(VOVworld) – ปี 2015 เวียดนามจะเสร็จสิ้นกระบวนการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีบางฉบับ โดยเฉพาะข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพี ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม – สหภาพยุโรปหรืออียูและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ซึ่งถือเป็นการสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ให้แก่การพัฒนาของเศรษฐกิจเวียดนาม แต่นอกจากโอกาสต่างๆแล้ว เวียดนามจะต้องรับมือกับความท้าทายนานัปการ ซึ่งต้องการความเป็นฝ่ายรุกของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถานประกอบการเวียดนาม
สินค้าต่างๆของเวียดนามได้รับความนิยมมาก
|
ถ้าหากมองโดยภาพรวมแล้ว ข้อตกลงการค้าฉบับต่างๆดังกล่าวจะส่งผลดีต่อการผลิตและประกอบธุรกิจของสถานประกอบการแต่ก็ต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันด้านเทคนิก ลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า นโยบายสวัสดิการสังคม สิ่งแวดล้อมและมาตรฐานที่ตั้งไว้สูงของบรรดาประเทศนำเข้า
ความท้าทายพร้อมกับโอกาส
การเจรจารอบที่ 11 เป็นรอบสุดท้ายของข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรปหรืออีวีเอฟทีเอและจะได้รับการลงนามภายในต้นปี 2015 นี่คือข้อตกลงที่มีความเสรีอย่างกว้างลึก โดยสินค้าเวียดนามที่ส่งออกไปยังตลาดอียูจะได้ประโยชน์ด้านภาษี เพราะอียูจะยกเลิกภาษีสินค้านำเข้ากว่า 90 รายการ ดังนั้น หน่วยงานที่จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดคือ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและอาหารแปรรูป หอการค้ายุโรปประจำเวียดนามหรือ EuroCham ประเมินว่า ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับอียูที่จะได้รับการลงนามจะส่งผลดีต่อเวียดนาม โดยเฉพาะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-15 และการส่งออกของเวียดนามไปยังอียูจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 30-40
ในขณะเดียวกัน ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพีที่มี12 เศรษฐกิจสมาชิกก็ถูกคาดหวังว่า จะได้รับการก่อตั้งในปี 2015 ซึ่งมีจีดีพีรวมกันคิดเป็นร้อยละ 40 ของจีดีพีโลก กลายเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลกและเวียดนามจะเป็น 1 ในประเทศที่จะได้ผลประโยชน์มากที่สุดเพราะเป้าหมายสำคัญของการลงนามข้อตกลงทีพีพีคือการลดภาษีและยกเลิกกำแพงกีดกันการค้า เมื่อภาษีลดลงก็หมายความว่า สถานประกอบการเวียดนามจะเพิ่มการส่งออกไปยัง 11 ประเทศสมาชิก รวมทั้งตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและมีเสถียรภาพ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่นและแคนาดา
สำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี สิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุดคือสถานประกอบการเวียดนามจะได้ประกอบธุรกิจในบรรยากาศที่คล่องตัว โดยเฉพาะความได้เปรียบจากการเป็นศูนย์กลางขนส่งและการแลกเปลี่ยนสินค้าในทั่วโลกซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของเวียดนามลดลง
นายโด๋ทั้งห่าย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์
|
เมื่อประเมินเกี่ยวกับโอกาสของสถานประกอบการ นายโด๋ทั้งห่าย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ได้เผยว่า “นี่คือโอกาสใหญ่ให้แก่สถานประกอบการ สินค้าของเวียดนามที่สามารถเข้าตลาดเหล่านี้ต่างเป็นสินค้าเด่นๆของเวียดนาม เช่น เครื่องหนังและรองเท้าหนัง สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป สัตว์น้ำ สินค้าหัตถกรรม เป็นต้น ดังนั้น พวกเราจะอำนวยความสะดวกให้แก่การส่งออกสินค้าเหล่านี้มากขึ้นในเวลาข้างหน้า”
