ภาพประกอบข่าว (นิตยสาร เตีวนย้าว) |
การที่เวียดนามมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกลไกระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติเป็นการแสดงให้เห็นว่าเวียดนามมีความพยายามอยู่เสมอในการสนทนาและร่วมมือเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2022 ในกรอบการประชุมสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม บุ่ย แทง เซิน ได้กล่าวในนัดเปิดการประชุมระดับสูงว่า เวียดนามพร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ มุ่งมั่นยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสภาสิทธิมนุษยชนฯผ่านการสนทนา ความร่วมมือ และความเคารพซึ่งกันและกัน เวียดนามให้ความสำคัญต่อการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมในทุกด้าน โดยเน้นการปกป้องสิทธิของกลุ่มเสี่ยง ความเสมอภาคทางเพศ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในการแก้ไขปัญหาระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ คณะผู้แทนเวียดนามได้พยายามมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการแสดงความเห็นและการปรึกษาหารือในการอภิปรายต่างๆโดยให้ความสำคัญด้านนโยบาย การมีส่วนร่วมในความร่วมมือระหว่างประเทศและผลสำเร็จในภารกิจต่างๆของเวียดนามในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเอกอัครราชทูต เลถิเตวียดมาย หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรเวียดนามประจำสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก และองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ในเมืองเจนีวา ได้กล่าวย้ำถึงการปฏิบัติและผลงานที่โดดเด่นของเวียดนามในด้านสิทธิมนุษยชน เช่น สิทธิในการมีอยู่อาศัย สิทธิทางวัฒนธรรม เป็นต้น และเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ และสภาสิทธิมนุษยชนฯกระชับความร่วมมือและการสนทนาเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง แทนที่จะมีการตำหนิติติงประเทศใดประเทศหนึ่งโดยอิงจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและยังไม่ได้รับการพิสูจน์ข้อเท็จจริง นอกจากนั้น คณะผู้แทนเวียดนามยังได้มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการจัดทำเอกสารและมติของสภสิทธิมนุษยชนในการประชุมครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มติว่าด้วยการค้ำประกันการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน ทันท่วงทีและรอบด้านสำหรับวัคซีนโควิด-19 เพื่อรับมือป้องกันการระบาดใหญ่
นี่มิใช่ครั้งแรกที่เวียดนามได้แสดงความเห็นและผลักดันการเสริมสร้างความร่วมมือและการสนทนาระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มความเข้าใจและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในประเทศและในเวทีระหว่างประเทศ ด้วยแนวทาง "เวียดนามพร้อมที่จะเป็นมิตรและเป็นหุ้นส่วนที่น่าไว้วางใจของประชาคมระหว่างประเทศ มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ ความเป็นเอกราช ความร่วมมือและการพัฒนา" เวียดนามได้เดินหน้าเข้าร่วมกิจกรรมความร่วมมือต่างๆด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแข็งขันในกรอบของการประชุมทวิภาคี พหุภาคี และองค์การสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยจนถึงปัจจุบันนี้ เวียดนามได้เป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศสำคัญๆเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนต่างๆเช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิด้านพลเมืองและการเมือง (1966) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (1966) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (1979) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเหยียดเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (1969) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก (1989) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (2006) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีของผู้อื่น อนุสัญญาว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับแรงงานชายและหญิง อนุสัญญาว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ เป็นต้น และล่าสุดนี้ เมื่อวันที่31มีนาคม ณ กรุงฮานอย กระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ประกาศเกี่ยวกับรายงานการตรวจสอบกึ่งวาระการปฏิบัติโดยสมัครใจของเวียดนามตามกลไกการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน รอบที่ ๓ (UPR) ของสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและข้อมูลของเวียดนามที่เป็นผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติวาระปี 2023-2025 รายงานกึ่งวาระดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีเวียดนามเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อเผยแพร่และส่งไปยังสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของประเทศสมาชิก ความโปร่งใส และความจริงจังของเวียดนามที่มีต่อกลไก UPR และในการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศในการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
ส่วนในระหว่างกระบวนการลงสมัครเป็นสมาชิกของสภาสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติวาระ 2023-2025 เวียดนามพร้อมที่จะร่วมมือกับประเทศสมาชิกและฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการธำรงหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ พร้อมส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ โดยเฉพาะสำหรับสตรีและเด็กหญิงในยุคของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล มีส่วนร่วมในความพยายามของสภาสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิในการได้รับการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวการณ์ที่ทั่วโลกกำลังฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งเสริมสิทธิในการมีงานทำที่ดีเพื่อให้บรรลุระเบียบวาระการประชุมปี 2030 เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการผลักดันการให้การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนก็เป็นประเด็นที่เวียดนามให้ความสนใจเมื่อเข้าร่วมและร่วมมือกับประเทศต่างๆในสภาสิทธิมนุษยชน
ทั้งนี้ สามารถยืนยันได้ว่าเวียดนามกำลังพยายามเพื่อกลายเป็นสมาชิกที่เข้มแข็งและมีความรับผิดชอบสูงของสภาสิทธิมนุษยชน ผลักดันการสนทนาและความร่วมมือ เพิ่มประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความสมดุลในการดำเนินงานของสภาสิทธิมนุษยชน เพื่อเสริมสร้างบทบาทของสภาสิทธิมนุษยชนในฐานะเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน โดยเวียดนามให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความร่วมมือกับกลไก UPR ของสภาสิทธิมนุษยชนและถือเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างประเทศ ซึ่งเวียดนามยังให้ความสำคัญต่อการสนทนาและความร่วมมือระหว่างประเทศในกรอบของสหประชาชาติและกับประเทศอื่น ๆ เพื่อมุ่งส่งเสริมการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังในทั่วโลก./.