(VOVworld)- การแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปกำลังเผชิญปัญหาใหม่ โดยนอกจากการแข่งขันในศึกชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่กำลังมีขึ้นอย่างดุเดือดแล้ว เวทีการเมืองของเนเธอร์แลนด์ก็ร้อนระอุไม่น้อยหน้ากันเมื่อนายกฯเนเธอร์แลนด์ Mark Rutte ได้ยื่นหนังสือลาออกหลังจากที่การเจรจาเกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อนำประเทศนี้หลุดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจไม่สำเร็จ ซึ่งได้สร้างภาระที่หนักหน่วงให้แก่ทั้งเนเธอร์แลนด์และเขตยูโรโซน.
|
นายกรัฐมนตรีมาร์ค รูต หลังจากได้ถวาบหนังสือลาออกต่อสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์(AP) |
เนเธอร์แลนด์จะจัดการเลือกตั้งทั่วประเทศก่อนกำหนดหลังจากที่สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ยุบสภาเมื่อวันที่24เมษายนภายหลังทรงมีพระปฏิสันฐานกับนาย มาร์ค รูต นายกฯ โดยก่อนหน้านั้นหนึ่งวันนายกรัฐมนตรีมาร์ค รูตและคณะรัฐมนตรีได้ยื่นหนังสือลาออกเนื่องจากการเจรจาเกี่ยวกับแผนการรัดเข็มขัดเพื่อช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากภาวะวิกฤตประสบความล้มเหลวและจะมีการประกาศกำหนดวันจัดการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 27เมษายนซึ่งคาดว่าการเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่12กันยายนนี้ ต่อการตัดสินดังกล่าวประชามติได้แสดงความเห็นว่า ถึงแม้พระราชินีเบียทริกซ์ทรงเรียกร้องให้สมาชิกคณะรัฐบาลพยายามทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ประเทศแต่ข้อเสนอในการยุบสภานั้นอาจจะทำให้แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศยิ่งยากที่จะปฏิบัติได้
สถานการณ์เศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์เริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี2011จนทำให้อัตราคนว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ6 ดังนั้นเพื่อตอบสนองเงื่อนไขต่างๆของอียูรวมทั้งธำรงความน่าเชื่อถือด้านสินเชื่อของประเทศ ในปี2012นี้รัฐบาล เนเธอร์แลนด์ต้องปรับลดการขาดดุลงบประมาณถึง9พันล้านยูโรหรือคิดเป็นร้อยละ1.5ของจีดีพี แต่การเจรจาเป็นเวลา7สัปดาห์ระหว่าง3พรรคการเมืองใหญ่คือพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือVVD พรรคอนุรักษ์นิยมคาทอลิกหรือCDAและพรรคเสรีหรือPVV ไม่สามารถบรรลุมาตรการประหยัดนี้ได้เนื่องจากพีวีวีไม่เห็นด้วยกับมาตรการมูลค่าประมาณ1หมื่น6พันล้านยูโรที่นายกฯมาร์ครูตหวังว่าจะสามารถป้องกันไม่ให้การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าอาจจะเป็นร้อยละ4.7ของจีดีพีในปี2013 เพราะสิ่งที่ถือว่าเป็นอุปสรรคของคณะรัฐบาลของนาย มาร์ครูตคือถึงแม้จะได้กลายเป็นพันธมิตรที่กุมอำนาจหลังการเลือกตั้งเมื่อปี2010 แต่จำนวนที่นั่งของทั้งพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือVVDและพรรคอนุรักษ์นิยมคาทอลิกหรือCDAนั้นได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งในรัฐสภาจึงทำให้การตัดสินใจทุกอย่างต้องได้รับการสนับสนุนจากทั้งพรรคเสรีหรือ PVV ด้วย คาดว่าปี2013การขาดดุลงบประมาณของเนเธอร์แลนด์จะอยู่ที่ร้อยละ4.6ของจีดีพีและประเทศนี้ต้องยื่นร่างงบประมาณต่ออียูก่อนวันที่30เมษายนนี้ ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจ การยุบรัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะเปิดช่องว่างด้านอำนาจในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศนี้กำลังมีสัญญาณที่น่าเป็นห่วงโดยเฉพาะภาวะซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังสร้างภาระให้แก่หลายครอบครัวโดยตามข้อมูลสถิติได้แสดงให้เห็นว่า ยอดหนี้ของภาคเอกชนในด้านอสังหาริมทรัพย์ได้เพิ่มขึ้นถึง249%ของจีดีพีซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในเขตยูโรโซน
ทั้งนี้เป็นอันว่าต่อจากภาวะวิกฤตที่โปร์ตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซและสเปน วิกฤตที่กำลังมีขึ้น ใน เนเธอร์แลนด์จะเพิ่มความกังวลให้แก่บรรดาผู้นำเขตยูโรโซน โดยในประกาศอย่างเป็นทางการของอียูเมื่อวันที่24เมษายน หนี้ของ17ประเทศในกลุ่มได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ87.2ของจีดีพี ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่มีการใช้สกุลเงินยูโรเมื่อปี1999 และปัจจุบันนอกจากวงเงินกู้เพื่อการปรับลดการขาดดุลงบประมาณแล้ว หลายประเทศในเขตยูโรโซนยังต้องแบกภาระเงินช่วยเหลือมูลค่า386พันล้านยูโรจากกริซ ไอร์แลนด์และโปร์ตุเกส นี่ไม่รวมถึงภัยคุกคามจาก2เศรษฐกิจใหญ่อันดับ3-4ของทวีปคืออิตาลีและสเปน ปัจจุบันเนเธอร์แลนด์ยังคงเป็น1ใน3ประเทศในเขตยูโรเซนที่ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือที่ AAA แต่ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจได้ประเมินว่ามีเพียงเยอรมนีเท่านั้นที่คู่ควรกับอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าว ส่วนสำหรับเนเธอร์แลนด์ เพื่อความอยู่รอดของเศรษฐกิจจะต้องแสวงหาการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านในแผนการปรับลดงบประมาณถ้าไม่อยากถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงเหมือนฝรั่งเศส และวิกฤตการเมืองไม่เพียงเเต่คุกคามต่อการพัฒนาของเนเธอร์แลนด์เท่านั้นหากรวมไปถึงทั้งเขตยูโรโซนอีกด้วย โดยในการปิดตลาดหุ้นเอเซียเมื่อวันที่24เมษายน ค่าเงินยูโรก็ยังอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า 17ประเทศเขตยูโรโซนจะต้องเผชิญกับภาวะถดถอยที่ยืดเยื้อยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้./.