นอกจากผลกระทบในทางบวกแล้ว การเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอฉบับต่างๆก็ทำให้ตลาดภายในประเทศต้องรับมือกับการแข่งขันอย่างดุดเดือด ความเสียเปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและบางกลุ่มจะเผชิญกับความเสี่ยง เช่น การเกษตร ชนบทและเกษตรกร โดยเฉพาะสินค้าการเกษตรของเวียดนามกำลังต้องแข่งขันอย่างดุเดือดในตลาดของตน รัฐมนตรีช่วยโด๋ทั้งห่ายให้ข้อสังเกตว่า “ในขณะที่พวกเราได้รับภาษีร้อยละ 0 ในตลาดที่เราลงนามในข้อตกลง เราก็ต้องยอมรับว่า ที่เวียดนามสินค้าบางรายการก็ต้องลดภาษีลง การส่งเสริมการค้าโดยเฉพาะการส่งเสริมการค้าของหน่วยงานอุตสาหกรรมและพาณิชย์ต้องเป็นไปตามแนวทางคือ ใช้ประโยชน์ความได้เปรียบของเวียดนามจากการเข้าร่วมและลงนามข้อตกลงฉบับต่างๆ ผลักดันการส่งออกสินค้าที่ถือเป็นจุดแข็งของเราไปยังตลาดนั้น ข้อตกลงการค้าทุกฉบับต่างมีทั้งโอกาสและความลำบาก ถ้าหากสถานประกอบการรู้จักใช้โอกาสจะได้รับประโยชน์และสิทธิพิเศษมาก”
ใช้โอกาสเพื่อฟันฝ่าอุปสรรค
การลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีเป็นขั้นตอนเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนการปฏิบัติข้อตกลงให้มีประสิทธิภาพนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความพยายามจากสถานประกอบการและความพยายามของรัฐบาลในการปฏิรูปเพื่อสร้างบรรยากาศการประกอบธุรกิจให้มีความโปร่งใสและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นายกาวสีเกียม นายกสมาคมสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเผยว่า “ถ้าหากพวกเราไม่เตรียมอย่างดีเพื่อรับมือกับความท้าทายก็จะได้รับความเสียหายและแพ้ในตลาดของตัวเอง ดังนั้นต้องมีการเตรียมอย่างเข้มแข็ง ทั้งในด้านเทคโนโลยี คุณภาพแหล่งบุคลากร ระบบโครงสร้างพื้นฐาน บรรยากาศกฎหมายและระเบียบการ”
|
ส่วนนายหวูฮุยหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เผยว่า เมื่อรัฐบาลตัดสินใจที่จะเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับหุ้นส่วนก็ได้คำนึงถึงผลประโยชน์และมีกระบวนการค้ำประกันการผลิตภายในประเทศให้สอดคล้องกับทั้งการผสมผสานและการปกป้องตลาดภายในประเทศ ซึ่งถ้าหากเวียดนามทำได้ การแข่งขันและการผลิตภายในประเทศก็จะไม่ได้รับความเสี่ยงอย่างแน่นอนดังนั้นพวกเราปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ลงนามอย่างเข้มงวด สำหรับการเตรียมของเวียดนาม นายหวูฮุยหว่างเผยว่า “ตามการชี้นำของรัฐบาล ในปี 2015 และปีต่อๆไป เมื่อข้อตกลงการค้าเสรีฉบับต่างๆมีผลบังคับใช้ จะต้องให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ สำนักงานภาครัฐต้องมีความรับผิดชอบสูงและต้องประสานงานอยู่เสมอกับชมรมสถานประกอบการและมีความใกล้ชิดกับประชาชนเพื่อสามารถสะท้อนและหารือกับหุ้นส่วนเพื่อสามารถแก้ไขข้อตกลงให้สอดคล้องทันทีในขณะที่เกิดปัญหาใหม่ๆ”
การใช้โอกาสจากข้อตกลงเอฟทีเอถือว่าจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาของเศรษฐกิจ ดังนั้นสำนักงานที่เกี่ยวข้อง ชมรมผู้ประกอบการและประชาชนต้องเป็นฝ่ายรุกเพื่อตอบสนองเงื่อนไขต่างๆของข้อตกลงเอฟทีเอ ซึ่งมีส่วนร่วมสำคัญต่อกระบวนการผสมผสานอย่างกว้างลึกของประเทศ./.