Púng nhnáng-ประเพณีที่โดดเด่นในวัฒนธรรมของชนเผ่าเย้าเตี่ยนในจังหวัดเซินลา

Chẻo Thu; Thu Hằng
Chia sẻ
(VOVWORLD) -จังหวัดเซินลาอยู่ห่างจากฮานอยประมาณ 320 กม. เป็นจังหวัดที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายดังนั้นวิถีชีวิต วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของคนท้องถิ่นก็มีความหลากหลายมาก โดยเฉพาะมีงานเทศกาลของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆมากมาย ซึ่งแต่ละเทศกาลก็มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่ซ้ำกัน เช่นเทศกาลบุญข้าวใหม่ เทศกาล Pang Cẩu Nỏ ของชาวขมุ พิธีขอพรของชาวเผ่าเหมื่อง เทศกาลอธิษฐานขอฝนของเผ่าไท เป็นต้น
 Púng nhnáng เป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวเย้าเตี่ยนในจังหวัดเซินลา เป็นเทศกาล Tet ของวงศ์ตระกูลจึงมักจัดขึ้นที่บ้านของหัวหน้าตระกูลด้วยความหมายเพื่อความขอบคุณและการขอพร ปีใหม่ โดยเทศกาลนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 เดือน 12 ถึงสิ้นวันที่2ของปีใหม่ทางจันทรคติ และในเขตที่ราบสูงโหมกโจว์นี้ มีเพียงตระกูล Tang, Ban, Dang และ Ly เท่านั้นที่มีประเพณีจัดตรุษเต๊ตแห่งตระกูลหรือเทศกาล Púng nhnáng
Púng nhnáng-ประเพณีที่โดดเด่นในวัฒนธรรมของชนเผ่าเย้าเตี่ยนในจังหวัดเซินลา - ảnh 1ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคมก่อนถึงวันจัดงาน ญาติๆในครอบครัวได้ผลัดกันมาช่วยทำความสะอาดและสมทบสิ่งของเพื่อเตรียมให้แก่เทศกาลPúng nhnáng 

ตามประเพณี ทุกๆ 3 ปีครอบครัวของ นาย Ly Trong Sinh ในหมู่บ้าน Suoi Lin ตำบล Phieng Luong, อำเภอ โหมกโจว์ จังหวัดเซินลา จะจัดเทศกาล Tet ของวงศ์ตระกูล นาย Sinh กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคมก่อนถึงวันจัดงาน ญาติๆในครอบครัวได้ผลัดกันมาช่วยทำความสะอาดและสมทบสิ่งของเพื่อเตรียมให้แก่เทศกาล Púng nhnáng โดยนอกจากเป็นเทศกาลใหญ่ของครอบครัวและวงศ์ตระกูลแล้วงานนี้ก็มีความหมายสำหรับทั้งหมู่บ้านดังนั้นทุกคนได้ร่วมกันเตรียมจัดงานอย่างกระตือรือร้น “ผู้หญิงเลือกข้าวเหนียวและเตรียมแป้งทำขนม ผู้ชายตัดต้นไผ่และต้นอ้อยพร้อมกิ่งและใบที่สมบูรณ์เพื่อใช้ในงาน แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้บนแท่นบูชาบรรพบุรุษคือเนื้อสัตว์ ขอให้บรรพบุรุษประทานพรให้ครอบครัวโชคดีในปีใหม่และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการเชิญหมอผีผู้มีความรู้จำนวน 3-4 คนมาร่วมทำพิธี”

เริ่มตั้งแต่วันที่ 29 เดือนสิบสองของปีเก่าทางจันทรคติอหัวหน้าตระกูลและหมอผีจะแขวนรูปที่ใช้เคารพบูชา 3 รูปไว้ที่กลางบ้านและจะแขวนในช่วงวันที่ทำพิธี ถึงตอนเที่ยงในขณะที่ผู้ชายฆ่าหมูผู้หญิงก็เตรียมแช่ข้าวเหนียวทำแป้งเพื่อทำขนมที่มีรูปต้นไผ่และอ้อย 12 ต้น ซึ่งเป็นตัวแทนของ 12 เดือนของปี แสดงความปรารถนาของเผ่าเย้าในความอุดมสมบูรณ์มีลูกหลานจำนวนมาก มีชีวิตที่อิ่มหนำผาสุก

ในพิธีบวงสรวงบูชาผู้ดำเนินพิธีคือบุตรชายคนโตของครอบครัวที่เป็นหัวหน้าตระกูลเพื่ออัญเชิญบรรพบุรุษและเทพเจ้าเข้าร่วมเทศกาลใหญ่และนำพรมาสู่ลูกหลาน หลังจากเสร็จสิ้นพิธีทุกคนก็ร่วมกันรับประทานอาหารอย่างมีความสุข ท่ามกลางเสียงกลองและเสียงฆ้องคึกคักผู้คนจากทั่วหมู่บ้านต่างพากันมาร้องเพลงและเต้นรำอย่างสนุกสนาน นาย Đặng Quyết Tiến ในตำบลเปียงลวง กล่าวว่า“ทุกปีเมื่อมีงานเทศกาลของวงศ์ตระกูลพวกเขาจะต้องจัดงานฟ้อน xòe เพื่อขอพร ขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและอธิษฐานขอให้ทุกคนในปีใหม่มีสุขภาพที่แข็งแรงและคลาดแคล้วจากโรคภัยไข้เจ็บ ขับไล่วิญญาณชั่วร้ายให้อยู่ห่างจากครอบครัวและหมู่บ้าน โดยมีเพียงผู้ชาย 4-6 คนที่ได้รับการรับรองจากพิธีเกิ๊บซักเท่านั้นที่สามารถเข้าเต้นรำในพิธีนี้ได้”

Púng nhnáng-ประเพณีที่โดดเด่นในวัฒนธรรมของชนเผ่าเย้าเตี่ยนในจังหวัดเซินลา - ảnh 2ในพิธีบวงสรวงบูชาผู้ดำเนินพิธีคือบุตรชายคนโตของครอบครัวที่เป็นหัวหน้าตระกูล

ในคืนวันที่ 30 ของปีเก่า มีพิธีขอบคุณฟ้าดิน (pái nhnàng) โดยอนุญาตให้ทุกคนจากในหมู่บ้านหรือคนนอกหมู่บ้านเข้าร่วมได้ พิธีนี้มีขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ลูกหลานต่อการตระหนักถึงคติประจำใจ "ดื่มน้ำต้องนึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ" ต้องสำนึกขอบคุณคนรุ่นก่อนที่ทำให้พวกเขามีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองเช่นทุกวันนี้ หลังงานส่งท้ายปีเก่าก็เป็นช่วงเริ่มต้นของพิธีกรรมหลักที่สำคัญที่สุดในการประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดในเทศกาล Púng nhnáng  เช่นพิธีกรรมออกกำลังพล(xuất penh) ที่ประกอบด้วยหนุ่มสี่คนในชุดชนเผ่าเย้าเต้นรำไปตามจังหวะและคำสั่งของหมอผี  ต่อจากนั้นคือพิธีกรรมถอนกำลังพล (xiêu penh) ด้วยท่ารำที่นำไม้นำดาบไปเก็บเพื่อสื่อความหมายของการใช้ชีวิตที่สงบสุขปราศจากศัตรู สุดท้ายเป็นพิธีกรรมรำโบราณของผู้สูงอายุเพื่อให้ลูกหลานได้รับรู้และสานต่อ

เช้าตรู่วันที่หนึ่งของปีใหม่ เจ้าของบ้านเลือกชายหนุ่มที่แข็งแรง 6 คนถือดาบและธงเตรียมพร้อมร่วมพิธีฟ้อนรำเพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้ายออกไปจากหมู่บ้านให้ทุกคนต้อนรับปีใหม่ที่สงบสุขและมีสุขภาพดี วันที่สองของปีใหม่คือวันสิ้นสุดงานเทศกาล (Xieu Nhnàng) ทุกคนมาชุมนุมแต่เช้าเพื่อเตรียมตัว ส่วนทางเจ้าของบ้านจะฆ่าหมูอีกตัวหนึ่งแล้วห่อข้าวเหนียวเพิ่มอีกเพื่อเซ่นไหว้ นอกจากนั้นมีการเลือกเชิญผู้ชายแข็งแรงมีครอบครัวสมบูรณ์รวม3คนมาทำพิธีล้มต้นไผ่และต้นอ้อย หมอผี Ly Van Chin ในหมู่บ้าน Suoi Khem อำเภอ โหมกโจว์ จังหวัด เซินลากล่าวว่า:“เทศกาลเต๊ตของวงศ์ตระกูลของเผ่าเย้าเตี่ยนไม่เพียงแต่เป็นเทศกาลแห่งความเลื่อมใสของชาวบ้านเท่านั้น หากยังเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชน  ปัจจุบันแม้ว่าสังคมจะเปลี่ยนไป ก็มีแต่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ประจำชาติเท่านั้น ดังนั้น เทศกาลเต๊ตของวงศ์ตระกูลของเผ่าเย้าเตี่ยนจึงได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริมอย่างต่อเนื่องต่อไป”

เทศกาล Púng nhnáng เทศกาลเต๊ตของวงศ์ตระกูลของเผ่าเย้าเตี่ยนเป็นกิจกรรมที่มีการผสมผสานทั้งเอกลักษณ์วัฒนธรรม ความคิด ความเลื่อมใส ขนบธรรมเนียมและแนวคิดของชาวเย้าเตี่ยนอย่างสมบูรณ์ แม้ว่ากิจกรรมนี้จะเป็นพิธีกรรมของครอบครัวและวงศ์ตระกูล แต่ก็มีลักษณะแห่งชุมชนขนาดใหญ่และกลายเป็นวันแห่งความสุขของทั้งชุมชน เป็นโอกาสให้ประชาชนถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประเพณีของชาติแก่ลูกหลานให้สืบสานและส่งเสริมต่อไป./.

Komentar