(VOVworld)- การประชุมสุดยอดครั้งที่12องค์การความร่วมมืออิสลามโอไอซี ได้มีขึ้นในระหว่างวันที่6-7กุมภาพันธ์ ณ กรุงไคโร โดยนอกจากให้ความสนใจต่อเนื้อหาต่างๆในระเบียบวาระการประชุม ประชามติยังจับตาการเยือนอิยิปต์ของประธานาธิบดีอิหร่านเพราะถือเป็นการเยือนอิยิปต์ครั้งแรกของผู้นำสูงสุดจากประเทศอิสลามนับตั้งแต่ปี1979 ซึ่งการที่ทั้งสองประเทศใหญ่ในตะวันออกกลางได้เริ่มกระเถิบเข้าไกล้กันมากขึ้นนั้นได้บ่งบอกถึงสัญญาณที่ดีให้แก่สันติภาพในภูมิภาค
อิหร่านและอียิปต์เป็นสองชาติที่มีประชากรมากที่สุดในตะวันออกกลางแต่ความสัมพันธ์กลับอยู่ในภาวะเย็นชาหลังการปฏิวัติอิสลามเมื่อปี1979 โดยในยุคของอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ความสัมพันธ์นั้นก็ประสบมรสุมมากมาย เพราะประเทศอิยิปต์ที่กลุ่มชาวมุสลิมนิกายซุนนีมีเสียงข้างมากนั้นได้สร้างพันธมิตรกับประเทศอาหรับอื่นๆเพื่อโดดเดี่ยวอิหร่านซึ่งเป็นชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ และในเวลาที่ผ่านมา อิยิปต์ได้กล่าวหาอิหร่านว่าเป็นฝ่ายสนับสนุนกลุ่มกบฏฮิซบอลเลาะห์ในการก่อความไม่สงบในอิยิปต์และอิหร่านคือต้นตอของความไร้เสถียรภาพในตะวันออกกลาง แต่หลังจากยุคของนายฮอสนี มูบารัคและองค์กรภารดรภาพมุสลิมได้ขึ้นบริหารประเทศอิยิปต์ ความสัมพันธ์ระหว่างไคโรและเตหะรานก็เริ่มมีสัญญาณที่สดใสขึ้น เหตุการณ์แรกคือประธนาธิบดีอิยิปต์โมฮัมเม็ดมอร์ซีเยือนอิหร่านเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วเพื่อเข้าร่วมการประชุมขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายไดและโอกาสนี้ทั้งสองฝ่ายได้ตัดสินใจเปิดสถานทูตประจำแต่ละประเทศอีกครั้ง ในปัญหาระดับภูมิภาคนั้น แม้ยังมีทัศนะที่ไม่ตรงกันโดยเฉพาะในปัญหาซีเรีย แต่ทั้งเตหะรานและไคโรต่างแสดงท่าทีอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ทั้งสองฝ่ายกำลังพยายามฟื้นฟู และเมื่อเร็วๆนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน อาลี อาคบาร์ ซาเลฮี ได้เดินทางไปเยือนไคโรเพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความสามัคคีชาวมุสลิมในภูมิภาค ทั้งนี้ถือเป็นสัญญาณใหม่ที่น่ายินดีในความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างอิหร่านกับอียิปต์ภายหลังความสัมพันธ์ทางการทูตถูกทิ้งช่วงไประยะหนึ่ง
ในสถานการณ์ดังกล่าว การเยือนอิยิปต์ของประธานาธิบดีอิหร่าน มามุด อามาดีเนชาดจึงเป็นที่สนใจเป็นพิเศษจากประชามติโลก เพราะตามความเห็นของนักวิเคราะห์ระหว่างประเทศนั้น อิยิปต์และอิหร่านมีเหตุผลมากมายเพื่อเอื้อให้แก่การกระชับความสัมพันธ์โดยก่อนอื่นคือความมุ่งมั่นตั้งใจของทั้งสองฝ่าย สำหรับอิหร่านนั้น การร่วมมือกับอิยิปต์จะเปิดโอกาสให้ประเทศนี้ผสมผสานกับประเทศอาหรับอื่นๆเพื่อลดความตึงเครียดระหว่างกลุ่มมุสลิมนิกายซุนนีและนิกายชีอะห์ นอกจากนั้นยังช่วยให้อิหร่านลดความโดดเดี่ยวในการรับมือกับการคว่ำบาตรของสหรัฐ ฝ่ายตะวันตกและประเทศต่างๆในภูมิภาคโดยเฉพาะจากอิสราเอลซึ่งเป็นประเทศที่ถือว่าเป็นอริกับชาติอาหรับในตะวันออกกลาง อิหร่านก็ยิ่งมีความมุ่งมั่นฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิยิปต์
ส่วนสำหรับอิยิปต์ ภาวะแห่งความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและความรุนแรงในประเทศได้ทำให้บทบาทและสถานะของประเทศนี้บนเวทีภูมิภาคลดน้อยลงดังนั้นเพื่อฟื้นฟูบทบาทของตนอีกครั้ง ทางเดียวที่ถือว่ามีประสิทธิภาพที่สุดคือเพิ่มความหลากหลายในความสัมพันธ์ระดับภูมิภาคและธำรงความสัมพันธ์กับประเทศใหญ่ๆรวมทั้งอิหร่าน ซึ่งจะช่วยเปิดทางให้อิยิปต์กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความสมดุลด้านการเมืองในภูมิภาคและลดการพึ่งพาสหรัฐ นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ปัจจุบันก็ไม่ราบรื่นเนื่องจากความขัดแย้งในปัญหาการแทรกแซงทางทหารเพื่อปราบปรามกลุ่มกบฎที่คาบสมุทรซีนาย ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำไคโรและเตหะรานกระเถิบเข้าใกล้กันมากขึ้น
การเยือนอิยิปต์ครั้งนี้ของประธานาธิบดีอิหร่านไม่เพียงแต่เปิดโอกาสเพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศมหาอำนาจตะวันออกกลางนี้เท่านั้น หากยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการสร้างพื้นฐานที่มั่นคงทางการเมืองในแต่ละประเทศในภูมิภาค ดังนั้น การร่วมมือกันระหว่างอิหร่านกับอิยิปต์ภายหลังถูกทิ้งช่วงมาเป็นเวลานานจึงเป็นสัญญาณที่ดีต่อสันติภาพในตะวันออกกลางที่จะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคนี้./.