ปี 2021 เป็นปีที่มีความหมายสำคัญและเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีให้แก่ระยะปี 2021 -2025 ดังนั้น เวียดนามต้องให้ความสนใจต่อการระดมแหล่งพลังต่างๆเพื่อกระตุ้นการพัฒนา เสร็จสิ้นการปฏิบัติหน้าที่และแผนการต่างๆของปีที่สำคัญนี้ การผลักดันการลงทุนสาธารณะยังคงเป็นหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะวิกฤตโควิด -19 ยังคงมีความผันผวนอย่างซับซ้อน นาย หวอชี้แถ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้ชื่นชมมาตรการเร่งด่วนในการบริหารของรัฐบาลในปี 2020 และเห็นว่า รัฐบาลต้องผลักดันการปฏิบัติมาตรการเร่งด่วนมากขึ้น โดยเฉพาะ การให้ความสนใจต่อผลกระทบจากภายนอก เช่น ความเสี่ยงทางการเงิน ภัยธรรมชาติและโรคระบาด เป็นต้น
“หนึ่งคือ ต้องมีมาตรการรับมืออย่างรวดเร็ว เด็ดขาดและพร้อมเพรียง โดยมีการเข้าร่วมของทุกภาคส่วน ส่งเสริมผลงานที่ได้บรรลุในการป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ต้องมีนโยบายใหม่เพื่อช่วยเหลือสถานประกอบการ ประชาชนและแรงงานในการฟันฝ่าอุปสรรค ผสานกับการปรับปรุงโครงสร้างและการเกาะติดแนวโน้มการพัฒนาของโลก เช่น การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล รูปแบบการใช้ชีวิต การบริโภคและการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”
ดอกเตอร์ เหงวียนดิ่งกุง อดีตหัวหน้าสถาบันวิจัยการบริหารเศรษฐกิจส่วนกลางได้ย้ำว่า ต้องมีก้าวกระโดดในด้านแนวคิดการบริหารและกรอบการบริหาร” กำหนดเป้าหมายการฟื้นฟูเศรษฐกิจผสานกับการปฏิบัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง เป็นรูปธรรมและจริงจังมากขึ้นเพื่อฟื้นฟูการขยายตัว ดอกเตอร์ เหงวียนดิ่งกุงได้ชี้ชัดว่า
“เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เราต้องปรับนโยบายด้านการเงิน โดยเฉพาะ นโยบายด้านงบประมาณต้องมีการเปลี่ยนแปลง การขาดดุลงบประมาณจะสูงกว่าและหนี้สาธารณะจะมีการเปลี่ยนแปลง เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้การใช้จ่ายของภาครัฐเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ เงินลงทุน พวกเราต้องเน้นปฏิบัติโครงการลงทุนสาธารณะที่สำคัญ โดยเฉพาะ ในนครโฮจิมินห์ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และนครไฮฟอง มุ่งเน้นจัดตั้งศูนย์บริการโลจิสติกสส์ที่มีทักษะความสามารถในการแข่งขันระดับภูมิภาค ผมเชื่อมั่นว่า นี่เป็นเงื่อนไขเพื่อให้พวกเราใช้ประโยชน์จากแหล่งเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ”
การแปรรูปกุ้งเพื่อการส่งออก (Photo:nhandan.com.vn) |
ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ เลืองวันโทยก็เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว โดยเห็นว่า การลงทุนสาธารณะเป็นจุดเด่นในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ควบคู่กับการผลักดันการเบิกจ่ายเงินลงทุนสาธารณะในโครงการต่างๆ ดอกเตอร์ เลืองวันโทยได้ย้ำว่า การบริหารของรัฐบาลต้องยอมให้เกิดการขาดดุลย์งบประมาณเพื่อผลักดันการขยายตัวในระยะยาวผ่านวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจพิเศษในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ที่จะสร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติ โดยเฉพาะในเขตที่ห่างไกลความเจริญและเขตเขาเพื่อผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานควบคู่กับการรักษาสวัสดิการสังคม ดอกเตอร์ เลืองวันโทยได้วิเคราะห์ว่า
“วงเงินลงทุนนี้คือวงเงินที่พวกเราไม่ให้ความสนใจต่อเรื่องการคืนทุนแต่จะเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ-สังคมเป็นอย่างมากในระยะยาวนาน เช่น เวียดนามกำลังต้องเผชิญกับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและพวกเราต้องสงวนการลงทุนเพื่อแก้ไขและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาและนี่เป็นการลงทุนก้อนใหญ่ที่ไม่เน้นเรื่องที่จะได้กำไรหรือคืนทุน”
ส่วนดอกเตรอ์ เหงวียนมิงฟอง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้เห็นว่า ในระยะสั้นและระยะยาว เวียดนามต้องยืนหยัดการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพของแหล่งบุคลากรและในการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล
“ในเวลาที่จะถึง เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานการณ์ใหม่ การปรับปรุงโครงสร้างและการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม โดยเฉพาะ สถานประกอบการต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการค้าอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาการใช้ระบบดิจิทัลในสถานประกอบการ เน้นพัฒนารูปแบบการประกอบธุรกิจบนพื้นฐานของการเชื่อมโยงต่างๆ”
การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดการนำเข้าและส่งออกที่เป็นจุดแข็ง โดยเฉพาะ ในตลาดที่เวียดนามได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีรูปแบบใหม่ต้องได้รับการปฏิบัติเพื่อใช้โอกาสจากการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก ควบคู่กันนั้น เวียดนามต้องให้ความสำคัญต่อตลาดภายในประเทศเพื่อค้ำประกันการผลิต การจัดสรรและการบริโภค ซึ่งสิ่งนี้ได้รับการยืนยันผ่านการที่เวียดนามสามารถรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 และค้ำประกันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในยุคของการแข่งขันในทั่วโลก.