วิกฤตนิวเคลียร์ในอิหร่านมีความล่อแหลมต่อการเกิดสงครามอย่างดุเดือด

Huyen – VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) - สถานการณ์ในอ่าวเปอร์เซียกำลังทวีตึงเครียดยิ่งขึ้นที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านได้สร้างความวิตกให้แก่ประชามติระหว่างประเทศเป็นทวีคุณ  ซึ่งความวิตกกังวลดังกล่าวมีต้นเหตุว่า หากมีการกระทำหรือความผิดพลาดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นการราดน้ำมันเข้ากองไฟให้กลายเป็นเปลวไฟที่จุชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๓   ซึ่งปัจจุบันนี้ ยังไม่เห็นลู่ทางแก้ไขวิกฤตการณ์ดังกล่าว

(VOVworld) - สถานการณ์ในอ่าวเปอร์เซียกำลังทวีตึงเครียดยิ่งขึ้นที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านได้สร้างความวิตกให้แก่ประชามติระหว่างประเทศเป็นทวีคุณ  ซึ่งความวิตกกังวลดังกล่าวมีต้นเหตุว่า หากมีการกระทำหรือความผิดพลาดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นการราดน้ำมันเข้ากองไฟให้กลายเป็นเปลวไฟที่จุชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๓   ซึ่งปัจจุบันนี้ ยังไม่เห็นลู่ทางแก้ไขวิกฤตการณ์ดังกล่าว

วิกฤตนิวเคลียร์ในอิหร่านมีความล่อแหลมต่อการเกิดสงครามอย่างดุเดือด - ảnh 1
เรือรบสหรัฐเข้าร่วมการซ้อมรบร่วม ณ อ่านเปอร์เซีย ( อินเตอร์เน็ต )

ในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์ในอ่าวเปอร์เซียนับวันร้อนระอุยิ่งขึ้นเนื่องจากเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่าน โดยขณะที่ทางการอิสราเอลกำหนดแผนที่จะเปิดการโจมตีทางอากาศใส่สถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่าน สหรัฐกับประเทศพันธมิตรประมาณ ๓๐ ประเทศได้ส่งเรือรบ ๑๒ ลำเข้าร่วมการซ้อมรบร่วม ณ อ่าวเปอร์เซียระหว่างวันที่ ๑๖ – ๒๗ กันยายน โดยสหรัฐเป็นผู้นำเพื่อฝึกฝนทำลายทุ่นระเบิด อันเป็นการส่งสาส์นเตือนที่เป็นนัยสำคัญของประเทศมหาอำนาจตะวันตกถึงอิหร่านเพื่อสกัดประฏิบัติการต่างๆของประเทศนี้  ในทางการทูตและเศรษฐกิจ ประเทศตะวันตกได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรอย่างเข้มงวดต่ออิหร่าน  โดยวันที่ ๒๓ กันยายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส อังกฤษและเยอรมนีได้ส่งหนังสือถึงนางแคทเทอรีน แอชตัน ผู้ทนระดับสูงของสหภาพยุโรปที่ดูแลนโยบายต่างประเทศเพื่อเรียกร้อให้ใช้มาตรการที่แข็งกร้าวต่ออิหร่าน  ซึ่งรายละเอียของมาตรารใหม่นี้ยังอยู่ในระหว่างการร่าง แต่บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปจะหารือถึงปัญหานี้ในการประชุม ณ กรุงบรัสเซล เบลเยี่ยม ในวันที่ ๑๕ ตุลาคมนี้  ก่อนหน้านั้น เมื่อกลางเดือนกันยายน ในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโปรหรืออียู  ณ เกาะไซปรัส  ๓ ประเทศดังกล่าวก็ได้เรียกร้องประเทศสมาชิกอียูอื่นๆเห็นด้วยกับมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ต่ออิหร่านหลังจากที่การเจรจาระหว่างอียูกับกลุ่มพี๕ + ๑ ซึ่งประกอบด้วย ๕ ประเทศสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกับเยอรมนีเกี่ยวกับโครงการพัฒนานิวเคลียร์ขออิหร่านที่กำลังถูกถกเถียงกันอยู่ไม่ประสบผลอย่างก้าวกระโดด

ในด้านการทูตนั้น สหรัฐก็ได้มีมาตรการคว่ำบาตรระลอกใหม่ โดยเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน สหรัฐได้ปฏิเสธการออกวีซ่าให้แก่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของอิหร่านรวมทั้งรัฐมนตรี ๒ ท่านด้วย เพื่อเข้าร่วมการการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ณ มหานครนิวยอร์ค สหรัฐในสัปดาห์นี้  ซึ่งปฏิบัติการดังกล่าวของสหรัฐได้สร้างข้อครหาและกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐยังไม่ออกมาชี้แจงในประเด็นนี้  อันที่จริง ในฐานะเป็นประเทศเจ้าภาพสหรัฐมีนโยบายออกวีซ่าให้แก่สมาชิกคณะผู้แทนของประเทศต่างๆแม้จะมีการความขัดแย้งกันก็ตาม   ซึ่งต้นเหตุของสถานการณ์ดังกล่าวล้วนเกี่ยวข้องกับวิกฤตนิวเคลียร์ในอิหร่าน  ก่อนหน้านั้น รัฐสภาสหรัฐได้เห็นชอบมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านและประธานาธิบดี บารัค โอบามาก็ได้เซ็นอนุมัติแล้ว   นับเป็นมาตรการที่แข็งกร้าวเพื่อจำกัดการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน ส่งผลในทางลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนี้และไม่สามารถพัฒนาโครงการเสริมสมรรถภาพยูเรเนี่ยมให้เข้มข้น ส่วนวันที่ ๒๒ กันยายนที่ผ่านมา ณ กรุงวอชิงตัน วุฒิสภาสหรัฐได้ลงมติเห็นชอบกับมาตรการต่างๆเพื่อกดดันให้อิหร่านถอนโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของตน ด้วยเสียงสนับสนุน ๙๐ เสียงและคัดค้าน ๑ เสียง

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลอิหร่านภายใต้การนำของนาย มามุด อามาดีเนจาด ประธานาธิบดีได้ดำเนินมาตรการที่คล่องตัว  โดยในโอกาสให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายนที่ผ่านมา  นาย มามุด อามาดีเนจาด ได้ยืนยันว่า อิหร่านพร้อมที่จะตกลงเพื่อลดยูเรเนี่ยมที่ได้ผ่านการเพิ่มสมรรถภาพแล้วในคลังของตน แต่กลับแสดงความสงสัยต่อเจตตนาของฝ่ายตะวันตก  โดยนาย มามุด อามาดีเนจาด ได้ชี้ชัดถึงต้นเหตุของความวิตกกังวลของประเทศตะวันตกที่ไม่ใช่โครงการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่าน หากเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อทำลายรัฐบาลมุสลิมอิหร่านมากกว่า   วันที่ ๒๔ กันยายนที่ผ่านมา  นาย มามุด อามาดีเนจาด ได้กล่าวต่อที่ประชุมสหประชาชาติโดยติติงประเทศมหาอำนาจตะวันตกใช้สิทธิอัตวินิจฉัย ณ สหประชาชาติเกินขอบเขตในการถกเถียงเรื่องโครงการนิวเคลียร์กับอิหร่าน อีกทั้งยังปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ลบหลู่ศาสนาอิสลาม  นอกจากนี้ อิหร่านก็แสดงแสนยานุภาพทางทหารเพื่อตอบโต้ปฏิบัติการต่างๆของประเทศตะวันตก  โดยวันที่ ๒๔ กันยายนที่ผ่านมา อิหร่านได้โชว์รถหุ้มเกราะรุ่นจิ๋ว โฮเวย์เซห์และรถหุ้มเกราะบรรทุกทหาร ตาเลเอแยห์ โดยสำนักงานอุตสาหกรรมกลาโหมของอิหร่านออกแบบและผลิต  ซึ่งรถหุ้มเกราะสองรุ่นดังกล่าวสามารถติดตั้งอาวุธชนิดต่างๆ  ปฏิบัติในช่วงกลางคืน การซ่อมบำรุงและขนส่งด้วยเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์สะดวก   ส่วนวันที่ ๒๓ ที่ผ่านมา พลจัตวา อามีร์ อาลี ฮาจีซาเดห์ ได้กล่าวปราศรัยทางสถานีโทรทัศน์ อัล อาลาม ด้วยภาษาอาหรับของอิหร่านว่า อิหร่านอาจจะเปิดการโจมตีก่อนหากอิสราเอลเตรียมโจมตีพวกเขา  วันเดียวกัน เตหะรานก็ได้ประกาศว่า กองทัพอากาศของตนกำลังวางแผนซ้อมรบขนาดใหญ่ในทางทิศใต้ของประเทศในปลายปีนี้ตามปฏิทินของอิหร่านซึ่งตรงกับเดือนมีนาคม ๑๐๑๓  วันที่ ๒๑ กันยายน ที่กรุงเตหะราน ทางการอิหร่านได้จัดการสำแดงกำลังเพื่อแสดงแสนยานุภาพของอาวุธหนักชนิดต่างๆโดยมีการเข้าร่วมของ  นาย มามุด อามาดีเนจาด ประธานาธิบดี   นับเป็นกิจกรรมเปิดสัปดาห์การป้องกันประเทศของอิหร่าน

สถานการณ์ที่ตึงเครียดดังกล่าวนับวันร้อนระอุยิ่งขึ้นที่ไม่มองเห็นลู่ทางแก้ไขการเผชิญหน้าระหว่างสองฝ่ายในปัจจุบันได้  แม้ว่า รัสเซียและจีนได้ติติงมาตรการคว่ำบาตรของประเทศตะวันตกหลายครั้งแล้วก็ตาม แต่สำหรับประเทศตะวันตกนั้น ทางการของประธานาธิบดี มามุด อามาดีเนจาดเปรียบเสมือนเป็นหนามอันหนึ่งที่ต้องถอดออกให้ได้  ดังนั้น การติติงของรัสเซียและจีนก็ยากที่จะพลิกสถานการณ์กลับได้  ซึ่งกระแสประชามติกำลังวิตกเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดสงครามในตะวันออกกลาง ซึ่งถ้าเกิดสงครามจริงเปลวไฟแห่งสงครามในตะวันออกกลางคงจะหาข้อยุติไม่ได้ ./.


Komentar