(VOVworld) – เวียดนามกำลังเตรียมเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ ควบคู่กันนั้นความผันผวนใหม่ของสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคที่กำลังส่งผลกระทบในทางลบต่อบรรยากาศการลงทุนในเวียดนาม ดังนั้น ต้องทำอย่างไรเพื่อใช้โอกาสจากเอฟทีเอพร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการผลิตและประกอบธุรกิจให้แก่บรรดานักลงทุนในสภาวการณ์ใหม่ นี่เป็นเนื้อหาที่หยิบยกขึ้นมาอภิปรายในฟอรั่มนักธุรกิจเวียดนามปี๒๐๑๔กึ่งวาระหรือวีบีเอฟ๒๐๑๔ที่จัดโดยกระทรวงวางแผนและการลงทุน องค์กรการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก ณ กรุงฮานอย วันที่๕เดือนนี้
|
วีบีเอฟ๒๐๑๔(Photo:dautu) |
นอกจากเนื้อหาสำคัญๆของเศรษฐกิจเวียดนามที่บรรดานักลงทุนต่างชาติยังคงให้ความสนใจคือ ธนาคาร ตลาดเงินทุน การลงทุน การค้า โครงสร้างพื้นฐาน แรงงานและ งานทำ วีบีเอฟ๒๐๑๔ได้เน้นหารือถึงผลกระทบ โอกาสและความท้าทายต่อเวียดนามเมื่อเข้าร่วมข้อตกลงเอฟทีเอกับหุ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก หัวข้อ“จากโครงการถึงการปฏิบัติ– การเตรียมพร้อมให้แก่ข้อตกลงการค้าใหม่”ได้แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของวีบีเอฟ๒๐๑๔
พื้นฐานของนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายในการดึงดูดการลงทุน
เวียดนามกำลังเตรียมเข้าร่วมเอฟทีเอกับบรรดาหุ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพีกำลังเข้าสู่โค้งสุดท้าย ส่วนข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรปหรืออีวีเอฟทีเอก็คาดว่า จะเสร็จสิ้นการเจรจาในเดือนตุลาคมนี้และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะได้รับการจัดตั้งภายในปี๒๐๑๕ ดังนั้น การเตรียมพร้อมต้อนรับโอกาสและฟันฝ่าความท้าทายจากเอฟทีเอจึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนยิ่งกว่าเวลาใดทั้งหมด
นายหวูเตี๊ยนหลก ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามหรือวีซีซีไอประธานร่วมสหภาพวีบีเอฟ๒๐๑๔เผยว่า หนึ่งในมาตรการปฏิรูปสำคัญเพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดึงดูดใจผู้ประกอบการต่างชาติที่เวียดนามได้ปฏิบัติในเวลาที่ผ่านมาคือพื้นฐานที่สำคัญเพื่อให้เวียดนามปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจอย่างเข้มแข็งต่อไป“พวกเรากำลังปฏิบัติระบบกฎหมายโดยไม่มีการจำแนกระหว่างสถานประกอบการภายในประเทศกับต่างชาติ บรรดาสถานประกอบการต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในเวียดนามได้รับนโยบายสิทธิพิเศษเหมือนสถานประกอบการภายในประเทศ พวกเราก็ส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างสถานประกอบการต่างชาติกับสถานประกอบการเวียดนาม กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆให้ความสำคัญต่อการลงทุนจากต่างประเทศและให้ความช่วยเหลือแก่โครงการเหล่านี้อย่างเต็มที่”
มาตรการปฏิบัติเชิงก้าวกระโดด
เพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุน การประกอบธุรกิจและใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบเมื่อเข้าร่วมการค้าโลก นอกจากมาตรการปฏิบัติเชิงก้าวกระโดดในด้านโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งบุคลากร ระเบียบการแล้ว เวียดนามก็กำลังมีการปฎิรูประเบียบราชการเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุน
มติ๑๙ เอ็นคิว–ซีพีของรัฐบาลที่ประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคมปี๒๐๑๔ถือเป็นก้าวกระโดดในการปฏิรูประเบียบราชการ ได้แก่ มาตรการเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อลดรายจ่าย เวลา และความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจในเวียดนามซึ่งที่เป็นรูปธรรมคือ การออกใบอนุญาติประกอบการลงทุนจะใช้เวลาเพียง๖วัน เสียภาษี๑๗๑วัน ทำระเบียบการศุลกากร (ส่งออก๑๔วันและนำเข้า๑๓วัน) เตรียมโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้าภายใน๗๐วัน ระเบียบการประกาศล้มละลายลดลงเหลือ๓๐เดือนตลอดจนการปรับปรุงข้อกำหนดเกี่ยวกับการปกป้องนักลงทุน สร้างระเบียบการเกี่ยวกับการเข้าถึงสินเชื่อ
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การปฏิรูประเบียบราชการได้ลดเวลาการทำระเบียบการต่างๆลงถึง๑ใน๓หรือ๑ใน๔เมื่อเทียบกับเมื่อก่อนนี้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงบรรยากาศประกอบธุรกิจในเวียดนามอีกทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
สร้างแหล่งพลังภายในในการผลิตและประกอบธุรกิจในเชิงรุก
ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองที่มีความผันผวนอย่างซับซ้อนตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมมาจนถึงปัจจุบันหลังจากที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนาม การผลิตและประกอบธุรกิจของบรรดานักลงทุนเวียดนามได้รับผลกระทบไม่น้อย ในด้านเศรษฐกิจ เวียดนามกำลังมีความต้องการใหม่ในการธำรงความสัมพันธ์ทางการค้าที่มีเสถียรภาพกับจีนแต่ก็ขยายมาตรการเพื่อจำกัดการพึ่งพาตลาดนี้
การเข้าร่วมเอฟทีเอ โดยเฉพาะ ในกรอบการผสมผสานอย่างกว้างลึกเช่นข้อตกลงทีพีพี แขนงเศรษฐกิจหลักของเวียดนาม เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนังและรองเท้า สัตว์น้ำซึ่งถือว่าเป็นแขนงงานที่สามารถสร้างโอกาสใหญ่ให้แก่ประเทศ เพื่อเป็นฝ่ายรุกในการผลิตและประกอบธุรกิจ สถานประกอบการภายในประเทศกำลังมีก้าวเดินที่เหมาะสม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขยายขนาดการลงทุน แสวงหาแหล่งวัตถุดิบในเชิงรุก นายเลเตี๊ยนเจื่องรองผู้อำนวยการใหญ่เครือบริษัทสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเวียดนามกล่าวว่า“หน่วยงานสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเวียดนามได้ลงทุนเพิ่มเติมในการผลิตวัตถุดิบในเชิงรุกดังนั้น จนถึงปัจจุบัน พวกเราเป็นฝ่ายรุกในการผลิตเส้นใย และกำลังเตรียมพัฒนาแหล่งจัดสรรค์วัตถุดิบให้แก่แก่อุตสาหกรรมทอผ้า ส่วนสำหรับผลกระทบจากทีพีพี พวกเราหวังว่า จนถึงปี๒๐๑๕ วัตถุดิบภายในประเทศสำหรับผลิตสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะอยู่ที่กว่าร้อยละ๖๐”
ผลประโยชน์จากเอฟทีเออาจจะลดลง ถ้าคำมั่นสัญญาขาดความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและไม่มีมาตรการค้ำประกันการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ในสภาวการณ์ที่เอฟทีเอใหม่ที่เวียดนามกำลังเจรจามีขอบเขตที่กว้างลึกยิ่งขึ้น จากการตระหนักถึงความท้าทายนี้ เวียดนามกำลังพยายามปฏิรูปอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้นเพื่อไม่พลาดโอกาสที่มาจากการผสมผสาน แน่นอนว่า วีบีเอฟ๒๐๑๔จะเป็นช่องทางสนทนาที่สำคัญระหว่างรัฐบาลเวียดนามกับบรรดานักลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์สร้างสรรค์บรรยากาศการประกอบธุรกิจที่สะดวก และผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในเวียดนาม./.