เชื่อมโยงผลประโยชน์อาเซียน-สหรัฐ

Ánh Huyền/VOV5
Chia sẻ
(VOVWorld) – การขยายความสัมพันธ์ต่างประเทศและส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างภูมิภาคที่กำลังก่อตัวเป็นหนึ่งในความสนใจเป็นอันดับต้นๆของบรรดาผู้นำอาเซียนในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่๒๒ ที่กำลังมีขึ้น ณ ประเทศบรูไนโดยในจำนวนหุ้นส่วนที่สำคัญต่างๆ อาเซียนนับวันยิ่งถือสหรัฐเป็นหุ้นส่วนที่มีบทบาทสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

(VOVWorld) – การขยายความสัมพันธ์ต่างประเทศและส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างภูมิภาคที่กำลังก่อตัวเป็นหนึ่งในความสนใจเป็นอันดับต้นๆของบรรดาผู้นำอาเซียนในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่๒๒ ที่กำลังมีขึ้น ณ ประเทศบรูไนโดยในจำนวนหุ้นส่วนที่สำคัญต่างๆ อาเซียนนับวันยิ่งถือสหรัฐเป็นหุ้นส่วนที่มีบทบาทสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

เชื่อมโยงผลประโยชน์อาเซียน-สหรัฐ - ảnh 1
เชื่อมโยงผลประโยชน์อาเซียนสหรัฐ(Photo: www.baomoi.com)

อาเซียนตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียที่กำลังพัฒนาอย่างคล่องตัว มีสมาชิก๑๐ประเทศ รวมประชากรกว่า๖ร้อยล้านคนและมีผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือGDPประมาณ๒ล้าน๑แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ภายหลัง๔๖ปีของการก่อตั้ง อาเซียนได้พัฒนากลายเป็นหนึ่งในองค์การภูมิภาคที่มีความสำคัญที่สุดของโลก ในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนได้เข้าร่วมเครือข่ายผลิตระหว่างประเทศอย่างแข็งขัน ในด้านยุทธศาสตร์ อาเซียนมีบทบาทที่สำคัญในฐานะเป็นฝ่ายกลางของทวีปเอเชียที่กว้างใหญ่  ภูมิภาคนี้ตั้งอยู่บนเส้นทางเดินเรือที่สำคัญและอยู่ระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของเอเชียคือจีน ญี่ปุ่นและอินเดีย นอกจากนี้ เขตทะเลยังมีแหล่งเชื้อเพลิงอีกจำนวนมากก็ทำให้ภูมิภาคนี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ยิ่งขึ้น  ส่วนทางฝ่ายสหรัฐซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GPDอยู่ที่กว่า๑๕ล้านล้านเหรียญสหรัฐและเป็นประเทศที่มีขอบเขตการค้าใหญ่ที่สุดในโลกคือ๓ล้าน๗แสนล้านเหรียญสหรัฐ        ในทางเป็นจริง  อาเซียนและสหรัฐได้มีความสัมพันธ์ทวิภาคีอย่างลึกซึ้งโดย ในด้านการค้าและการลงทุน สหรัฐมีเงินลงทุนในอาเซียน๑แสน๕หมื่น๓พันล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่า๓เท่าเมื่อเทียบกับการลงทุนในจีนซึ่งที่มี๔หมื่น๕พันล้านเหรียญสหรัฐ และมากกว่า๑๐เท่าเมื่อเทียบกับการลงทุนในอินเดียซึ่งอยู่ที่๑หมื่น๖พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งไม่รวมการลงทุนในด้านปีโตรเลี่ยมซึ่งอาจจะทำให้จำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น๒เท่า  สหรัฐเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียนและอาเซียนก็เป็นตลาดใหญ่อันดับ๔ของสหรัฐ จากการเป็น๑ใน๓ประเทศสมาชิกฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย แปซิฟิก บรรดาประเทศอาเซียนกำลังผลักดันการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือTPP บนพื้นฐานของร่างข้อตกลงการค้าและการลงทุนอาเซียน สหรัฐหรือTIFAและทั้งสองฝ่ายได้พยายามเจรจาเพื่อมุ่งสู่การลงนามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีหรือFTAในอนาคต เกี่ยวกับผลประโยชน์ด้านความมั่นคงและยุทธศาสตร์ ในขณะนี้ ไทยและฟิลิปปินส์เป็นพันธมิตรทางสนธิสัญญาของสหรัฐ สิงคโปร์ได้กลายเป็นหุ้นส่วนความมั่นคงและหุ้นส่วนข้อตกลงการค้าเสรี ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนามก็มีประโยชน์ร่วมที่สำคัญต่อสหรัฐและมีความเป็นไปได้สูงที่จะกลายเป็นหุ้นส่วนความมั่นคงแะยุทธศาสตร์ที่มีความใกล้ชิดยิ่งขึ้นในปีต่อๆไป จนถึงปัจจุบัน สหรัฐได้เข้าร่วมระเบียบการร่วมมือต่างๆกับอาเซียน โดยเฉพาะ ฟอรั่มความมั่นคงภูมิภาคARF    สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือเอเชียตะวันออกเฉียใต้หรือTAC  การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกหรือEASและการเป็นสมาชิกการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมขยายวงค์หรือADMM+   นอกจากนี้ สหรัฐยังมีความสัมพันธ์ทวิภาคีและพหุภาคีกับประเทศอาเซียนทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนด้านบุคลากร การสนทนาเกี่ยวกับความเชื่อ การบริหารความเสี่ยง ภัยพิบัติ สาธารณสุข โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและการก่อการร้าย สหรัฐและอาเซียนยังแบ่งปันผลประโยชน์ในการเดินเรืออย่างเสรีในทะเลตะวันออกตามข้อกำหนดของกฏหมายสากล และมุ่งแก้ไขการพิพาทอย่างสันติ          
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า อาเซียนและสหรัฐนับวันยิ่งแสดงคำมั่นที่มั่นคงของตนในการกำหนดยุทธศาสตร์ของความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในระยะยาวโดย  การเชื่อมโยงผลประโยชน์กับหุ้นส่วนใหญ่นอกภูมิภาค ดังเช่นสหรัฐจะเอื้อให้ อาเซียนแปรแนวทาง นโยบายให้เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งผลักดันการเชื่อมโยง สร้างสรรค์ประชาคม ขยายความสัมพันธ์ต่างประเทศ เพื่อรักษาบทบาทการเป็นแกนนำในกรอบของความร่วมมือภูมิภาคซึ่งสิ่งนี้ยิ่งมีความหมายในขณะที่อาเซียนกำลังปฏิบัติเป้าหมายพัฒนาเป็นประชาคมที่เจริญรุ่งเรืองในปี๒๐๑๕./.

Komentar