เอฟทีเอเวียดนาม-พันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป: โอกาสใหญ่เพื่อขยายความร่วมมือ

Diep Anh-VOV
Chia sẻ
(VOVworld) – วันที่ 29 พฤษภาคม ท่าน เหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีได้เดินทางถึงประเทศสาธารณรัฐคาซัคสถานเพื่อเข้าร่วมพิธีลงนาม ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับพันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรปอย่างเป็น ทางการซึ่งเวียดนามเป็นประเทศแรกที่ลงนามเอฟทีเอกับพันธมิตรนี้และนี่คือกรอบทางนิตินัยที่สะดวกและยั่งยืนเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามกับประเทศสมาชิกของพันธมิตรฯ

(VOVworld) – วันที่ 29 พฤษภาคม ท่าน เหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีได้เดินทางถึงประเทศสาธารณรัฐคาซัคสถานเพื่อเข้าร่วมพิธีลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับพันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรปอย่างเป็นทางการซึ่งเวียดนามเป็นประเทศแรกที่ลงนามเอฟทีเอกับพันธมิตรนี้และนี่คือกรอบทางนิตินัยที่สะดวกและยั่งยืนเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามกับประเทศสมาชิกของพันธมิตรฯ

เอฟทีเอเวียดนาม-พันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป: โอกาสใหญ่เพื่อขยายความร่วมมือ - ảnh 1
ท่าน เหงียนเติ๊นหยุง เดินทางถึงประเทศคาซัคสถานเพื่อเข้าร่วมพิธีลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับพันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรปอย่างเป็น

พันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรปหรืออีเออีซี ประกอบด้วย รัสเซีย คาซัคสถาน เบลารุส อาร์เมเนียและคีร์กีซสถาน รวมประชากรกว่า 170 ล้านคนและมีการขยายตัวของเศรษฐกิจหรือจีดีพีอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น อีเออีซีจึงถือเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยศักยภาพสำหรับสถานประกอบการเวียดนาม
สร้างความสมดุลย์ผลประโยชน์

เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2014 ณ กรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ประธานาธิบดีของรัสเซีย เบลารุสและคาซัคสถานได้ลงนามสนธิสัญญาจัดตั้งพันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรปหรืออีอียูที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2015 เป็นต้นไปและในวันเดียวกันนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นพันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป ประกอบด้วย รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน อาร์เมเนียและคีร์กีซสถาน หลังจากเจรจามาเป็นเวลา 2 ปี ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับพันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรปเสร็จสิ้นลงอย่างเป็นทางการ ในการให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวของสถานีวิทยุเวียดนามประจำรัสเซีย นาย ดั่งหว่างหาย อธิบดีกรมตลาดยุโรปสังกัดกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมและหัวหน้าคณะเจรจาระดับเทคนิคเอ็ฟทีเอของเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า ข้อตกลงนี้มีลักษณะพิเศษเนื่องจากประเทศต่างๆในกลุ่มอีเออีซีที่เวียดนามเจรจาเอฟทีเอด้วยล้วนเป็นประเทศที่มีสัมพันธไมตรีอันยาวนานและดีงามกับเวียดนามจากการมีสัมพันธไมตรีจึงมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี ดังนั้นทั้งสองฝ่ายให้ความเคารพผลประโยชน์ของอีกฝ่ายและเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละประเทศและมุ่งสู่เป้าหมายความสมดุลผลประโยชน์ระหว่างสองฝ่ายในกระบวนการเจรจา จนถึงขณะนี้ เมื่อกระบวนการเจรจาเสร็จสิ้นลง พวกเราเห็นว่า ได้บรรลุเป้าหมายนี้ การลงนามเอ็ฟทีเอช่วยรักษาผลประโยชน์ของแต่ละประเทศในพันธมิตรฯ และของเวียดนาม รวมทั้งผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันของ 2 ฝ่าย”
กลไกภาษีศุลกากรที่เสรีและสะดวก

การลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับพันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรปจะสร้างกรอบทางนิตินัยที่สะดวกและมีเสถียรภาพเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามกับประเทศสมาชิกของพันธมิตรเพื่อขยายความสัมพันธ์ทวิภาคีและแลกเปลี่ยนมาตรการเพื่อปฏิบัติข้อตกลงฉบับนี้กับแต่ละประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
จากการประเมินของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ ข้อตกลงฉบับนี้ค่อนข้างมีความโปร่งใสด้านภาษีศุลกากร เช่นการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกอีเออีซีกับเวียดนาม นอกจากการลดหรือยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าที่อยู่ในรายการสินค้าที่เข้าร่วมข้อตกลงแล้ว ทุกฝ่ายยังสามารถคุ้มครองภาษีศุลกากรต่อสินค้าที่อ่อนไหวที่สุด สำหรับเวียดนาม ข้อตกลงได้บรรลุเป้าหมายขั้นพื้นฐานที่ได้วางไว้คือสินค้าที่ได้ความรับสนใจเป็นพิเศษได้รับเงื่อนไขที่สะดวก นาย ดั่งหว่างหาย หัวหน้าคณะเจรจาเทคนิคเอ็ฟทีเอของเวียดนามได้แสดงความเห็นว่ายกตัวอย่างเช่น สินค้าสัตว์น้ำของเวียดนามที่ส่งออกไม่ต้องเสียภาษีทันทีและการยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรต่อสินค้าสิ่งทอเสื้อผ้าสำเร็จรูปร้อยละ 80 ส่วนที่เหลือจะถูกยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรตามกระบวนการและแหล่งที่มา ส่วนเครื่องหนังและรองเท้าก็ได้รับผลประโยชน์เช่นกันโดยไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรจึงได้รับประโยชน์จากตลาดนี้เป็นอย่างมาก”
สำหรับประเทศในพันธมิตรฯ พวกเขาให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร เวียดนามพร้อมที่จะเปิดตลาดและยกเลิกภาษีศุลกากรทันที ส่วนสินค้าเกษตรบางรายการก็จะเปิดตลาดตามกระบวนการ ดังนั้นข้อตกลงแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายและเน้นถึงสินค้าที่ทั้งสองฝ่ายต่างให้ความสนใจ
โอกาสผลักดันความร่วมมือด้านการค้า

คาดว่า หลังจากลงนามข้อตกลงเอฟทีเอกับอีเออีซี จนถึงปี 2020 ปริมาณสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกและเวียดนามอาจเพิ่มขึ้นหลายเท่าเมื่อเทียบกับปัจจุบัน รัสเซียและประเทศสมาชิกอื่นๆในพันธมิตรอาจขยายการช่วยเหลือเวียดนามในกระบวนการปฏิบัติแผนพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในด้านพลังงาน การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคมขนส่งและการใช้ประโยชน์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งที่สำคัญคือเศรษฐกิจเวียดนามและอีเออีซีไม่ได้แข่งขันกันหากแต่สนับสนุนกัน
ถึงแม้เวียดนามเป็นประเทศแรกที่ลงนามเอฟทีเอกับอีเออีซีและมีความสัมพันธ์ที่ยาวนาน แต่มูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับพันธมิตรนี้ยังอยู่ในระดับต่ำโดยทุกปี มูลค่าการค้าระหว่างสองฝ่ายบรรลุกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ข้อตกลงเอ็ฟทีเอจะสร้างพลังขับเคลื่อนในทุกด้านเพื่อผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างเวียดนามกับพันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป ประเทศสมาชิกเหล่านี้ได้ประเมินว่า เวียดนามมีบทบาทที่กระตือรือร้นในอาเซียนและเวียดนามจะเป็นประตูสู่อาเซียนและภูมิภาคเอเชียของพันธมิตรเศรษฐกิจ สินค้าที่ได้รับความนิยมและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในตลาดเวียดนามก็จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ประเทศสมาชิกในตลาดอาเซียนและเอเชีย
การที่นายกรัฐมนตรี เหงียนเติ๊นหยุงเยือนคาซัคสถานเพื่อเข้าร่วมพิธีลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับพันธมิตรเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรปคือกิจกรรมสำคัญในกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกของเวียดนาม การเยือนนี้ก็เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกรอบความร่วมมือใหม่ ดึงดูดสถานประกอบการของประเทศต่างๆให้เข้ามาประกอบธุรกิจและลงทุนในเวียดนาม พร้อมทั้งหารือมาตรการต่างๆเพื่อขยายความร่วมมือทวิภาคีระหว่างเวียดนามกับประเทศเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น./.

Komentar