เบื้องหลังเรื่องยูเครนปฏิเสธลงนามข้อตกลงร่วมมือกับอียู

Hong Van/VOV5
Chia sẻ
(VOVworld)- 3สัปดาห์ได้ผ่านไปหลังจากที่ยูเครนตัดสินใจเลิกแผนการลงนามข้อตกลงร่วมมือกับสหภาพยุโรปหรืออียูเพื่อเน้นความสนใจพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับรัสเซีย ความตึงเครียดในยูเครนยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายมิหนำซ้ำยังมีความผันผวนที่ซับซ้อนมากขึ้น 

(VOVworld)-3สัปดาห์ได้ผ่านไปหลังจากที่ยูเครนตัดสินใจเลิกแผนการลงนามข้อตกลงร่วมมือกับสหภาพยุโรปหรืออียูเพื่อเน้นความสนใจพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับรัสเซีย ความตึงเครียดในยูเครนยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายมิหนำซ้ำยังมีความผันผวนที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยฝ่ายที่สนับสนุนความร่วมมือกับอียูได้พยายามเพิ่มแรงกดดันให้รัฐบาลอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเมื่อประธานาธิบดียูเครน วิคเตอร์ ยานูโควิช เริ่มการเยือนรัสเซียในวันที่17ธันวาคมนี้เพื่อผลักดันข้อตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ
เบื้องหลังเรื่องยูเครนปฏิเสธลงนามข้อตกลงร่วมมือกับอียู - ảnh 1
ผู้นำรัสเซียและยูเครน

ถึงแม้ยูเครนถูกมองว่ามีเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยศักยภาพแต่ประเทศนี้ก็กำลังต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการทั้งเรื่องเงินเฟ้อและอัตราคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้น ส่วนอัตราการขยายตัวลดลง ตามเนื้อหาในข้อตกลงทางการค้ากับอียู จะมีการยกเลิกกำแพงภาษีศุลกากรร้อยละ98ต่อสินค้าส่งออกของยูเครนซึ่งจะช่วยให้ยูเครนได้เงินเพิ่มอีกประมาณ500ล้านยูโร ส่วนฝ่ายยูเครนต้องลดการขาดดุลงบประมาณและเพิ่มราคาก๊าช ในขณะเดียวกันรัสเซียได้สัญญาจะลงทุนเงินหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐในยูเครน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการจับมือกับอียูจะมีผลประโยชน์ในระยะยาวส่วนกับรัสเซียนั้นสามารถเห็นผลในทันที ซึ่งถือเป็นเหตุผลที่ทำให้ประธานาธิบดียูเครนปฏิเสธข้อตกลงกับอียูที่ชาวยูเครนร้อยละ50ให้การสนับสนุน

ความตึงเครียดทางการเมืองยังไม่มีจุดสิ้นสุด

ดูเหมือนว่า ประธานาธิบดียูเครนจะคาดไม่ถึงต่อผลร้ายแรงที่ตามมาหลังการตัดสินไม่จับมือกับอียู โดยสถานการณ์ในประเทศนับวันยิ่งยากที่จะควบคุมให้อยู่ในความสงบ ใน3สัปดาห์ที่ผ่านมายูเครนได้ตกอยู่ในวิกฤตการเมืองและความสามัคคีชนในชาติเริ่มมีความแตกแยก การชุมนุมประท้วงและแสดงความไม่พอใจกับการตัดสินใจดังกล่าวนับวันบานปลายในขอบเขตที่กว้างใหญ่ โดยผู้ชุมนุมได้เรียกร้องให้ดำเนินคดีผู้ที่สั่งปราบปรามการชุมนุม ปล่อยตัวนักโทษการเมืองรวมทั้งอดีตนายกฯทีโมเซนโกและยุบรัฐบาล ผู้ชุมนุมยังปิดล้อมสำนักของหน่วยงานงานความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศและคณะกรรมการเลือกตั้งส่วนกลางและฝ่ายค้านยังเผยว่ากำลังเตรียมให้แก่การเดินขบวนครั้งใหญ่ต่อจากการระดมมวลชนเกือบ3แสนคนเดินขบวนในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

