้นที่ทำจากอิฐหรือศิลาแลง มีลักษณะเหมือนดอกไม้ มีการประดับลวดลายปูนปั้นที่เป็นลายดอกไม้ รูปหงส์รูปนกหรือภาพนูนนางอัปสร ที่ปราณีตสวยงาม ซึ่งแตกต่างกับนครวัดหรือหมู่ปราสาทบายนในกพช. วิหารอารามที่อินโดนีเซียหรือที่อินเดียมักจะสร้างด้วยหิน และแม้จะผ่านกาลเวลามานานหลายร้อยปีแต่สีแดงของอิฐที่ใช้ก่อสร้างยังคงสดใส รองศ.โงวันแยวง จากสถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมาชิกสภามรดกวัฒนธรรมแห่งชาติกล่าวว่า ชาวจามปาเป็นปรมาจารย์ของศิลปะการก่อสร้างด้วยอิฐ
ปกติแล้ว สิ่งปลูกสร้างด้วยอิฐมักจะมีอายุนานแค่ร้อยปีแต่เฉพาะกลุ่มปราสาทจามที่ยังปรากฎให้เห็นนั้นต่างมีอายุตั้งแต่หลายร้อยถึงกว่า1พันปี แม้จะเห็นได้ชัดเจนว่าปราสาทเหล่านี้ถูกก่อสร้างด้วยอิฐแต่ดูเหมือนไม่มีรอยต่อ บนอิฐยังมีการสลักลวดลายที่สวยงามซึ่งเป็นผลงานปฏิมากรรมเฉพาะของราชอาณาจักรจามปาที่เป็นหนึ่งไม่มีสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในโลกก็ว่าได้
เทคนิกในการก่อสร้างปราสาทศิลาแลงที่มีอายุนานถึงพันปีเหล่านี้ยังคงเป็นเรื่องปริศนาที่ดึงดูดความสนใจค้นคว้าหาคำตอบจากนักวิทยาศาสตร์ โดยบรรดานักวิทยาศาสตร์เวียดนามได้ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์โปร์แลนด์ ฝรั่งเศสและอิตาลีทำการวิจัยเพื่อหาคำตอบและความลี้ลับพร้อมเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิปัญญาของชาวจามในอดีตเริ่มได้รับการเปิดเผย โดยจากผลงานวิจัยปราสาท50องค์ในเวียดนามด้วยการใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยบรรดาผู้เชี่ยวชาญสามารถยืนยันว่า อิฐที่ใช้ในการสร้างปราสาทเป็นวัสดุที่ทำเองในท้องถิ่นโดยใช้ดินเหนียวธรรมดาเพื่อทำอิฐที่มีคุณลักษณะพิเศษที่อิฐในสมัยปัจจุบันไม่มี รองศ.โงวันแยวงกล่าวว่าอิฐที่ใช้ก่อสร้างปราสาทจามไม่เหมือนอิฐที่เราใช้ในปัจจุบัน แม้จะใช้ดินจากที่เดียวกันแต่อิฐในสมัยก่อนเบากว่า มีลักษณะเป็นรูพรุนทั่วไป มีความยืดหยุ่นไม่แตกง่ายเมื่อเทียบกับอิฐปัจจุบันที่แห้งแข็งและหนักกว่า โดยอิฐที่ก่อสร้างปราสาทเฉลี่ยหนักก้อนละประมาณ1.5กิโลกรัมแต่อิฐในยุคปัจจุบันหนักประมาณ2กิโลกรัม
หนึ่งในกลุ่มปราสาทจามที่ใหญ่และมีชื่อเสียงของเวียดนามและเป็นมรดกโลกคือเขตโบราณสถานหมีเซิน ในต.ยวีฟู้ อ.ยวีเซวียน จ.กว๋างนาม โดยปี1999เขตโบราณสถานหมีเซินได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมโลกจากองค์การยูเนสโก ทุกวันนี้เมื่อมาเที่ยวหมีเซินหากสังเกตุก็จะเห็นได้ว่าผนังส่วนไหนที่ยังไม่มีรอยแตกร้าวจะเป็นผนังที่ยังคงสภาพเดิมตั้งแต่ศตวรรษที่8 นายเลซวนเตี๊ยน เจ้าหน้าที่ดูแลเขตมรดกหมีเซินเผยว่าตั้งแต่ปี2005 บรรดานักวิทยาศาสตร์เวียดนามได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมิลานของอิตาลีทำอิฐรุ่นใหม่เพื่อใช้ซ่อมแซมส่วนที่หักพังของปราสาทแต่คุณภาพอิฐยังด้อยกว่าของเก่า5เท่า โดยส่วนไหนที่แตกจะขึ้นราแต่ส่วนที่อยู่ในสภาพเดิมไม่มีราซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคนิกการก่อสร้างในสมัยก่อนโน้นดีมาก
เมื่อเยี่ยมชมกลุ่มปราสาทจามไม่ว่าจะอยู่ในเขตหมีเซินหรือในท้องถิ่นอื่นๆนักท่องเที่ยวจะรู้สึกว่าแม้จะมีอายุเป็นร้อยเป็นพันปีแต่ดูจากภายนอกเหมือนเพิ่งสร้างใหม่ๆที่ยังคงยืนค้ำฟ้าาท้าทายการเวลามาหลายศตวรรษ./.
|