ชนเผ่า K’ho

To Tuan/VOV5
Chia sẻ

(VOVworld)-ในครอบครัวใหญ่54ชนเผ่าของเวียดนาม ชนเผ่าเกอฮอ (K’ho) เป็นชนส่วนน้อยที่ตั้งรกรากถิ่นฐานนานที่สุดในเขตเตยเงวียนตอนใต้ ซึ่งเมื่อก่อนมักจะตั้งหลักแหล่งในเขตเขาสูงและอยู่กันอย่างสันโดด ดังนั้นชุมชนเผ่าเกอฮอยังคงอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรมที่โดดเด่นไว้อย่างสมบูรณ์มาตราบเท่าทุกวันนี้


(VOVworld)-ในครอบครัวใหญ่54ชนเผ่าของเวียดนาม ชนเผ่าเกอฮอ (K’ho) เป็นชนส่วนน้อยที่ตั้งรกรากถิ่นฐานนานที่สุดในเขตเตยเงวียนตอนใต้ ซึ่งเมื่อก่อนมักจะตั้งหลักแหล่งในเขตเขาสูงและอยู่กันอย่างสันโดด ดังนั้นชุมชนเผ่าเกอฮอยังคงอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรมที่โดดเด่นไว้อย่างสมบูรณ์มาตราบเท่าทุกวันนี้

ชนเผ่า K’ho   - ảnh 1
สาวเกอฮอ(Photo internet)

ชนเผ่าเกอฮอ เป็นกลุ่มชนเผ่าที่ใช้ชีวิตแบบเลื่อนลอยดังนั้นในกระบวนการพัฒนาก็มีการปรากฎกลุ่มชนเผ่าเกอฮอของท้องถิ่นต่างๆเช่น กลุ่ม เกอฮอเซอเร  เกอฮอเตอริง เกอฮอชิล เกอฮอยอน เป็นต้น ในด้านภาษานั้น ชาวเกอฮอใช้ภาษาพื้นเมืองกลุ่มภาษามอญเขมรอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติกแต่ช่วงหลายปีมานี้เริ่มมีการใช้ภาษาเขียนตามแบบตัวอักษรลาติน ปัจจุบันมีอยู่ประมาณกว่า1แสน7หมื่นคน อาศัยกระจายในแถบจังหวัด เลิมด่ง บิ่งถวน แค้งหว่า นิงถวน ด่งนายและนครโฮจิมินห์

ชนเผ่าเกอฮอประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และงานหัตถกรรมต่างๆเช่นจักสาน ทอผ้า ตีเหล็ก เพื่อเลี้ยงชีพและเนื่องจากชีวิตมีความผูกพันกับธรรมชาติดังนั้นประเพณีวัฒนธรรมและความเลื่อมใสของชาวเกอฮอก็ดูคล้ายๆกับชนเผ่าอื่นๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน นาย เหงวียนวันแยวง นักวิจัยเกี่ยวกับชนเผ่าเผยว่า“ชาวเผ่าเกอฮอเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่ปกป้องคุ้มครองโลกในทุกด้าน ส่วนพวกภูตผีปีศาจจะสร้างความชั่วร้าย นอกจากนั้นชาวเกอฮอยังมีการเซ่นไหว้บูชาเทพแห่งพระอาทิตย์ พระจันทร์ เทพแห่งขุนเขา แม่น้ำ ผืนดิน รวงข้าว เป็นต้นและจนถึงปัจจุบันชาวเกอฮอก็ยังคงปฏิบัติพิธีการเซ่นไหว้ต่างๆในโอกาสสำคัญๆเช่นงานรื่นเริง งานฉลองการผลิตเป็นต้น”

สำหรับการจัดงานเทศกาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานขอฝนขอพรขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายชาวเกอฮอมักจะตั้งเสาตุงเพื่อเชิญเทพเจ้าจากเบื้องบนมาร่วมด้วย และในพิธีกรรมต่างๆก็จะมีการร้องรำทำเพลงโดยใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองมาประกอบ

ชุมชนชนเผ่าเกอฮอจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเรียกว่าบอนหรือหมู่บ้าน โดยมีกวงบอนหรือผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนและเป็นตัวแทนด้านจิตวิญญาณเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพของหมู่บ้าน ลักษณะของหมู่บ้านเกอฮอนั้นสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมการให้ความสำคัญต่อผู้หญิง ครอบครัวใหญ่และครอบครัวเล็กต่างได้อาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านไม้ยกพื้นที่ทอดยาวและจะมีหลายหลังติดต่อกันให้คนอยู่ในตระกูลเดียวกันอาศัยและในชีวิตคู่ชาวเกอฮอก็มีประเพณีการ “จับสามี” ที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของสตรีในชุมชน เมื่อบ้านไหนมีลูกสาวถึงเวลาจะต้องหาคู่ก็จะต้องตอบสนองเงื่อนไขในการเรียกสินสอดจากฝ่ายชาย ซึ่งยิ่งเป็นหนุ่มหล่อแข็งแรง สินสอดก็ยิ่งใหญ่โตดังนั้นบางทีเรื่องสินสอดนี้ได้สร้างเป็นภาระที่หนักหน่วงให้แก่ครอบครัวที่มีลูกสาวหลายคน หลังวันแต่งงานฝ่ายชายจะมาอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง ลูกก็ใช้นามสกุลแม่และลูกสาวคือผู้ที่จะได้รับมรดกตกทอดจากพ่อแม่ แต่จนถึงปัจจุบันก็มีประเพณีที่ล้าหลังหลายอย่างถูกยกเลิกไปแล้ว นาย เกอเบรล์ เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมชนเผ่าเกอฮอเผยว่า“พี่น้องชาวเกอฮอเริ่มมีโอกาสเข้าถึงชีวิตสังคมร่วมกับชนเผ่าอื่นๆในท้องถิ่นดังนั้นได้มีการยกเลิกประเพณีที่ล้าหลังไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขการดำเนินชีวิตปัจจุบัน เช่น เมื่อมีหนุ่มสาวในหมู่บ้านรักกันฝ่ายหญิงก็จะต้องนำสินสอดไปสู่ขอฝ่ายชายแต่เรื่องจำนวนสินสอดนั้นจะได้รับการปรึกษาหารือระหว่างสองฝ่ายเพื่อให้สอดคล้องกับฐานะของฝ่ายหญิง”

ในชีวิตทุกวันนี้ แม้จะได้มีการสังสรรค์กับชนเผ่าอื่นๆที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันแต่เอกลักษณ์วัฒนธรรมเฉพาะของชนเผ่าเกอฮอยังคงได้รับการรักษาและปฏิบัติต่อไปอย่างเคร่งครัด และชาวเกอฮอทุกคนได้ตระหนักถึงการเสริมสร้างและผลักดันความสามัคคีในวงตระกูลและชุมชนให้มั่นคงต่อไป ร่วมกันอนุรักษ์แหล่งน้ำ ผืนป่าที่พวกเขาหวงแหนเหมือนสมบัติของชุมชนตลอดจนได้มีการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าตนอย่างเคร่งครัดด้วยความสมัครใจ.

Komentar