(VOVWorld) – นายหลี่เค่อเฉียงนายกรัฐมนตรีจีนเพิ่งเสร็จสิ้นการเยือนประเทศเพื่อนบ้านอินเดียเป็นเวลา๓วันซึ่งการเลือกอินเดียเป็นประเทศแรกในการเยือน๔ประเทศหลังการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นเจตนาของปักกิ่งเพื่อขยายการค้าและการลงทุน อีกทั้งสร้างความไว้วางใจทางการเมืองกับอินเดียหลังความขัดแย้งต่างๆทั้งในอดีตและในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี บรรดาผู้วิเคราะห์สถานการณ์ได้มีข้อสังเกตุที่แตกต่างกับภาษาทางการทูตและการจับมือร่วมมือกันระหว่างสองประเทศยักษ์ใหญ่นี้ว่า การเยือนนี้ประสบผลสำเร็จเบื้องต้น
|
การเจรจาระหว่างนายกรัฐมนตรีจีนกับอินเดีย (Photo:baomoi.com) |
ท่านมานโมฮัน ซิงห์นายกรัฐมนตรีอินเดียได้จัดพิธีต้อนรับนายกรัฐมนตรีจีน หลี่เค่อเฉียงตามแบบรัฐพิธี ดังที่สื่อมวลชนปักกิ่งได้รายงานข่าวก่อนการเยือน ในการพบปะกับนายกรัฐมนตรีมานโมฮัน ซิงห์ นายกรัฐมตรีหลี่เค่อเฉียงได้ยืนยันว่า วัตถุประสงค์ของการเยือนคือเพื่อให้โลกเห็นความไว้วางใจทางการเมืองระหว่างอินเดียกับจีนที่นับวันยิ่งเพิ่มขึ้น ความร่วมมืออย่างจริงจังกำลังได้รับการขยาย และทั้งสองฝ่ายมีผลประโยชน์ร่วมมากกว่าความแตกต่าง ส่วนนายกรัฐมนตรีมานโมฮันซิงก็ย้ำว่า ไม่เพียงแต่มีความสัมพันธ์เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดเท่านั้นหากอินเดียและจีนต่างก็เป็นประเทศมหาอำนาจที่กำลังพัฒนาและเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในหลายปัญหาระหว่างประเทศ ดังนั้น ไม่ควรปล่อยให้ปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ระหว่างสองประเทศส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยเฉพาะ ทางการค้าและการลงทุน นายกรัฐมนตรีทั้งสองท่านให้คำมั่นว่า จะเพิ่มมูลค่าการค้าต่างตอบแทนขึ้นเป็น๑แสนล้านเหรียญสหรัฐภายในปี๒๐๑๕และผ่านการลงนามข้อตกลงร่วมมือ๘ฉบับในด้านการเกษตร การค้าและการท่องเที่ยว ทั้งปักกิ่งและนิวเดลลีกำลังแสดงให้เห็นบทบาทนำหน้าในการผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและโลก อย่างไรก็ดีการพูดนั้นง่ายกว่าการปฏิบัติ แม้ว่าจีนได้กลายเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของอินเดีย แต่การขาดดุลการค้าที่นับวันยิ่งสูงขึ้นได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายเพิ่มขึ้น จากตัวเลข๐ ในช่วงปี๑๙๙๐ของมูลค่าการค้าทวิภาคีจีน อินเดีย แต่จีนได้เปรียบดุลการค้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพราะจีนส่งออกกระไฟฟ้า และอุปกรณ์โทรคมนาคมไปยังอินเดียแต่กลับไม่เปิดประตูให้อินเดียส่งออกผลิตภัณฑ์ด้านนี้มายังจีน อีกทั้งยังปฏิเสธมาโดยตลอดว่า การขาดดลุย์การค้าเพราะความแตกต่างทางโครงสร้างเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ หากไม่ใช่การจำกัดการนำเข้าสินค้าจากอินเดีย อย่างไรก็ดี นิวเดลลีไม่มีวันเห็นด้วยกับเหตุผลนี้ของจีน ดังนั้น แม้จะยืนยันความประสงค์ที่จะร่วมกับจีนเพิ่มมูลค่าการค้าต่างตอบแทน แต่นายกรัฐมนตรีมานโมฮันซิงห์ได้กล่าวว่า