นี่คือการประชุมSOMครั้งที่ ๔ นับตั้งแต่ต้นปีเอเปก ๒๐๑๗ และเป็นการประชุมใหญ่อันดับที่ ๓ ของปีเอเปก โดยเวียดนามเป็นประเทศเจ้าภาพ มีผู้แทนทั้งภายในและต่างประเทศเกือบ ๒,๑๐๐ คนจาก ๒๑ เศรษฐกิจสมาชิกเข้าร่วม ในกรอบของSOM ๓ จะมีการจัดสัปดาห์ความมั่นคงด้านอาหาร โดยไฮไลท์คือการสนทนานโยบายระดับสูงเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารและการเกษตรอย่างยั่งยืน และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ความมั่นคงด้านอาหาร การเกษตรอย่างยั่งยืนและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: หัวข้อที่ร้อนระอุของโลก
เอเชียแปซิฟิกคือภูมิภาคที่มีพื้นที่อันกว้างใหญ่ มีประชากร ๓ พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๔๐ ของประชากรโลก ในหลายปีมานี้ ด้วยความคืบหน้าด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ ประเทศต่างๆ รวมทั้งย่านเอเชียแปซิฟิกได้ก้าวรุดหน้าไปและสามารถผลิตอาหารอย่างเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ แต่เนื่องจากเงื่อนไขการพัฒนาเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ตลอดจนสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ยังคงเกิดสถานการณ์ความยากจนและปัญหาเด็กขาดโภชนาการ นอกจากนั้น ย่านเอเชียแปซิฟิกยังเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่รุนแรงมากที่สุดในโลก ซึ่งอุปสรรคเหล่านี้ได้ทำให้ปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร การผลิตการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกลายเป็นปัญหาที่ร้อนระอุ ดังนั้น เวียดนามได้เลือกหัวข้อความมั่นคงด้านอาหารและการเกษตรอย่างยั่งยืน และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อหารือในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งเป็นหัวข้อที่ได้รับความเห็นพ้องในระดับสูงจากเศรษฐกิจสมาชิกเอเปก นาย เหงียนซวนเกื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้แสดงความเห็นว่า “ในฟอรั่มนี้ พวกเราหวังว่า จะอนุมัติเนื้อหา ๓ ประเด็น ๑คืออนุมัติกรอบแผนการเกี่ยวกับโครงการพัฒนาความมั่นคงด้านอาหาร ควบคู่กับการเกษตรที่พัฒนาอย่างยั่งยืนและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ๒คือกรอบแผนการเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทควบคู่กับตัวเมืองอย่างกลมกลืน ๓คือกำหนดกรอบแผนการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนในอนาคตในเอเชียแปซิฟิก เพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจ start up ในด้านการเกษตรและดึงดูดให้ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ บุคคลและองค์กรเข้าร่วม และมีความคิดสร้างสรรค์ในด้านการเกษตร”
นาย เหงียนซวนเกื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท (nongnghiep.vn)
|
การผสมผสานเข้ากับเอเปกนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ด้านเศรษฐกิจ
ภายหลังเกือบ ๒๐ ปีที่เข้าร่วมเอเปกและเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปก ๒ ครั้ง เวียดนามได้มีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมและมีผลงานที่ยิ่งใหญ่จากฟอรั่มนี้ โดยในด้านการเกษตร ผลงานที่ชัดเจนที่สุดคือจากการเป็นประเทศที่ขาดแคลนอาหาร เวียดนามได้กลายเป็นประเทศที่มีหน่วยงานการเกษตรที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการด้านโภชนาการของประชากรกว่า ๙๒ ล้านคนเท่านั้น หากยังเป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ ๒ ของโลกอีกด้วย ซึ่งเป็นผลงานของกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก รวมทั้งการเข้าร่วมเอเปก
ในฐานะเป็นประเทศเกษตรกรรมและกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เวียดนามได้กำหนดหนึ่งในเสาหลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนคือความมั่นคงด้านอาหาร ดังนั้นเวียดนามได้ตั้งหลายเป้าหมายร่วมมือในฟอรั่มเอเปก รวมทั้งสัปดาห์เกี่ยวกับการเกษตรและความมั่นคงด้านอาหาร นาย เหงียนซวนเกื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้เผยว่า “หัวข้อการเกษตรที่ได้รับการเลือกในสัปดาห์เกี่ยวกับการเกษตรที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ ๑๘ ถึงวันที่ ๒๕ สิงหาคมได้สื่อถึงเป้าหมาย กิจกรรมและการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเกษตร โดยเฉพาะปัญหาความมั่นคงด้านอาหารควบคู่กับการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาชนบทอย่างกลมกลืนกับตัวเมืองในภาพรวมการพัฒนาตัวเมืองเช่นไรในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ” จำนวนตัวแทนของเศรษฐกิจสมาชิกที่เข้าร่วมฟอรั่มปีนี้เพิ่มขึ้นเกือบ ๑๐ เท่าเมื่อเทียบกับเอเปก ๒๐๐๖ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจเป็นอย่างมากของเศรษฐกิจสมาชิกต่อเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ สำหรับเวียดนาม ภายหลัง ๓๐ ปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงใหม่ ประเทศได้บรรลุผลงานที่สำคัญในหลายด้าน โดยเฉพาะความมั่นคงด้านอาหาร นี่เป็นครั้งที่สองที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปก ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ทั้งในระดับภูมิภาคและโลกมีการผันผวนอย่างซับซ้อน บทบาทที่เข้มแข็งและมีความรับผิดชอบของเศรษฐกิจสมาชิกเวียดนามได้รับการส่งเสริมอีกครั้ง ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นโอกาสเพื่อให้เวียดนามแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และผลงานที่ได้บรรลุในด้านความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติเท่านั้น หากยังเป็นโอกาสเพื่อให้เวียดนามผลักดันการหารือ ส่งเสริมการลงทุนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเศรษฐกิจสมาชิกเอเปกอีกด้วย ซึ่งช่วยให้เวียดนามดึงดูดแหล่งพลังในการบริหาร การเงินให้แก่การเกษตร ผลักดันความร่วมมือด้านการเกษตรในกลุ่ม เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ และร่วมมือกันเพื่ออนาคตของเอเปก.