เบื้องหลังเรื่องยูเครนปฏิเสธลงนามข้อตกลงร่วมมือกับอียู - ảnh 2
กลุ่มผู้สนับสนุนอียู (getty images)
ในขณะเดียวกันผู้ที่สนับสนุนประธานาธิบดีและความสัมพันธ์ร่วมมือกับรัสเซียก็จัดการชุมนุมบริเวณด้านนอกอาคารรัฐสภาเช่นกัน
เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ ประธานาธิบดียานูโควิชได้ระงับหน้าที่ของผู้ว่าการกรุงเคียฟและบุคคลสำคัญอันดับสองที่ดูแลปัญหาความมั่นคงและกลาโหมหลังเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมพร้อมทั้งเตือนว่าจะปลดออกจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่ร่างแผนความร่วมมือกับสหภาพยุโรปและยืนยันว่าข้อตกลงที่ลงนามกับรัสเซียจะไม่รวมถึงเรื่องเกี่ยวกับสหภาพศุลกากร ในขณะเดียวกันนายกฯมีโคลา อาซารอฟก็ได้ปฏิเสธเรื่องยูเครนกำลังเอียงไปตามรัสเซียและประเทศต่างๆในกลุ่มโซเวียดเดิม ล่าสุดนี้เมื่อวันที่16ธันวาคม บรรดาสส.พรรครีเจินส์ของประธานาธิบดียานูโควิชได้เรียกร้องให้นายกฯปรับคณะรัฐบาลร้อยละ90ทันทีแต่ไม่รวมถึงการที่นายกฯต้องลาออก

สัญญาณของการเผชิญหน้าระหว่างตะวันออก-ตะวันตก

การตัดสินใจไม่ลงนามข้อตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ28ชาติในอียูไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายเท่านั้นหากยังทำให้สหรัฐซึ่งเป็นประเทศอยู่ฝั่งตรงข้ามของมหาสมุทรยื่นมือเข้าโดยใช้เหตุผลว่า ทางการกรุงเคียฟได้ปราบปรามผู้ชุมนุม ซึ่งรองประธานาธิบดีสหรัฐโจไบเดนได้โทรศัพท์หารือกับประธานาธิบดียูเครนเพื่อแสดงความกังวลในขณะที่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐหลายคนเช่นส.ว.คือนายจอห์นแมคเคนและนายเมอร์ฟีได้เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงที่กรุงเคียฟพร้อมทั้งกล่าวว่าอนาคตของยูเครนต้องขึ้นอยู่กับกลุ่มยุโรปที่เอกภาพ  ส่วนตามความเห็นของผู้สังเกตุการณ์ การแทรกแซงของสหรัฐไม่เพียงแต่เป็นการแสดงท่าทีตามปกติเท่านั้นหากเป็นการเอาตามแบบของการเผชิญหน้าระหว่างตะวันออก-ตะวันตก

ประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่ได้สะท้อนให้เห็นว่า นับตั้งแต่สงครามเย็นยุติ สหรัฐกับพันธมิตรในยุโรปได้พยายามดึงประเทศที่เคยเป็นสมาชิกในสหภาพโซเวียดเดิมให้ห่างจากรัสเซียและนโยบายนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างรอบคอบจนเห็นผลที่ชัดเจนที่สุดคือมีหลายประเทศได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้และอียูแต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่เลือกอยู่ข้างรัสเซียต่อไปเพราะเหตุผลทางการเมืองและเศรษฐกิจต่างๆรวมทั้งยูเครนด้วย
อาจกล่าวได้ว่า นับตั้งแต่หลังการปฏิวัติสีส้มเมื่อปี2004 ยูเครนกำลังต้องฝ่าฟันวิกฤตการเมืองครั้งร้ายแรงที่สุดและทำอย่างไรเพื่อที่จะสามารถปรับเปลี่ยนสถานการณ์และมีมาตรการเพื่อสร้างความสมดุลด้านผลประโยชน์ระหว่างฝ่ายต่างๆนั้นถือเป็นเรื่องยากสำหรับประธานาธิบดียานูโควิช./.

Komentar