ด่ายนามท้งเญิตตว่านโด่ของฟานฮวีชู้ (1834) และแผนที่เวียดนามโดยชาวตะวันตกวาดเมื่อปี 1749 เป็นหนึ่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า หว่างซาและเจื่องซา เป็นของเวียดนาม |
ตามการตัดสินใจที่ผิดพลาดของกระทรวงกิจการพลเรือนของจีน สำนักงานของสิ่งที่เรียกว่า “เขตซีซา” จะตั้งอยู่บนเกาะฟู้เลิมสังกัดหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลของเวียดนาม ส่วนสำนักงานของสิ่งที่เรียกว่า “เขตหนานซา” จะตั้งอยู่บนโขดหิน จื๋อเถิบสังกัดหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ของเวียดนาม การตัดสินใจนี้ของจีนถือเป็นโมฆะเนื่องจากหมู่เหาะหว่างซาและเจื่องซาอยู่ในอธิปไตยที่ชอบด้วยกฎหมายอย่างสมบูรณ์ของเวียดนาม
หลักฐานได้รับการเก็บรักษาไว้ในหนังสือและการบริหารที่เป็นจริง
เวียดนามมีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซามานานแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติและกฎหมายสากลเกี่ยวกับการระบุและยืนยันอธิปไตยเหนือดินแดน โดยเฉพาะหลักฐานนั้นยังได้รับการเก็บรักษาไว้ในหนังสือของเวียดนามและจีนตั้งแต่สมัยศักดินาและของบางประเทศในยุโรป เช่นฝรั่งเศส โปรตุเกสและสเปน เป็นต้น
เอกสารที่ยังมีเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันและในประวัติศาสตร์มีความสมบูรณ์เพื่อยืนยันอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซา นั่นคือแผนที่เวียดนามเมื่อศตวรรษที่ 17 ได้เรียกหมู่เกาะทั้งสองแห่งคือ golden sand และถูกระบุเป็นส่วนหนึ่งของเขตบิ่งเซิน เมือง กว๋างหงาย นอกจากนั้น เอกสารโบราณของเวียดนาม เช่น ตว่าน เติบ เทียน นาม ตื๊อ ชี้ โหลาะ โด่ ทือ ออกเมื่อศตวรรษที่ 17 ฝูเบียนตาบหลุกออกเมื่อปี 1776 ด่าย นาม ถึก ลุก เตี่ยน เบียน ออกในช่วงปี 1844-1848 ด่าย นาม เญิด ท้ง ชี้ ออกในช่วงปี 1865-1875 และเอกสารของสมัยราชวงศ์เหงียนออกในช่วงปี 1802-1945 ต่างได้ระบุว่า รัฐเวียดนามได้ส่งกองทหารหว่างซา ไปสำรวจบุกเบิกหมู่เกาะต่างๆดังกล่าว
นอกจากนั้น หนังสือโบราณและแผนที่โบราณของต่างประเทศยังระบุว่า หมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซาอยู่ในอธิปไตยของเวียดนาม โดยเฉพาะการประกาศและระบุอธิปไตยของเวียดนามเหนือหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซาสมัยกษัตริย์ ญาลอง เมื่อปี 1816 ที่สั่งให้ทหารไปยังหมู่เกาะหว่างซาเพื่อปักธงเวียดนามและประกาศอธิปไตย และบรรดากษัตริย์ในสมัยราชวงศ์ เหงียน ก็ได้ส่งทหารไปบริหารและใช้ประโยชน์เหนือหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซาอย่างต่อเนื่อง รัฐสมัยศักดินาเวียดนามได้จัดหน่วยทหารหว่างซาและบั๊กหายเพื่อปฏิบัติอธิปไตยและใช้ประโยชน์เหนือหมู่เกาะทั้งสองแห่งดังกล่าว ตั้งแต่ปี 1884 ทางการฝรั่งเศสในอินโดจีนได้ปฏิบัติและเสริมสร้างอธิปไตยเวียดนามเหนือหมู่เกาะทั้งสองแห่งดังกล่าวเช่นกัน
ไม่สามารถประกาศอธิปไตยด้วยการใช้ความรุนแรงได้
หลักฐานดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงอธิปไตยที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ของเวียดนามเหนือหมู่เกาะหว่างซาและเจื่องซา นอกจากนั้น ในมุมมองกฎหมายสากล จีนได้ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติอย่างรุนแรงผ่านการยึดครองหว่างซาอย่างผิดกฎหมายด้วยการใช้ความรุนแรงเมื่อปี 1974 โดยเฉพาะ การใช้ความรุนแรงที่ผิดกฎหมายนี้ไม่สามารถช่วยให้จีนตั้งอธิปไตยที่ชอบด้วยกฎหมายเหนือหมู่เกาะหว่างซาได้ อดีตรองหัวหน้าคณะกรรมการชายแดนแห่งชาติ เจิ่นยวีหาย ได้แสดงความเห็นว่า “หลังจากฝรั่งเศสถอนตัวออกจากเวียดนามได้ส่งมอบการบริหารหมู่เกาะหว่างซาให้แก่ทางการสาธารณรัฐเวียดนามและทางการสาธารณรัฐเวียดนามได้บริหารและตั้งกองกำลังประจำการบนหมู่เกาะแห่งนี้ จีนได้ฉกฉวยปัญหาสงคราม โจมตีกองกำลังสาธารณรัฐเวียดนามที่ประจำการบนหมู่เกาะหว่างซา นี่คือความจริงทางประวัติศาสตร์ และการใช้ความรุนแรงเพื่อรุกรานหมู่เกาะหว่างซาไม่สามารถสร้างเป็นอธิปไตยของจีนได้”
ด้วยความปรารถนามีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อสันติภาพและการพัฒนาในภูมิภาค ถือความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เวียดนามพยายามปฏิบัติแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างสันติผ่านการสนทนาอยู่เสมอ แต่จีนได้ทำอะไรบ้างเพื่อ “ยึดมั่นในการเจรจาแห่งมิตรภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทางทะเลอย่างสมเหตุสมผล ทำให้ทะเลตะวันออกกลายเป็นเขตทะเลที่สันติภาพ มิตรภาพและร่วมมือ” ดั่งเจตนารมณ์ของข้อตกลง 6 ข้อเพื่อแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออกที่เวียดนามและจีนได้ลงนาม ณ กรุงปักกิ่งเมื่อปี 2011 ซึ่งคำตอบก็เหนได้อย่างชัดเจนแล้ว ดร. นักฎหมาย หว่างหงอกยวาว หัวหน้าสถาบันวิจัยนโยบาย กฎหมายและการพัฒนาย้ำว่า “ที่ชัดเจนว่า ถึงแม้จีนได้พูดว่าให้ความเคารพกฎหมายสากล แต่ในทางเป็นจริงจีนไม่ได้ทำเหมือนที่พูด ในมุมมองด้านชื่อเสียงระหว่างประเทศ สถานะและความรับผิดชอบทางการเมืองระหว่างประเทศ จะเห็นได้ชัดเจนว่า จีนกำลังสูญเสียภาพลักษณ์ของตน และประชามติโลกต้องรับทราบเรื่องนี้อย่างถ่องแท้”
การให้ความเคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎหมายสากลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในโลกในปัจจุบันต่อทุกประเทศไม่ว่าเป็นประเทศใหญ่หรือเล็ก ซึ่งในฐานะเป็นประเทศใหญ่ จีนยิ่งต้องมีความรับผิดชอบมีส่วนร่วมต่อสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายสากลและ UNCLOS การที่จีนให้สัตยาบันการตัดสินใจก่อตั้งสิ่งที่เรียกว่า “เขตซีซา” และ “เขตหนานซา” สังกัด “นครซานซา” ในมณฑลไหหนานกำลังเดินสวนกฎหมายและธรรมเนียมปฏิบัติสากล ตลอดจนสิ่งที่จีนได้พูด ส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจและจะสร้างผลพวงที่อันตรายต่อภูมิภาคและโลก./.