อังกฤษแสวงหาข้อตกลงการค้าต่างๆหลัง Brexit

Hong Van- VOV 5
Chia sẻ

(VOVWORLD) -ในขณะที่ภายในประเทศยังคงถกเถียงกันเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรือ Brexit ว่า จะถอนตัวโดยมีข้อตกลงหรือไม่  ทางการอังกฤษยังคงผลักดันการเจรจาข้อตกลงการค้ากับหลายประเทศเพื่อปกป้องผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ จนสามารถบรรลุความคืบหน้า ซึ่งทำให้นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน มีความมั่นใจว่า อังกฤษจะถอนตัวออกจากอียูตามกำหนดภายหลัง 40 ปีที่เป็นสมาชิกของอียู

อังกฤษแสวงหาข้อตกลงการค้าต่างๆหลัง Brexit - ảnh 1 (Photo: TTXVN)

6 สัปดาห์ก่อนถึงเวลาที่อังกฤษจะถอนตัวออกจากอียู   อังกฤษได้ลงนามข้อตกลงการค้า 13 ฉบับและกำลังทำการเจรจากับ 30 เศรษฐกิจ  โดยล่าสุดได้บรรลุข้อตกลงกับสหภาพศุลกากรแห่งแอฟริกาตอนใต้ ซึ่งข้อตกลงเหล่านี้จะมีผลบังคับใช้หลัง Brexit

เดินหน้าดำเนินการเจรจาต่างๆ

  อันที่จริง  การถอนตัวออกจากอียูเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางการค้าเท่านั้น  ไม่ใช่การยุติความสัมพันธ์ด้านการค้า ดังนั้น แม้อังกฤษไม่ได้เป็นสมาชิกอียูแต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังคงเป็นคู่ค้ากัน  แต่ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ เรื่องที่ต้องพูดถึงก็คือ อียูได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกว่า 40 ฉบับกับ 70 ประเทศและในฐานะเป็นสมาชิกอียู อังกฤษต้องมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามข้อตกลงฉบับต่างๆแต่เมื่อไม่ได้เป็นสมาชิกอียู  อังกฤษจะปฏิบัติข้อตกลงเหล่านี้เป็นอย่างไร  ดังนั้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อังกฤษได้ส่งคณะเจรจาทางการค้าไปยังประเทศต่างๆและจนถึงขณะนี้  สามารถลงนามข้อตกลงการค้า 13 ฉบับกับ 38 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญสำหรับหน่วยงานการส่งออกของอังกฤษ รวมถึง ไอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ภูมิภาคแอฟริกา ทวีปลาตินอเมริกาและสาธารณรัฐเกาหลี สิ่งที่น่าสนใจอีกก็คืออังกฤษมีข้อตกลง 16 ฉบับกับประเทศต่างๆ รวมทั้ง อาเซียน ที่จะมีผลบังคับใช้หลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกจากอียู

การสนับสนุนจากหลายหุ้นส่วน

  ข้อตกลงการค้าล่าสุดที่อังกฤษลงนามกับสหภาพศุลกากรแห่งแอฟริกาตอนใต้ที่ประกอบด้วย 6 ประเทศได้แก่แอฟริกาใต้ บอตสวานา เลโซโท นามิเบีย สวาซิแลนด์และโมซัมบิก   ช่วยค้ำประกันการปฏิบัติเงื่อนไขการค้าต่างๆหลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกจากอียู  ซึ่งในการประกาศเมื่อวันที่ 11 กันยายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศอังกฤษ Liz Truss ได้เผยว่า ข้อตกลงนี้ช่วยให้สถานประกอบการสามารถธำรงการแลกเปลี่ยนสินค้าหลัง  Brexit  โดยไม่ประสบกำแพงการกีดกันเพิ่มเติมใดๆ  เมื่อปี 2018 มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างอังกฤษกับ 6 ประเทศสมาชิกสหภาพศุลกากรแห่งแอฟริกาตอนใต้ อยู่ที่ 9.7 พันล้านปอนด์หรือคิดเป็นประมาณ 1 หมื่น 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

  ก่อนหน้านั้น การเจรจาด้านการค้าระหว่างอังกฤษกับสหรัฐ ซึ่งสหรัฐเป็นพันธมิตรและตลาดที่สำคัญที่สุดของอังกฤษได้บรรลุความคืบหน้า  ตามข้อมูลสถิติ มูลค่าการส่งออกของอังกฤษไปยังสหรัฐอยู่ที่กว่า 1 แสนล้านปอนด์ต่อปี ส่วนมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 7 หมื่นล้านปอนด์ ขณะที่ความสัมพันธ์กับอียู อังกฤษเสียเปรียบดุลย์การค้ามาโดยตลอด เฉลี่ยอยู่ที่ 6 หมื่นล้านถึง 1 แสนล้านปอนด์ต่อปี  ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์เห็นว่า การเป็นสมาชิกของอียูได้สร้างข้อจำกัดต่อความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างสองประเทศเพราะตามข้อกำหนดของอียู บรรดาประเทศสมาชิกไม่สามารถทำการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีได้โดยตรง  ดังนั้น ประธานาธิบดีสหรัฐหวังว่า หลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกจากอียู มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างสองประเทศจะมีก้าวกระโดดใหม่ ส่วนนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้แสดงความหวังว่า ข้อตกลงการค้ากับสหรัฐจะเปิดโอกาสใหญ่ให้แก่สถานประกอบการอังกฤษ โดยเฉพาะ การเจาะตลาดภาคบริการของสหรัฐ  คาดว่า ถ้าหากข้อตกลงดังกล่าวได้รับการลงนาม มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างสองประเทศจะเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าภายใน 4 ปี

  ต่อจากสหรัฐ จีนก็เป็นตลาดที่อังกฤษให้ความสนใจ    ปัจจุบัน อังกฤษและจีนได้ทำการเจรจาและเห็นพ้องกันในข้อตกลงการค้าเสรีที่จะได้รับการลงนามหลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกจากอียู  ปัจจุบัน จีนได้เปรียบดุลการค้าอังกฤษอยู่ในระดับสูง โดยคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกและนำเข้าของอังกฤษ   

  ส่วนนาย Boris Abramov ตัวแทนการค้ารัสเซียประจำอังกฤษได้เผยว่า รัสเซียมีความประสงค์ที่จะเสร็จสิ้นการเจรจาข้อตกลงการค้าฉบับใหม่กับอังกฤษหลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกจากอียู  แม้จะมีข้อตกลงหรือไม่ก็ตามแต่ทั้งสองประเทศจะธำรงการแลกเปลี่ยนสินค้าตามนโยบายขององค์การการค้าโลก

  การที่อังกฤษเดินหน้าผลักดันการเจรจากับหลายประเทศในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเพื่อบรรลุข้อตกลงการค้าต่างๆจะช่วยธำรงการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างอังกฤษกับหุ้นส่วนต่างๆหลัง Brexit และมีส่วนร่วมสร้างเสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจอังกฤษ ซึ่งเป็นปัจจัยที่จำเป็นในสภาวการณ์ที่ยังคงมีความขัดแย้งภายในประเทศเกี่ยวกับปัญหา Brexit.


Komentar