พิธีมงคลสมรสของคู่บ่าวสาว |
พิธี ป๊ายต่อง หรือการไหว้และรับไหว้ในงานแต่งงานของชาวเย้าเคามักจะจัดขึ้นตั้งแต่ช่วง7.00น.-เที่ยงคืนในวันแต่งงานหลัก โดยเพื่อเตรียมให้แก่พิธีสำคัญนี้ ครอบครัวของเจ้าบ่าวต้องเตรียมโต๊ะสี่เหลี่ยมตั้งข้างๆหิ้งบูชาในห้องกลางของบ้าน มีการวางเก้าอี้ยาวด้านในและสองข้างซ้ายขวาของโต๊ะ บนโต๊ะวางข้าวสาร1ถ้วยที่ปักดอกไม้เงิน2ดอก มีเนื้อหมูลวก1จาน ถาดใส่ของขนาดใหญ่2ใบ ตะเกียบ8-10คู่ แก้วเหล้า8-10ใบ เมล็ดข้าวโพด100เม็ด ด้านหน้าของโต๊ะจะปูด้วยฟางข้าวและเสื่อพร้อมผ้าห่ม2ผืน พับพอดีสำหรับคู่บ่าวสาวเพื่อใช้ในระหว่างการทำพิธี ส่วนก่อนเข้างานจะต้องผ่านขั้นตอนที่เรียกว่า “não hùng tòng” คือการสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานเพื่อประกอบพิธี โดยมีการเลือกเด็กผู้ชาย12คนอายุต่ำกว่า12ปีนั่งรอบๆโต๊ะสี่เหลี่ยม เมื่อวงดนตรีบรรเลงเพลงประกอบพิธีเด็กทุกคนจะทำท่าเหมือนกำลังดื่มเหล้า ทานอาหารอย่างสนุกสนานจนถึงเมื่อดนตรีจบ แม่สื่อจะเริ่มพิธีไหว้ด้วยการแต่งหน้าใส่ชุดให้แก่คู่บ่าวสาว นาง Tẩn Mý Xoang แม่สื่อของตำบลต๋าฝิ่น อำเภอสิ่นโห่เผยว่า“นอกจากชุดเจ้าสาวที่สวมแล้ว เจ้าสาวยังต้องเสริมแถบผ้าลายปักสีแดงอีก 2 แถบยาวประมาณ 4 เมตร โดยแถบผ้ายาวจะพาดจากไหล่อีกด้านถึงเอวอีกด้านแล้วผูกเป็นดอกไม้ด้านข้างส่วนผ้าที่เหลือจะปล่อยลงกับพื้น แถบผ้าสีแดงขนาดสั้นกว่า ผูกที่เอวไปด้านหลังแล้วมัดไว้ปล่อยปลายผ้าสองข้างลงมาถึงส้นเท้า สำหรับเจ้าบ่าวจะสวมเสื้อสีน้ำเงินอีกชั้นที่ยาวถึงเท้าและก็มีผ้าสีแดงม้วนตามตัวเหมือนเจ้าสาว บนหัวมีผ้าคลุมศรีษะสีแดงที่ติดดอกไม้อยู่ด้านหน้าของหน้าผาก ส่วนเจ้าสาวจะสวมหมวกเหมือนถาดไม้ทรงสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าจั่วพร้อมห้อยพู่และเส้นลูกปัดสีแดง ด้านบนคลุมด้วยผ้าสีแดงอีกชั้นปักลวดลายที่สวยงามและติดกิ่งดอกไม้เงินตรงกลาง ซึ่งเจ้าสาวต้องใส่หมวกถาดแบบนี้ตั้งแต่ก่อนออกจากบ้านเจ้าสาวเพื่อไปบ้านเจ้าบ่าวจนถึงตอนเข้าห้องหอและทำพิธีไหว้ป๊ายต่อง.”
