ในการประชุม ทั้งสองฝ่ายได้พิจารณาระเบียบวาระการประชุมทวิภาคีอย่างครอบคลุม ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุน การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยีดิจิทัล สิทธิมนุษยชน การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาด ตลอดจนปัญหาระดับภูมิภาค นอกจากความสัมพันธ์จีน-รัสเซียและการปะทะในยูเครน ระเบียบวาระการประชุมสุดยอดสหภาพยุโรป-จีนยังมีการพูดคุยเรื่องข้อพิพาททางการค้ากับลิทัวเนียและข้อกล่าวหาของฝ่ายตะวันตกเกี่ยวกับปัญหาซินเจียงและไทเป ประเทศจีน
ความท้าทายไม่น้อย
ในสภาวการณ์ในปัจจุบัน จีนกำลังพยายามหาเสียงพูดเดียวกันกับยุโรปในการแก้ไขความสัมพันธ์กับรัสเซียเพื่อไม่ให้ความแตกต่างของทั้งสองฝ่ายส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพยุโรป จีนมักแสดงความเห็นว่า ความพยายามในการเชื่อมโยงจุดยืนของจีนเกี่ยวกับวิกฤตยูเครนกับอนาคตของความสัมพันธ์จีน-สหภาพยุโรปเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น ปักกิ่งจึงพยายามทำให้สหภาพยุโรปเข้าใจว่า จำเป็นต้องแสวงหาความสนใจระหว่างทั้งสองฝ่ายในเรื่องนี้เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี
ในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ข้อตกลงการลงทุนทวิภาคีระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปที่ลงนามเมื่อปลายปี 2020 กำลังหยุดชะงัก ปัญหาระหว่างสองฝ่ายในประเด็นไทเป ประเทศจีนคืออุปสรรคที่ทั้งสองฝ่ายต้องฝ่าฟันอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับจีนได้ตกต่ำลงอีกในปี 2021 เนื่องจากการตอบโต้กันไปมาเกี่ยวกับปัญหาซินเจียง โดยสหภาพยุโรปเคยเสนอให้จีนยกเลิกการคว่ำบาตรต่อบรรดา ส.สและนักวิชาการของยุโรปโดยทันทีเพื่อยุติการชะงักในกระบวนการให้สัตยาบันข้อตกลงการลงทุนระหว่างสหภาพยุโรปกับจีน นอกจากนี้ ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปคือลิทัวเนียได้ทำให้สหภาพยุโรปต้องยื่นฟ้องจีนต่อองค์การการค้าโลกหรือ WTO โดยยุโรปต้องการให้จีนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการเปิดตลาด กลไกการแข่งขัน ความร่วมมือเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ
นาย JosepBorrell เจ้าหน้าที่อาวุโสที่ดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรป (THX) |
แนวโน้มความร่วมมือและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
ในภาพรวม ถึงแม้จะมีความขัดแย้งใหญ่ๆ แต่ทั้งอียูและจีนก็ยังมีโอกาสมากมายสำหรับการเจรจาและความร่วมมือ ทั้งสองฝ่ายต่างๆให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีในปัจจุบัน โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งยุโรปไม่อยากทำให้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการทูตกับจีนมีความตึงเครียดอีกต่อไป ในขณะที่กำลังต้องเผชิญหน้ากับรัสเซียในทุกด้าน
ส่วนจีนก็ไม่อยากให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ชั้นนำดั่งเช่นสหภาพยุโรป โดยเฉพาะไม่อยากใช้นโยบายที่จะผลักให้ยุโรปหันไปหาสหรัฐ ปักกิ่งให้ความสำคัญต่อการประชุมสุดยอดกับสหภาพยุโรปครั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศจีนแสดงความเห็นว่า ท่ามกลางสถานการณ์โลกปัจจุบัน จีนและสหภาพยุโรปควรปกป้องสันติภาพของโลกและส่งเสริมการพัฒนาร่วมกันของตลาดจีนและยุโรป ทั้งสองฝ่ายควรผลักดันการแลกเปลี่ยนเชิงยุทธศาสตร์และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทำการเจรจาบนพื้นฐานของการให้ความเคารพซึ่งกันและกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน สร้างแนวโน้มในเชิงบวกและความมั่นคงให้แก่สถานการณ์โลกที่กำลังผันผวนในปัจจุบัน
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในทางเป็นจริงแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะมีอุปสรรคในความสัมพันธ์ทางการเมืองและการทูต แต่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับยุโรปยังคงขยายตัว โดยมูลค่าการค้าระหว่างสหภาพยุโรปกับจีนในปี 2021 ได้บรรลุเกือบ 7 แสนล้านยูโร ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2022 สหภาพยุโรปได้แซงหน้าอาเซียนเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนหลังจากสูญเสียตำแหน่งนี้เมื่อปี 2021 มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างจีนกับสหภาพยุโรปได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว บรรลุมูลค่า 137.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายสามารถร่วมมือเพื่อรับมืออุปสรรคของเศรษฐกิจโลกได้
เมื่อเดือนมกราคม 2022 นาย Josep Borrell เจ้าหน้าที่อาวุโสที่ดูแลนโยบายด้านการต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรปได้กล่าวว่า การประชุมสุดยอดครั้งนี้ "เป็นช่วงเวลาสำคัญเพื่อประเมินว่ายุโรปกำลังอยู่จุดไหนในความสัมพันธ์กับจีน" ส่วนเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปและกรรมาธิการการค้าของสหภาพยุโรป Valdis Dombrovskis ได้กล่าวว่า การประชุมสุดยอดกับจีนในวันที่ 1 เมษายนเป็นความพยายามเพื่อคลี่คลายความตึงเครียดที่กำลังเพิ่มขึ้นระหว่างทั้งสองฝ่าย
ทั้งนี้บรรดาผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ตั้งความหวังต่อผลการประชุมสุดยอดครั้งนี้มากนัก แต่ถึงกระนั้น การที่ทั้งสองฝ่ายทำการเจรจาระดับสูงก็แสดงให้เห็นว่า ความต้องการร่วมมือเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งกำลังเป็นทางเลือกหลักของทั้งสองฝ่าย.