(VOVworld)-ชนเผ่าห่าญี่อาศัยในเขตเขาภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม โดยแม้จะเป็นชนส่วนน้อยที่มีประชากรไม่มากแต่ชนเผ่าห่าญี่ก็มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมเฉพาะของชนเผ่าตน
ปัจจุบันชนเผ่าห่าญี่มีประชากรประมาณกว่า2หมื่น1พันคน ส่วนใหญ่อาศัยที่จังหวัดลายโจว์ เอียนบ๊าย ลาวกายและในบางท้องถิ่นบริเวณชายแดนเวียดนาม-จีนและเวียดนาม-ลาว ชุมชนชาวห่าญี่มักจะมีขนาด60ครัวเรือนตั้งอยู่ตามไหล่เขาที่ไกล้แหล่งน้ำเพื่อการผลิตและการบริโภค ดังนั้นสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านชาวห่าญี่จึงมีความสวยงามเข้ากับธรรมชาติอย่างลงตัว มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น โดยบ้านทุกหลังต้องติดภูเขาส่วนหน้าหันไปที่หุบเขาด้วยความเชื่อว่าจะช่วยให้ทรัยพ์สินเงินทองในบ้านมีความอุดมสมบูรณ์ตลอด เมื่อมองจากไกลๆบ้านแต่ละหลังเหมือนดอกเห็ดที่ขึ้นเรียงกันตามไหล่เขา ซึ่งสร้างเป็นภาพอันงดงามเหมือนภาพในนิทาน
สถาปัตยกรรมบ้านของชาวห่าญี่เป็นบ้านจิ่งเตื่องสร้างด้วยดินเหมาะกับสภาพภูมิอากาศในเขตเขาสูงโดยจะมีความอบอุ่นในหน้าหนาวแต่ถึงหน้าร้อนก็ช่วยให้คนในบ้านรู้สึกเย็นสบาย นายเหงวียนหิวเซิน เจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมการสื่อสารจ.ลายโจว์เผยว่า“มรดกวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าห่าญี่คือบ้านเตื่องจิ่ง ซึ่งเป็นชายคาของครอบครัวและของทั้งชุมชนเพราะบ้านแต่ละหลังสะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติของมนุษย์ต่อธรรมชาติต่อสภาพแวดล้อมและเพียงแค่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับบ้านเตื่องจิ่งก็จะสามารถเข้าใจเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าห่าญี่ได้”
ชนเผ่าห่าญี่เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาขั้นบันไดและขุดคลองสร้างเขื่อนเพื่อมีน้ำใช้ นอกจากการปลูกข้าวเป็นหลักแล้วก็ยังมีการทำไร่ทำนาปลูกพืชอื่นๆโดยใช้วัวควายช่วยทำการเกษตร ชาวห่าญี่รู้จักกับการทำสวนและเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างดีพร้อมมีการพัฒนาอาชีพหัตถกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตเช่นการทอผ้า ย้อมสีและการจักสาน ซึ่งแม้ปัจจุบันจะมีการแลกเปลี่ยนการค้ากับท้องถิ่นอื่นๆแต่ชาวห่าญี่ส่วนใหญ่ยังทอเสื้อผ้าใช้เอง โดยผู้หญิงทุกคนต่างรู้จักการทอผ้าตัดชุดให้แก่ตัวเองและครอบครัว
บ้านเตื่องจิ่งของชนเผ่าห่าญี่̣(photo internet)
|
ในด้านวัฒนธรรมชนเผ่าห่าญี่มีเทศกาลที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเทศกาล คูหย่าหย่า หรืองานปีใหม่ เทศกาลไหว้เจ้าป่า หรือเทศกาลจุ่มจัน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่มีความหมายและสะท้อนความผูกพันธ์ใกล้ชิดระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ โดยเทศกาล คูหย่าหย่า ถือว่ามีเกียรติประวัติที่ยาวนานที่สุดซึ่งเป็นงานเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเพื่อปกป้องคุ้มครองให้ชาวบ้านอยู่ดีกินดีมีความเจริญก้าวหน้า พร้อมทั้งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันธ์ของชุมชน นายเลิมบ๊านาม นักวิจัยวัฒนธรรมชนเผ่าเผยว่า“เทศกาลคูหย่าหย่ามีความผูกพันธ์กับกระบวนการพัฒนาของชาวห่าญี่ ซึ่งสำหรับชนเผ่าต่างๆที่อาศัยในเขตเขา งานเทศกาลทุกอย่างมักจะมีความหมายเป็นการขอพรจากเทพเจ้าทั้งหลายเพื่อให้ทุกอย่างเจริญงอกงามผลิดอกออกผลดีรวมทั้งยังเป็นการบ่งบอกถึงความสามัคคีของชุมชนในการร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน”
ในชีวิตจิตใจของชาวห่าญี่ยังมีเพลงพื้นเมืองพร้อมการระบำรำฟ้อนที่ประกอบเครื่องดนตรีหลายชนิด ผลงานด้านวรรณกรรม สุภาษิตและคำพังเพยที่น่าสนใจ ตลอดจนนิทานตำนานเกี่ยวกับความเป็นมาของชนเผ่า ปัจจุบันถึงแม้วิถีชีวิตของชุมชนชนเผ่าห่าญี่ได้มีการผสมผสานเข้ากับกระแสการพัฒนาใหม่ของสังคมและของชนเผ่าอื่นๆแต่วัฒนธรรมที่โดดเด่นพร้อมขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวห่าญี่ยังคงได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อให้ชนรุ่นหลังสืบต่อไป.