เนื้อเปรี้ยวเป็นอาหารที่ใช้วัตถุดิบที่หาได้ทั่วไป แต่เคล็ดลับอยู่ที่ขั้นตอนการปรุงที่มีความเฉพาะตัว ซึ่งทำให้เมนูนี้กลายเป็นอาหารจานเด็ดของชุมชนเผ่าเหมื่องที่จังหวัดฟู้เถาะ นางดิงห์ถิเฟือง จากต.หวอเมี้ยวอ.แทงเซินเผยว่า"ดิฉันรู้จักเมนูนี้ตั้งแต่เด็ก คุณแม่เป็นคนทำแล้วห่อด้วยใบตองหรือใบกล้วยในช่วงตรุษเต๊ต ซึ่งชอบมากเพราะอร่อยและอยากให้แม่ทำให้กินทุกปี เดี๋ยวนี้เราก็ทำแต่มีการปรับปรุงเล็กน้อยคือใส่เนื้อในกระบอกไม้ไผ่เพื่อสามารถเก็บได้นานขึ้นและมีกลิ่นหอมด้วย"
ตามคำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เนื้อเปรี้ยวเกิดจากความต้องการเก็บรักษาเนื้อให้ได้นาน ๆ โดยเฉพาะในช่วงตรุษเต๊ตที่จะมีการฆ่าหมูตัวใหญ่เพื่อทำอาหาร ซึ่งพอนานวันก็ได้กลายเป็นวัฒนธรรมอาหารการกินส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของชาวเหมื่องในช่วงวสันต์ฤดู นายดิงห์วันเทิน จากต.หวอเมี้ยว อ.แทงเซิน เผยว่า "เมื่อถึงตรุษเต๊ตปีใหม่ เราจะต้อนรับแขกที่มาอวยพรตั้งแต่วันที่สองและจะมีอาหารเลี้ยงต้อนรับซึ่งต้องมีเมนูเนื้อเปรี้ยวแน่นอน อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการให้เกียรติแขกและความอุดมสมบูรณ์ของปีใหม่"
|
เนื้อเปรี้ยว หากฟังแล้วหลายคนอาจจะคิดว่าวิธีการทำไม่มีอะไรยุ่งยาก แต่กว่าที่จะได้เนื้อเปรี้ยวที่มีรสชาดอร่อยน่าทานจะต้องใช้ความละเอียดใส่ใจในการเลือกวัตถุดิบและขั้นตอนการทำ โดยต้องเป็นหมูป่าพันธุ์พื้นเมืองที่ปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ กินแต่พืชและหญ้า น้ำหนักราว20กิโลกรัม ซึ่งจะให้เนื้อเหนียว หอม หนังกรอบ หลังจากล้างหมูให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นประมาณ 45องศา นำไปแขวนให้สะเด็ดน้ำก็จะนำไปเผาไฟทั้งตัวเพื่อให้หนังออกสีเหลืองแล้วนำไปย่างให้เนื้อเกือบสุก ต่อจากนั้นจะชำแหละเอาส่วนเนื้อที่เป็นสะโพก เนื้อแดงหรือสามชั้นหั่นเป็นชิ้นบางๆขนาดสามเซ็นติเมตร หมักกับเกลือ กระเทียมและแป้งข้าวโพตคั่วเพื่อให้มีกลิ่นหอม หลังจากคลุกเคล้าให้เข้ากันก็ใส่เข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ที่ล้างสะอาดแล้ว โดยต้องเลือกกระบอกไผ่ที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ใส่ใบฝรั่งลงไปก่อนใส่เนื้อเพื่อเป็นเชื้อหมักให้เนื้อมีรสเปรี้ยว ตอนใส่เนื้อต้องอัดให้แน่นไม่ให้มีอากาศข้างในเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อเสียเร็ว ตามด้วยใบฝรั่งและปิดกระบอกไผ่ให้สนิท คุณซาถิเติม ชาวบ้านซวนต.กิมเถือง อซวนเซิน จ.ฟู้เถาะเผยว่า เมื่อก่อนเนื้อเปรี้ยวเป็นอาหารสำรองของทุกบ้าน "เมื่อก่อนชาวบ้านจะนำกระบอกเนื้อแขวนไว้เหนือเตาไฟเพื่อเก็บไว้กินได้หลายวัน ซึ่งตามประสบการณ์ของคนเหมื่อง ถ้าเป็นเนื้อหมักไว้สัก7วันก็จะอร่อยที่สุด แต่ปกติแล้วเนื้อเปรี้ยวทำสามวันก็กินได้แล้ว ส่วนถ้าใช้ปลาต้อง 7 วันถึงจะทานได้"
เนื้อเปรี้ยวสามารถเก็บไว้ทานได้ประมาณสองสามเดือน โดยจะทานกับผักแกล้มที่เก็บจากป่าหรือในสวนเช่น ใบมะเดื่อ ใบฝรั่งหรือใบกระพังโหมและจิ้มกับซอสพริกทำเองหรือน้ำปลาเพื่อให้ได้รสชาดที่เข้มข้นกลมกล่อมขึ้น ซึ่งถ้าหากใครที่มีโอกาสมาเที่ยวชุมชนเผ่าเหมื่องที่จังหวัดฟู้เถาะก็ขอแนะนำให้ลองทานเมนูนี้รับรองว่าจะต้องติดใจไปอีกนาน .