(VOVworld) – การปฏิรูปภาคการเกษตรและการสร้างสรรค์ชนทบใหม่คือสองโครงการสำคัญในกระบวนการปฏิบัติภารกิจการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรและชนบทที่ทันสมัย ในระยะปี 2016 – 2020 การปรับปรุงหน่วยงานการเกษตรเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อมีส่วนร่วมต่อโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ของเวียดนาม ต่อไปนี้ขอเชิญท่านฟังการสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการปฏิบัติโครงการดังกล่าวของผู้แทนรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาครั้งที่ 2 สมัยที่ 14
ผู้แทนรัฐสภาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการฯ
|
โครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่คือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมแบบบูรณาการและยั่งยืนในเขตชนบทของเวียดนาม ซึ่งได้รับการปฏิบัติตั้งแต่ปี 2011 และได้มีการสรุปผลในเบื้องต้น จากผลงานที่ได้บรรลุ เวียดนามได้จัดทำแผนการขยายผลโครงการระยะปี 2016-2020 ต่อไป
ส่วนโครงการปฏิรูปภาคการเกษตรตามแนวทางเพิ่มมูลค่าและพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น นายกรัฐมนตรีได้ลงนามอนุมัติเมื่อปี 2013 ซึ่งได้วางแนวทางรวมเพื่อการปฏิบัติใน 3 ด้านคือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
เปลี่ยนโฉมใหม่ของเขตชนบทเวียดนาม
หลังการปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ โฉมหน้าของชนบทเวียดนามได้มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ซึ่งผลสำเร็จที่โดดเด่นที่สุดคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วยการก่อสร้างระบบคมนาคมใหม่กว่า 47,000 ก.ม. มีตำบลกว่าร้อยละ 80 บรรลุมาตรฐานชนบทใหม่ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตชนบททั้งด้านวัตถุและจิตใจได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น การผลิตเกษตรในเชิงสินค้าได้รับความสนใจมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางที่ดี ท้องถิ่นหลายแห่งได้ทำการปรับที่นา ระบบชลประทานและถนนหนทางริมทุ่งนาเพื่อเตรียมพร้อมให้แก่การใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ในการทำนา นายดั่งหว่างต๊วน ผู้แทนรัฐสภาจังหวัดลองอานให้ข้อสังเกตว่า “นี่คือแนวทางที่ถูกต้องของพรรคและรัฐเวียดนาม เป็นโครงการที่มีความสมบูรณ์และเป็นมาตรการที่สำคัญในการปฏิบัติมติของพรรคเกี่ยวกับการเกษตร เกษตรกรและชนบท ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อทุกด้านเพื่อมุ่งสู่การยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ทั้งในด้านวัตถุและจิตใจของประชาชนให้ดีขึ้น”
แม้ได้รับการปฏิบัติตั้งแต่ปี 2013 แต่การปรับปรุงหน่วยงานการเกษตรได้มีส่วนร่วมผลักดันกระบวนการปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ให้รวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มรายได้ ลดอัตราความยากจน เปลี่ยนแปลงโครงสร้างแรงงานการเกษตรและสร้างงานทำใหม่ให้แก่ประชาชนในเขตชนบท แต่อย่างไรก็ตาม ผลการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ยังไม่เท่าเทียมเพราะมีช่องว่างระหว่างท้องถิ่นและระหว่างภูมิภาค
การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ต้องผนึกแน่นกับการปฏิรูปการเกษตร
โครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ระยะปี 2016-2020 ของเวียดนามมุ่งไปยังเป้าหมายคือ จะมีตำบลร้อยละ 50 บรรลุมาตรฐานชนบทใหม่ เสร็จสิ้นการก่อสร้างกิจการที่จำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาการผลิตและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตชนบท เช่น ระบบคมนาคม การจัดสรรไฟฟ้า น้ำประปา โรงเรียน สถานีอนามัยของตำบลและสร้างรูปแบบการผลิตที่เชื่อมโยงกับการสร้างงานทำที่ยั่งยืนให้แก่ประชาชนและเพิ่มรายได้อย่างน้อย 1.8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2015
เพื่อปฏิบัติเป้าหมายดังกล่าว ต้องเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการปฏิรูปหน่วยงานการเกษตร ซึ่งก่อนอื่นต้องมีนโยบายที่เป็นก้าวกระโดดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการลงทุนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้แก่หน่วยงานที่เป็นแกนหลัก โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านพันธุกรรม การระบายน้ำ การเก็บรักษาและการแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว นายดว่านวันเหวียด ผู้แทนรัฐสภาจังหวัดเลิมด่งเผยว่า “เน้นประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านชีวะภาพเป็นเงื่อนไขที่สำคัญเพื่อช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงใหม่รูปแบบการขยายตัวของหน่วยงานการเกษตร เพิ่มรายได้ของหนึ่งหน่วยผลิต ที่จังหวัดเลิมด่ง มีพื้นที่ผลิตเกษตรประมาณร้อยละ 16 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงแต่สร้างมูลค่าการผลิตกว่าร้อยละ 30 จังหวัดเลิมด่งมีมูลค่าผลิตการเกษตรเฉลี่ยอยู่ที่ 150 ล้านด่งต่อเฮ็กต้าในขณะที่ทั่วประเทศมีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 78 ล้านด่งต่อเฮ็กต้าเท่านั้น ถ้าหากปลูกผักที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจะมีรายได้ประมาณ 400-500 ล้านด่งต่อเฮ็กต้าต่อปี แต่ถ้าหากปลูกดอกไม้จะได้ตั้งแต่ 8 แสนถึง 1 พันล้านด่งต่อปี”
โฉมใหม่ของชนบทเวียดนาม
|
ส่วนนายเหงียนต๊วนแอง ผู้แทนรัฐสภาจังหวัดบิ่งห์เฟือกแสดงความคิดเห็นว่า ต้องผลักดันการลงทุนในด้านการเกษตร ชนบทและดึงดูดสถานประกอบการทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสถานประกอบการภาคเอกชน “ในเวลาข้างหน้า ควรเน้นสร้างสรรค์ทักษะความสามารถให้แก่การเกษตรและชนบทใน 2 เส้นทาง โดยหนึ่งในนั้นคือสถานประกอบการ สถานประกอบการเป็นผู้นำทางเพื่อแนะแนวการประกอบธุรกิจใหม่ในตลาด มุ่งสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง มีปริมาณมากและใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความได้เปรียบและสินค้าเฉพาะถิ่นของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น โครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ต้องเน้นปรับปรุงเป้าหมายการแก้ไขอุปสรรคด้านที่ดินและระเบียบการเข้าถึงภาคการเกษตรของสถานประกอบการ”
เวียดนามกำหนดว่า ต้องปฏิบัติการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ต่อไปในเวลาข้างหน้าเพื่อจะมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้อง สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาการเกษตรกับอุตสาหกรรมและการบริการ ในกระบวนการดังกล่าว จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการปฎิรูปหน่วยงานการเกษตรเพื่อช่วยให้เวียดนามบรรลุเป้าหมายที่วางไว้โดยเร็ว.