ชาวบ้านต้องเตรียมเมล็ดพันธุ์หลายชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ฟัก งา ถั่วลิสง เป็นต้น |
ไม่มีใครจำได้ว่าประเพณี kỉng ceng chẹ - วันแห่งการฆ่าแมลง มีมานานแค่ไหนแล้ว รู้แต่เพียงว่าตามคำบอกเล่าของปู่ย่าตายายและบรรพบุรุษ ผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยการผลิตทางการเกษตรและพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลักในการดำรงชีวิต ดังนั้นถ้าปีไหนที่แมลงระบาดอย่างรุนแรงก็สร้างความเสียหายต่อพืชผล ด้วยเหตุนี้ ประชาชนจึงได้จัดกิจกรรมด้านความเลื่อมใสเพื่อไล่แมลงด้วยความหวังว่าพืชผลจะเขียวขจีและอุดมสมบูรณ์ ไม่โดนแมลงทำลาย และยังคงปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้ ตามคำกล่าวของคุณ เจี๋ยวถิเตี๊ยบ จากหมู่บ้าน 2 ตึ๊ก ตำบลฟุกเลอย อ.หลุกเอียน จ.เอียนบ๊าย ในวันจัดกิจจรรมนี้ ชาวบ้านต้องเตรียมเมล็ดพันธุ์หลายชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ฟัก ลูกน้ำเต้า งา ถั่วลิสง เป็นต้นแล้วนำเมล็ดเหล่านี้คั่วในกระทะเพื่อเป็นพิธีกรรมกำจัดศัตรูพืช“เผ่าเย้าเราได้ปฏิบัติประเพณีนี้มาแต่เนิ่นนาน โดยจะต้องตื่นแต่เช้าและเตรียมสิ่งของต่างๆรวมทั้งเมล็ดพันธุ์พืชที่มักจะปลูกเพื่อความหวังว่าจะสามารถกำจัดพวกแมลงตั้งแต่ตอนเป็นไข่ไม่ให้มันมีโอกาสเติบโตทำลายพืชผล”
เมล็ดพันธุ์ที่คั่วสุกแล้วสามารถทานได้และหว่านไปที่สวนที่นาเพื่อไล่ศัตรูพืชโดยผู้หญิงในบ้านจะเป็นคนทำพิธี |
หลังจากเสร็จงาน ทั้งครอบครัวจะร่วมกันทานอาหารเช้าก่อนออกไปทำนาทำไร่ตามปกติ ซึ่งจะไม่เหมือนกับประเพณีอื่นๆที่ต้องปฏิบัติข้อห้ามหลายอย่างเช่นวันแห่งฟ้าร้องจะงดออกจากบ้านไปทำไร่ ให้อยู่บ้านพักผ่อนหรือไปเยือนพี่น้องเพื่อนฝูงโดยเฉพาะห้ามทำเสียงดัง คุณเถี่ยวถิซิงห์ ชาวบ้านหลุงฮา เผยว่า“วัน kỉng ceng chẹ - วันแห่งการฆ่าแมลง ไม่มีข้อห้ามอะไรเหมือนวันงานอื่นที่ต้องเลี่ยงเทพฟ้าผ่า เทพแห่งสายลมหรือวันของเจ้าเสือป่า แต่มีอย่างหนึ่งที่ต้องทำก่อนออกไปทำนาคือนำเมล็ดพันธุ์พืชไปคั่วแล้วหว่านให้ทั่วสวนทั่วนาเพื่อกำจัดแมลง ซึ่งเราได้ปฏิบัติประเพณีนี้ทุกปี”
ทุกวันนี้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้พัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ชาวเย้าแดงก็รู้จักเทคนิคในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพพืชผล แต่ประเพณีการฆ่าแมลงยังคงได้รับการส่งเสริมและปฏิบัติกันต่อไปในชุมชน อันเป็นการย้ำเตือนลูกหลานของพวกเขาให้รู้จักและตระหนักถึงวิธีการปกป้องพืชผลจากแมลงที่ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ.