(VOVWorld)-ปี๒๐๑๖ แม้จะมีมาตรการต่างๆเพื่อรับมือกับปัญหาผู้อพยพแต่ประเทศยุโรปก็ยังไม่สามารถแสวงหามาตรร่วมต่อปัญหาดังกล่าวได้ ถึงแม้ จำนวนผู้อพยพเข้ายุโรปในปี๒๐๑๖ได้ลดลงเมื่อเทียบกับปี๒๐๑๕แต่วิกฤตผู้อพยพกลับมีความผันผวนตามแนวโน้มที่อันตรายน่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง
กระแสผู้อพยพเข้ายุโรป (Photo: AFP)
|
แม้จะมีการปฏิบัติหลายมาตรการ เช่น การเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมเขตชายแดน จัดตั้งหน่วยเรือลาดตระเวนเพื่อรับมือกับกลุ่มลักลอบค้ามนุษย์ การเจรจากับตุรกีเพื่อจำกัดกระแสผู้อพยพ การปิดเส้นทางบอลข่าน ซึ่งเป็นเส้นทางหลักเข้ายุโรปของกลุ่มผู้อพยพ ตลอดจนการผลักดันการเนรเทศผู้อพยพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยออกจากประเทศแต่บรรดาผู้นำยุโรปก็ยังไม่สามารถหามาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาผู้อพยพได้
ในการกล่าวปราศรัยในการประชุมสุดยอดของสหประชาชาติเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา นาย บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐได้ยอมรับว่า วิกฤตผู้อพยพเป็นหนึ่งในความท้าทายที่เร่งด่วนต่อโลกปัจจุบัน แต่คำมั่นต่างๆที่บรรดาผู้นำให้ไว้ยังไม่เพียงพอเพื่อแก้ไขความท้าทายดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงจากวิกฤตผู้อพยพได้ทำให้ยุโรปตกเข้าสู่ภาวะไร้เสถียรภาพ
ความผันผวนที่อันตรายจากวิกฤตผู้อพยพ
ตามข้อมูลสถิติ จำนวนผู้อพยพที่ข้ามทะเลเข้ายุโรปในปี๒๐๑๖ได้ลดลงเมื่อเทียบกับปี๒๐๑๕แต่จำนวนผู้อพยพเสียชีวิตในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในปี๒๐๑๖ได้เพิ่มขึ้นเป็นประวัติกาลคือ๕พันคน เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ๒๕เมื่อเทียบกับปี๒๐๑๕ จากยุทธนาการกวาดล้างและทำลายเรือของกลุ่มลักลอบค้ามนุษย์และกิจกรรมการลาดตระเวนทางทะเลของยุโรป ผู้อพยพที่ข้ามทะเลเข้ายุโรปต้องเผชิญกับอันตรายต่างๆ นอกจากนี้ จำนวนเด็กที่เดินทางโดยลำพัง ก็เพิ่มขึ้น ซึ่งในนั้น มีเด็กหลายคนตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
วิกฤตยังคงเกิดขึ้นในเขตใกล้เคียงของยุโรป โดยผู้อพยพจากซีเรีย อัฟกานิสถานและอิรักคิดเป็นร้อยละ๙๐ ในขณะนี้ ซีเรียกำลังต้องเผชิญกับการปะทะครั้งใหญ่ ส่วนการปะทะในอัฟกานิสถานและอิรักมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ซึ่งทำให้จำนวนผู้อพยพอาจเพิ่มขึ้นในเวลาที่จะถึง นอกจากนี้ การที่สมาชิกกลุ่มก่อการร้ายซ่อนตัวในกระแสผู้อพยพนั้นมีก็ได้มีปฏิบัติการสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อประเทศสมาชิกอียูในปี๒๐๑๖
|
ไม่สามารถบรรลุความเห็นพ้องในการปฏิบัติ
ในขณะที่วิกฤตผู้อพยพกำลังคุกคามเสถียรภาพของยุโรป บรรดาผู้นำยุโรปยังถกเถียงกันเกี่ยวกับการที่ประเทศของตนพร้อมที่จะแบ่งเบาภาระการรับผู้อพยพหรือไม่ ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยุโรปที่มีขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ ประเทศเบลเยี่ยม นาย โธมัส เดอ เมซิแอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของเยอรมนีได้ยอมรับว่า อียูกำลังเผชิญกับความแตกแยกและมีความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหานี้ นับตั้งแต่ปี๒๐๑๕ บรรดาประเทศอียูได้เห็นพ้องกันว่า แต่ละประเทศสมาชิกจะต้องรับจำนวนผู้อพยพตามกำหนด แต่อย่างไรก็ดี แม้จะผ่านการเจรจาครั้งต่างๆ แต่ฝ่ายต่างๆยังไม่สามารถบรรลุความเห็นพ้องที่เป็นเอกฉันท์ได้ ในขณะที่ประเทศยุโรปตะวันตกพร้อมที่จะรับผู้อพยพแต่ประเทศยุโรปตะวันออกคัดค้านแผนการจัดสรรโควต้าผู้อพยพ โดยจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิธีการช่วยเหลืออื่นๆแทน โดยเฉพาะฮังการีและสโลวาเกียยังยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมยุโรปเพื่อคัดค้านแผนการดังกล่าว จนถึงขณะนี้ อียูกำลังพยายามปฏิบัติข้อตกลงที่ได้บรรลุในการจัดสรรผู้อพยพ๑แสน๖หมื่นคนให้แก่ประเทศสมาชิก ซึ่งผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นชาวซีเรีย อิรักและเอริเทรีย ในรายงานล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ขององค์การนิรโทษกรรมสากลได้คาดการณ์ว่า ในจำนวนผู้อพยพ๖หมื่น๖พันคนมีเพียงร้อยละร้อยละ๖เท่านั้นที่เดินทางไปถึงกรีซในปี๒๐๑๕และได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยในประเทศสมาชิกอียู ส่วนผู้อพยพที่เหลือต้องอยู่ในศูนย์รับผู้อพยพและรอการตัดสินใจอนุมัติใบขอลี้ภัย ดูเหมือนว่า บรรดาประเทศสมาชิกอียูไม่มีปฏิบัติการใดๆเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งทำให้การแก้ไขวิกฤตผู้อพยพเข้าสู่ภาวะชงักงัน
เหลืออีกเพียง๒วัน โลกจะก้าวเข้าสู่ปีใหม่๒๐๑๗และยุโรปต้องต้อนรับปีใหม่ด้วยความวิตกกังวลต่างๆเกี่ยวกับความแตกแยก การใช้ความรุนแรงและความไร้เสถียรภาพ วิกฤตผู้อพยพยังคงเพิ่มความดำมืดให้แก่ภาพรวมความมั่นคงของโลก.