เพื่อให้มูลค่าการค้าต่างตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็น๑แสนล้านเหรียญสหรัฐในปี๒๐๑๕ สิ่งที่สำคัญคือต้องหาทางสร้างความสมดุลย์การค้าซึ่งสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับจีนเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ การพิพาทตามแนวพรมแดนที่ยืดเยื้อมานานหลายสิบปีโดยไม่สามารถแสวงหามาตรการแก้ไขอย่างเด็ดขาดก็เป็นอุปสรรคขัดขวางการสร้างความไว้วางใจระหว่างสองฝ่าย ความระแวงสงสัยระหว่างสองประเทศนับตั้งแต่สงครามชายแดนเมื่อปี๑๙๖๒ยังคงคุกรุ่นและก่อนการเยือนนี้เกือบ๑เดือน ความสัมพันธ์ระหว่างปักกิ่งกับนิวเดลีมีความตึงเครียดที่สุดเนื่องจากอินเดียกล่าวหากองทัพจีนรุกล้ำดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย อินเดียได้ตอบโต้ด้วยการส่งกองทัพไปยังบริเวณนี้และความตึงเครียดจะยุติลงเมื่อทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันจะแสวงหามาตรการระยะยาวและรอบด้านให้แก่การพิพาทชายแดน ในการเยือนนี้ ปัญหาการพิพาทชายแดนได้ถูกหยิบยกขึ้นมาหารืออีกครั้ง แต่ก็ไม่ประสบผลที่เป็นรูปธรรมใดๆเพราะนายกรัฐมนตรีหลี่เค่อเฉียงกล่าวถึงแต่การขยายระเบียบการสร้างความไว้วางใจในบริเวณชายแดนที่มีการพิพาทอย่างคร่าวๆเท่านั้นและเห็นว่า ทุกฝ่ายต้องพิจารณาข้อเสนอเพื่อลดความตึงเครียด ก่อนที่นายกรัฐมนตรีหลี่เค่อเฉียงจะเดินทางถึงกรุงนิวเดลลี หนังสือพิมพ์เหริญหมินหรือป้าวได้ลงบทวิเคราะห์โดยระบุว่า จีนและอินเดียได้ตกลงกันว่า จะแยกปัญหาชายแดนออกจากความสัมพันธ์โดยรวมและค้ำประกันว่า ความแตกต่างจะไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี แต่บรรดาผู้วิเคราะห์สถานการณ์เห็นว่า ถ้ามองผ่านปัญหายุทธศาสตร์ ทั้งสองฝ่ายเน้นให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเท่านั้นซึ่งปัญหาการพิพาทจะยังเกิดขึ้นต่อไป ในสภาวการณ์ที่อินเดียกำลังมีก้าวเดินเพื่อชิงความได้เปรียบ เช่น ปรับปรุงยุทธศาสตร์ด้านการทหาร และการทูตนั้นก็ไม่ควรมองข้ามประเทศยักษ์ใหญ่เพื่อนบ้านจีนนี้ นอกจากนี้ อินเดียก็กำลังมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับวอชิงตันและแสดงออกว่า ไม่สนับสนุนจีนในการพิพาททะเลตะวันออกก็เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างปักกิ่งกับนิวเดลีไม่เป็นไปดั่งที่รอคอย ในการเจรจา นายกรัฐมนตรีมานโมฮันซิงห์ได้ปฏิเสธสนับสนุนจุดยืนของจีนเกี่ยบกับการพิพาทอธิปไตยเหนือเกาะต่างๆในทะเลตะวันออก เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การเยือนอินเดียของนายกรัฐมนตรีหลี่เค่อเฉียงนับเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์เพื่อนบ้านยากที่จะปรองดองได้ แม้จะเป็นหุ้นส่วนสำคัญของกันแต่ก็ขาดความไว้วางใจกันทำให้สองประเทศเพื่อนบ้านยากที่จะกระเถิบเข้าใกล้กัน ด้วยเหตุนี้ บรรดาผู้วิเคราะห์สถานการณ์เห็นว่า ไม่ควรตั้งความหวังต่อก้าวกระโดดในความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในเวลาอันใกล้นี้./.
Huyền-VOV5