การจับมือครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างท่าน ฟานวันขายกับนาย จอร์จ ดับเบิลยู อดีตประธานาธิบดีสหรัฐเป็นนิมิตรหมายของการพัฒนาใหม่ความสัมพันธ์ทวิภาคีหลังการปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติเป็นเวลา 10 ปี (Photo: nhadautu.vn) |
ในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระยะปี 1997-2006 ท่าน ฟานวันขาย ได้สร้างนิมิตรหมายในการผลักดันการปฏิรูปในด้านต่างๆอย่างเข้มแข็ง ซึ่งมีส่วนร่วมส่งเสริมการขยายตัว สร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค นอกจากนี้ จากการปฏิบัติหน้าที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการต่างประเทศ ท่าน ฟานวันขายได้สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นมรดกต่างๆให้แก่คนรุ่นหลัง
ผู้ริเริ่มการปฏิรูปเพื่อผลักดันการขยายตัวและสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค
ตอนที่ท่าน ฟานวันขาย ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 1997 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังต้องประสบวิกฤตทางการเงินที่ส่งผลกระทบในทางลบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจของสาธารณรัฐเกาหลีและบางประเทศเอเชีย ต่อสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลเวียดนามนำโดยนายกรัฐมนตรีฟานวันขายได้มีมาตรการต่างๆทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อไม่ให้วิกฤตบานปลายมากขึ้น และช่วยรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ซึ่งถือเป็นระดับที่สามารถยอมรับได้ในสภาวการณ์ดังกล่าว
หลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หนึ่งในประเด็นที่ท่าน ฟานวันขาย ได้ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆคือสถานประกอบการ นักธุรกิจและบรรยากาศการประกอบธุรกิจ โดยได้มีการจัดการสนทนาระหว่างท่าน ฟานวันขายกับสถานประกอบการหลายครั้งในช่วงที่ท่าน ฟานวันขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อรับฟังและแก้ไขอุปสรรคและปัญหาต่างๆของสถานประกอบการ ท่าน ฟานวันขาย ถือการสร้างสรรค์ระบบกฎหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจตามกลไกตลาดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยมีการบังคับใช้กฎหมายสถานประกอบการปี 1999 ทำการจัดตั้งตลาดตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2000 และ ประกาศกฎหมายสถานประกอบการฉบับแก้ไขเมื่อปี 2005 ได้แสดงให้เห็นถึงทัศนะที่เสมอต้นเสมอปลายและวิสัยทัศน์ขอนายกรัฐมนตรีฟานวันขาย
สำหรับการบังคับใช้กฎหมายสถานประกอบการปี 1999 และการลงนามมติยกเลิกใบอนุญาตฉบับย่อย 268 ฉบับ ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการออกใบอนุญาตสำหรับสถานประกอบการของนายกรัฐมนตรีฟานวันขาย ได้มีส่วนร่วมสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจเอกชนพัฒนา ผลักดันความคิดสร้างสรรค์และความคล่องตัวของประชาชน จนถึงปัจจุบัน กฎหมายสถานประกอบการยังคงเป็นการปฏิรูปที่เข้มแข็งที่สุดและสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว โดยในช่วงปี 2000 - 2001 มีสถานประกอบการกว่า 3 หมื่น 5 พันแห่งจดทะเบียนจัดตั้ง ซึ่งเกือบเท่ากับจำนวนสถานประกอบการที่ลงทะเบียนจัดตั้งในตลอด 9 ปี ส่วนช่วงเวลาเกือบ 10ปีที่ท่าน ฟานวันขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ถือเป็นช่วงเวลาที่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามอยู่ในระดับสูงสุดและมีเสถียรภาพที่สุด คือเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี สามารถรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและสร้างปัจจัยใหม่ๆที่เอื้อให้แก่การขยายตัวด้านเศรษฐกิจ
อดีต นายกรัฐมนตรี ฟานวันขาย |
ส่งเสริมการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก
นอกเหนือจากส่วนร่วมที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรี ฟานวันขาย ยังมีส่วนร่วมที่สำคัญในการส่งเสริมการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก จากการเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้ในเชิงลึกและผู้นำที่ปรีชาสามารถ ท่านฟานวันขาย มีความมั่นใจในตัวเองเมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการต่างประเทศ โดยท่านได้ร่วมกับบรรดาผู้นำเวียดนามจัดทำยุทธศาสตร์การผสมผสานและพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนามหลังจากที่เวียดนามได้ปรับความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจให้เป็นปกติและเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน
ในช่วงที่ท่าน ฟานวันขาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เวียดนามและสหรัฐได้เสร็จสิ้นการเจรจาและลงนามข้อตกลงการค้าทวิภาคี ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายของการปรับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศให้เป็นปกติอย่างสมบูรณ์ ท่าน ฟานวันขาย ก็เป็นนายกรัฐมนตรีเวียดนามคนแรกที่เดินทางไปเยือนสหรัฐอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2006 ซึ่งเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์ร่วมมือในหลายด้านระหว่าง 2 ประเทศ ภายใต้การนำของท่าน ฟานวันขาย กระทรวงและหน่วยงานต่างๆของเวียดนามได้เสร็จสิ้นการเจรจาเกี่ยวกับการขอเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก หรือ WTO เมื่อปลายปี 2006 เพื่อเริ่มการผสมผสานเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างเป็นทางการและสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนามในปีต่อๆไป
อดีตนายกรัฐมนตรีฟานวันขาย คือผู้นำที่ริเริ่มการสร้างสรรค์และพัฒนาเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยม โดยได้สร้างมรดกที่ยิ่งใหญ่คือเศรษฐกิจพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพ ผสมผสานและโครงการปฏิรูปในด้านต่างๆเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้นำประเทศรุ่นต่อๆไป.