ระหว่างแต่งหน้าให้เจ้าสาวและเจ้าบ่าวจะมีดนตรีบรรเลงที่เรียกว่า " phàn tị shinh " ซึ่งมีความหมายในการส่งสัญญาณแจ้งให้ชาวบ้านรู้ว่างานแต่งงานกำลังอยู่ในขั้นตอนเตรียมเข้าสู่พิธีกราบไหว้ผู้หลักผู้ใหญ่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของคู่บ่าวสาว หลังจากแต่งหน้าเสร็จแล้ว เจ้าสาวและเจ้าบ่าวจะถือผ้าเช็ดหน้าอันใหม่ โดยเจ้าบ่าวยืนอยู่ทางด้านซ้ายหน้าหิ้งบูชา เจ้าสาวยืนข้างๆเจ้าบ่าว พร้อมเพื่อนเจ้าสาวสองคน ทั้งหมดหันหน้าเข้าหาหิ้งบูชา โดยเพื่อนเจ้าสาวทั้งสองมีหน้าที่ยืนเป็นเสาหลักให้เจ้าสาวจับมือเธอคุกเข่าและยืนขึ้นตามจังหวะการไหว้ของเจ้าบ่าว
เจ้าสาวคลุมผ้าสีแดงและเพื่อนเจ้าสาว |
ในพิธี ป๊ายต่อง หรือการไหว้และรับไหว้ในงานแต่งงานนั้นบทบาทของผู้ดำเนินพิธีมีความสำคัญมาก เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องประเพณีการไหว้ โดยต้องนั่งข้างๆโต๊ะสี่เหลี่ยมเพื่อควบคุมงานตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น เชิญคนในงานให้มานั่งที่โต๊ะเพื่อรับไหว้ ส่งสัญญาณให้บรรเลงดนตรี เป็นต้น นายTẩn A San ในตำบล ฟังโซลิน อำเภอสิ่นโห่ มักได้รับเชิญให้ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินพิธีเผยว่า"การไหว้ในพิธีแต่งงานแตกต่างจากการไหว้ในพิธีอื่นๆ โดยเจ้าบ่าว มือขวาถือผ้าเช็ดหน้า กางแขนออก ไขว้เข้าที่หน้าอก ยกขึ้นไปหน้าผาก ก้มตัวลงเพื่อให้ศีรษะและมืออยู่ในระดับเท่ากันแล้วก็ยืนตรง วางมือต่ำลงที่ส่วนท้องแล้วค่อยๆ ปล่อยมือสู่ท่ายืนปกติ นี่เป็นการไหว้ยืน หลังจากนั้นเป็นการคุกเข่าไหว้ที่มีท่าเหมือนกับการยืนไหว้ เจ้าบ่าวยืนและคุกเข่าไหว้สามครั้ง ในเวลาเดียวกันเจ้าสาวก็ทำพร้อมกับเจ้าบ่าวเช่นกัน ซึ่งเป็นอันว่าเสร็จขั้นตอนการไหว้1รอบ"
พิธี ป๊ายต่อง ชุดแรกเป็นการไหว้บรรพบุรุษ โดยผู้ดำเนินพิธีนำถาดที่มีแก้วชา 6 ใบมายื่นต่อหน้าเจ้าบ่าว ส่วนเจ้าบ่าวก็เอื้อมมือแตะขอบถาดเพื่อแสดงว่าพร้อมแล้ว ตอนนั้นผู้ดำเนินพิธีก็พูดเสียงดังว่า“hengz xứ ơ!” ที่เป็นสัญญาณเริ่มพิธีไหว้บรรพบุรุษและวงดนตรีเริ่มบรรเลงเพลงเพื่อให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวเข้าท่าไหว้รวม7รอบ เรียกว่าการไหว้เทวดา ผีบ้านผีเรือน
ชุดที่สองเป็นการกราบไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ทั้ง 2 ฝ่าย พ่อสื่อแม่สื่อ โดยผู้ที่รับไหว้ได้รับเชิญมานั่งที่โต๊ะเพื่อให้เจ้าสาวและเจ้าบ่าวทำพิธีและแต่ละคนจะเอาของขวัญที่เตรียมไว้มาวางบนถาดที่ตั้งบนโต๊ะ ตักเนื้อชิ้นหนึ่งใส่จานเป็นอันว่าพวกเขาทานอาหารแล้วและกลับบ้าน
ชุดที่สามและชุดต่อๆไปคือไหว้แขก ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอย่างเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง เป็นต้น แต่ต้องเป็นคนที่มีครอบครัวแล้วและพิธีนี้จะทำไปจนหมดคิวผู้รับไหว้ และเมื่อเสร็จพิธีผู้ดำเนินงานก็จะออกมาทำพิธีมงคลสมรสให้คู่บ่าวสาว บอกกล่าวแนะนำให้คู่หนุ่มสาวระลึกถึงคุณความดีของการให้กำเนิดการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ต้องรู้จักทำดีสร้างคุณธรรม ขยันทำงานและขอให้ชีวิตคู่อยู่เย็นเป็นสุข./.