อาเซียนยืนยันบทบาทการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอย่างเข้มแข็ง

Anh Huyen - VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – กิจกรรมต่างๆเพื่อเตรียมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 48 หรือ AMM 48 และการประชุมที่เกี่ยวข้องที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 เดือนนี้กำลังดำเนินไปอย่างคึกคัก ณ Putra World Trade Centre ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์แห่งปีและสำคัญในกรอบกิจกรรมต่างๆของอาเซียนในปี 2015  ก่อนการจัดตั้งประชาคมอาเซียนเป็นเวลา 4 เดือน การจัดการประชุมต่างๆดังกล่าวมีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่เพียงแต่สรุปปัญหาที่สำคัญที่สุดของอาเซียนในปี 2015 เท่านั้น หากยังเป็นการยืนยันบทบาทการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคของอาเซียนอย่างเข้มแข็งอีกด้วย

(VOVworld) – กิจกรรมต่างๆเพื่อเตรียมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 48 หรือ AMM 48 และการประชุมที่เกี่ยวข้องที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 เดือนนี้กำลังดำเนินไปอย่างคึกคัก ณ Putra World Trade Centre ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์แห่งปีและสำคัญในกรอบกิจกรรมต่างๆของอาเซียนในปี 2015  ก่อนการจัดตั้งประชาคมอาเซียนเป็นเวลา 4 เดือน การจัดการประชุมต่างๆดังกล่าวมีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่เพียงแต่สรุปปัญหาที่สำคัญที่สุดของอาเซียนในปี 2015 เท่านั้น หากยังเป็นการยืนยันบทบาทการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคของอาเซียนอย่างเข้มแข็งอีกด้วยในสภาวการณ์ที่ภูมิภาคต้องเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อน

อาเซียนยืนยันบทบาทการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอย่างเข้มแข็ง - ảnh 1
การประชุมเตรียมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม
ตั้งแต่ที่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนได้รับการก่อตั้งเมื่อ 48 ปีก่อน บรรดาประเทศผู้ก่อตั้งต่างมุ่งเป้าไปยังการเชื่อมโยงให้ทุกประเทศในภูมิภาคอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกันอย่างสันติ มีเสถียรภาพและพัฒนาเจริญรุ่งเรือง ดังนั้นความคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนจึงผูกพันกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาและการพัฒนาของอาเซียนในตลอด 48 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเวลาเกือบครึ่งศตวรรษที่ต้องเผชิญกับความซับซ้อนต่างๆแต่อาเซียนยังคงพิสูจน์ให้เห็นถึงพลังแห่งการพัฒนาอย่างเข้มแข็งของตน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนร่วมรักษาบรรยากาศที่สันติภาพและเสถียรภาพ พร้อมทั้งผลักดันความร่วมมือและการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก
ปัจจัยสำคัญในการรักษาความมั่นคงของภูมิภาค
เมื่อถึงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมของทุกๆปี หุ้นส่วนชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกและโลกต่างมาเข้าร่วมฟอรั่มความร่วมมือและการสนทนาที่สำคัญต่างๆของอาเซียน เช่น ฟอรั่มภูมิภาคอาเซียนหรือเออาร์เอฟ ระเบียบการสนทนาสุดยอดเอเชียตะวันออกหรืออีเอเอส อาเซียน +1 อาเซียน +3 และอาเซียน +6 ซึ่งโดดเด่นที่สุดคือฟอรั่มภูมิภาคอาเซียนหรือเออาร์เอฟ ถึงขณะนี้ หลังการก่อตั้งมาเป็นเวลาเกือบ 22 ปี เออาร์เอฟได้กลายเป็นฟอรั่มการเมืองและความมั่นคงที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคโดยมี 18 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนเข้าร่วม ซึ่งมีส่วนร่วมสำคัญต่อการสร้างสรรค์บรรยากาศความมั่นคงให้แก่ภูมิภาค
อาเซียนยืนยันบทบาทการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอย่างเข้มแข็ง - ảnh 2
บรรดานักการเมืองได้ประเมินว่า เออาร์เอฟประสบความสำเร็จเนื่องจากได้เอื้อประโยชน์ด้านความมั่นคงให้แก่แต่ละประเทศสมาชิกและทั้งภูมิภาค พร้อมทั้งสร้างบรรยากาศการสนทนาอย่างสันติในปัญหาความมั่นคงทั่วไป นาย Sjafrie Sjamsoeddin รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียเผยว่า “เออาร์เอฟเป็น 1 ในฟอรั่มที่สำคัญที่สุดของภูมิภาค ซึ่งไม่เพียงแต่หารือถึงปัญหาที่ต้องแก้ไขในด้านการเมืองและความมั่นคงเท่านั้น หากยังเป็นเวทีให้ผู้นำอาเซียนและผู้นำประเทศหุ้นส่วนแสวงหาโอกาสความร่วมมือ ขยายการสร้างสรรค์ความไว้วางใจกันและร่วมกันแก้ไขความท้าทายของภูมิภาค”
กลไกและฟอรั่มต่างๆของอาเซียนกำลังพัฒนาและนับวันยิ่งมีบทบาทสำคัญต่อองค์ประกอบความมั่นคงของภูมิภาค มีส่วนร่วมรักษาบรรยากาศสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนา ดังนั้น ในหลายปีมานี้ บรรดาประเทศหุ้นส่วนต่างให้ความสนใจถึงอาเซียนโดยสนับสนุนจุดยืนของอาเซียนอยู่เสมอ ซึ่งไม่เพียงแต่สนับสนุนเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมเท่านั้น หากยังสนับสนุนการแก้ไขความท้าทายด้านความมั่นคงในทะเลตะวันออกอีกด้วย นายเลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียนกล่าวว่า “ทุกประเทศหุ้นส่วนของอาเซียนต่างสนับสนุนจุดยืนของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออกบนพื้นฐานของหลักการ 6 ข้อของอาเซียน รวมไปถึงการสนับสนุนการใช้พลังภายในของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออกกับจีนบนพื้นฐานการรักษาความมั่นคง เสถียรภาพในภูมิภาค รักษาความปลอดภัยในการเดินเรือและความมั่นคงในทะเล ปัจจุบันนี้ มี 74 ประเทศนอกกลุ่มได้ส่งเอกอัครราชทูตไปประจำ ณ อาเซียน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความประสงค์และความสนใจของประเทศเหล่านี้ในการขยายความร่วมมือกับอาเซียน"
อาเซียนยืนยันบทบาทการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอย่างเข้มแข็ง - ảnh 3
นายเลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียน
ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนที่จริงจังและมีประสิทธิภาพ
ย้อนมองกลับไปเมื่อ 1 ปีก่อนที่การประชุมการทูตอาเซียนครั้งที่ 47 ได้จัดขึ้นในประเทศพม่า ความร่วมมือภายในกลุ่มและความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาได้มีการพัฒนาอย่างจริงจัง ส่วนความสัมพันธ์กับจีน ทั้งสองฝ่ายได้ขยายความสัมพันธ์ไปยังด้านใหม่ๆและเสริมสร้างให้มีความลึกซึ้งยิ่งขึ้นผ่านการจัดทำกลไกใหม่ๆ สำหรับญี่ปุ่น นอกจากการผลักดันการปฏิบัติข้อตกลงและคำมั่นที่ได้ลงนามแล้ว ญี่ปุ่นยังขยายความร่วมมือในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมในการรับมือภัยธรรมชาติ รวมทั้งการทูต สาธารณสุขในทั่วโลก การขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการบริหารตัวเมือง ส่วนกับประเทศอินเดีย ทั้งสองฝ่ายได้พยายามผลักดันการปฏิบัติโครงการเชื่อมโยงอินเดีย – อาเซียนทั้งในทางบก ทางอากาศ ทางทะเลและเทคโนโลยีดิจิตอล สำหรับความสัมพันธ์กับประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ทั้งสองฝ่ายได้ปฏิบัติเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการค้าต่างตอบแทนขึ้นเป็น 1 แสน 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปลายปีนี้ ส่วนในความสัมพันธ์กับประเทศสหรัฐ ทั้งสองฝ่ายได้ผลักดันความสัมพันธ์คู่สนทนาขึ้นเป็นระดับยุทธศาสตร์ โดยสหรัฐยืนยันอยู่เสมอว่า ถืออาเซียนเป็นศูนย์กลางขององค์ประกอบภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกและเป็นศูนย์กลางของยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความสมดุลที่สหรัฐกำลังมุ่งสู่ นายคาร์เตอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ยืนยันถึงความร่วมมือสหรัฐ – อาเซียน โดยเฉพาะในด้านกลาโหมว่า  “สามารถยืนยันได้ว่า ความสัมพันธ์มิตรภาพระหว่างบรรดาประเทศอาเซียนกับสหรัฐคือโอกาสความร่วมมือที่นับวันเพิ่มมากขึ้นเพื่อแก้ไขความท้าทายด้านความมั่นคงใหม่ๆอย่างยาวนานในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ความร่วมมือด้านกลาโหมอาเซียน – สหรัฐเป็นนิมิตหมายสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่นับวันใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างสหรัฐกับบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของอาเซียนซึ่งสหรัฐให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก”
การประชุม AMM 48 และการประชุมที่เกี่ยวข้องต่างๆคือกิจกรรมสุดท้ายก่อนที่อาเซียนกลายเป็นประชาคมในปลายปีนี้ ซึ่งจะสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและความร่วมมือภายในกลุ่มต่อไป รวมทั้งพัฒนาบทบาทการเป็นศูนย์กลางในการรักษาบรรยากาศสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงและความร่วมมือในภูมิภาคและโลก.

Komentar