(VOVworld)-โดยที่เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยในเขตเขาตอนบนของประเทศมาเป็นร้อยๆปี ชนเผ่าห่าญี่จึงมีความผูกพันธ์กับป่าเขาเพราะนี่คือแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตและเป็นชายคาที่คอยปกป้องดูแลชาวบ้านเป็นที่พึ่งทางจิตใจในชีวิตของทั้งชุมชน ดังนั้นชาวห่าญี่ได้มีพิธีกรรมด้านความเลื่อมใสที่สืบทอดกันมากลายเป็นประเพณีคือการบูชาเซ่นไหว้เจ้าป่าและการอนุรักษ์แหล่งน้ำ
ป่าแต่ละแห่งต่างมีเจ้าป่าที่คอยดูแลดังนั้นชีวิตชะตากรรมของหมู่บ้านนั้นก็ต้องผูกพันธ์กับการคงอยู่ของป่า
|
ในชีวิตจิตใจของชาวห่าญี่ ชาวบ้านเขาเชื่อว่าทุกอย่างต่างมีวิญญาณดังนั้นเจ้าป่าเจ้าเขาและเจ้าแห่งแม่น้ำถือเป็นเทพเจ้าที่มีความผูกพันธ์กับชีวิตของมนุษย์มากที่สุด โดยเฉพาะเจ้าป่าและเจ้าแห่งแม่น้ำเพราะแม้กาลเวลาได้ผ่านไปและสังคมได้พัฒนาแต่ชาวห่าญี่ยังคงอนุรักษ์และปฏิบัติกฎระเบียบในการปกป้องป่าและปกป้องแหล่งน้ำที่สืบทอดจากบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด ป่าแต่ละแห่งต่างมีเจ้าป่าที่คอยดูแลดังนั้นชีวิตชะตากรรมของหมู่บ้านนั้นก็ต้องผูกพันธ์กับการคงอยู่ของป่า สำหรับชาวห่าญี่ป่ายังเสมือนชายคาใหญ่ของมนุษย์ดังนั้นทุกปฏิบัติการทำลายป่าจะถูกคัดค้านอย่างรุนแรงพร้อมทั้งถูกลงโทษอย่างหนัก แต่ละหมู่บ้านชุมชนชาวห่าญี่ต่างก็มีผืนป่าที่อยู่ในขอบเขตที่พวกเขาดูแลปกป้องดังนั้นทุกคนต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆที่พวกเขาตั้งขึ้น นายเหงวียนหิวเซิน เจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมการสื่อสารจังหวัดลาวกายเผยว่า “ทุกหมู่บ้านต่างก็มีผืนป่าอันศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในขอบเขตการดูแลของชาวบ้าน ดังนั้นแม้ในป่าจะมีฟืนหรือมีต้นไม้หักแต่ก็ไม่มีใครกล้าเก็บไปใช้ ชาวบ้านจะเข้าป่าปีละครั้งเพื่อทำพิธีเซ่นไหว้เจ้าป่าที่เรียกว่า หย่ามายอ เท่านั้น”
ในพิธีเซ่นไหว้เจ้าป่าชาวบ้านจะตั้งต้นตาแลวหรือต้นไผ่ที่แขวนเล็บหมูไว้ที่ทางเข้าป่าเพื่อเป็นป้ายบอกห้ามเข้าป่าเพื่อที่จะทำพิธี หากในช่วงทำพิธีมีคนฝ่าฝืนก็จะโดนปรับเป็นหมูหนึ่งตัว นายลี้ซอเจอ ชาวห่าญี่ที่ต.อีตี้ อ.บ๊าตซาด จ.ลาวกายได้เผยว่า“ถ้าหากเล็บหมูที่แขวนบนต้นไผ่หมุนแสดงว่ามีคนฝ่าฝืนเข้าป่าจะต้องถูกปรับเพราะช่วงที่ทำพิธีเป็นช่วงเวลาของผีป่าคนแปลกหน้าห้ามเข้า หลังจากเสร็จพิธีเป็นเวลาสามวันถึงจะเข้าป่าได้ตามปกติ”
ตามประเพณีในพิธีเซ่นไหว้เจ้าป่า หย่ามามอ ชาวบ้านจะนำหมูและไก่มาเป็นของเซ่นไหว้โดยถือว่าหมูคือสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์และจะไปอยู่กับมนุษย์เมื่อตายไปดังนั้นหลังจากทำพิธีเสร็จชาวบ้านจะเก็บส่วนกระดูกของหมูไว้เหมือนเป็นการเก็บวิญญาณของเทพเจ้าป่าเพื่อขอพรให้เทพเจ้าป่าปกป้องคุ้มครองให้ชาวบ้านมีชีวิตที่สงบสุข นาย จูยีทอ ชาวบ้านอีตี้ เผยว่า“ในวันจัดงาน เราจะเตรียมข้าวเหนียวที่บ้านส่วนหมูและไก่จะนำไปฆ่าในที่ตั้งของเซ่นไหว้เพื่อให้เจ้าป่าได้เห็นถึงความจริงใจของชาวบ้านทุกคน”
ตามประเพณีในพิธีเซ่นไหว้เจ้าป่า หย่ามามอ ชาวบ้านจะนำหมูและไก่มาเป็นของเซ่นไหว้
|
โดยที่ได้อาศัยการทำเกษตรกรรมเป็นหลักชาวห่าญี่ก็มีประเพณีในการทำนาขั้นบันไดพร้อมระบบฝ้ายส่งน้ำเข้านาที่มีวิทยาศาสตร์และสวยงาม นอกจากนี้ชาวห่าญี่ยังรู้จักใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำธรรมชาติด้วยการทำครกตำข้าวพลังน้ำและจนถึงทุกวันนี้ตามหมู่บ้านของชาวห่าญี่ก็ยังมีครกตำข้าวพลังน้ำที่มีอายุหลายสิบปีที่ยังทำงานอยู่และชาวบ้านจะพยายามใช้ประโยชน์จากมันต่อไปจนกว่ากฎระเบียบในการปกป้องป่าของชุมชนห่าญี่ยังคงมีผล
ทั้งนี้ถ้าได้มีโอกาสเดินเที่ยวในป่าดงดิบของชุมชนชาวห่าญี่เราจะได้สัมผัสกับบรรยากาศของป่าธรรมชาติที่ไม่เหมือนที่อื่น ได้ยินแต่เสียงใบไม้ เสียงน้ำไหล เสียงนกร้องเหมือนในโลกนิทาน ซึ่งถ้าได้เห็นผืนป่าที่เขียวขจีพร้อมต้นไม้ขนาดใหญ่หลายคนโอบก็สามารถเข้าใจได้ว่า กฎระเบียบในการปกป้องอนุรักษ์ป่าธรรมชาติและแหล่งน้ำของชาวห่าญี่นั้นได้ฝังลึกในจิตสำนึกของชาวบ้านทุกคนและได้กลายเป็นประเพณีอันดีงามที่ได้รับการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน.