(Photo Reuters) |
แค่ในเวลาสองสามวันเท่านั้น 9 ประเทศในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ และบาห์เรน ได้ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาต้าร์ รวมทั้งปิดน่านฟ้า น่านน้ำและประกาศให้พลเมืองของตนที่กำลังอาศัยในกาต้าร์กลับประเทศ โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบียได้ประกาศปิดชายแดน ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการขนส่งอาหารเข้าประเทศกาต้าร์ นี่เป็นครั้งแรกที่บรรดาประเทศอาหรับได้ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเหตุเพราะกาต้าร์ได้สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย
สาเหตุที่ทำให้ตะวันออกกลางเกิดการแตกแยก
วิกฤตทางการทูตระหว่างกาต้าร์กับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านในอ่าวเปอร์เซียได้เกิดขึ้นมากว่า 1 สัปดาห์และไม่มีทีท่าที่จะยุติ ในสภาวการณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน กองทัพเรือของอิหร่านได้ส่งเรือรบ 2 ลำไปยังประเทศโอมานซึ่งมีชายแดนติดกับ 3 ประเทศที่ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาต้าร์คือ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และเยเมน ก่อนหน้านั้น เตหะรานได้ขนส่งผัก 100 ตันโดยทางเครื่องบินไปให้กาต้าร์
บรรดาผู้สังเกตการณ์แสดงความคิดเห็นว่า วิกฤตนี้เป็นผลมาจากความตึงเครียดและการปะทะที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานในโลกอาหรับ ดังนั้นการคว่ำบาตรและโดดเดี่ยวกาต้าร์ที่ว่าประเทศนี้สนับสนุนการก่อการร้ายจึงเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วปัญหานี้มาจากนโยบายการทูตที่อิสระของกาต้าร์ ที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอิหร่านและทัศนะเกี่ยวกับองค์การภราดรภาพมุสลิมหรือเอ็มบีในภูมิภาค และความขัดแย้งที่ร้าวลึกมากขึ้นเนื่องจากวิกฤตอาหรับสปริงด์ที่ประชาชนในอียิปต์ ลิเบีย ซีเรีย ตูนิเซียและเยเมนออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลของตนเมื่อฤดูใบไม้ผลิปี 2011 ซึ่งทำให้กลุ่มประเทศอาหรับเริ่มเกิดความแตกแยก เพราะมีการแบ่งเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายสนับสนุนขบวการดังกล่าว นำโดยซาอุดิอาระเบีย อียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนฝ่ายที่เหลือคือกาต้าร์ซึ่งมีท่าทีเป็นคนกลาง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ถือว่า ท่าทีนี้ของกาต้าร์เดินสวนกับท่าทีของสมาชิกอื่นๆในภูมิภาคเพราะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ถือองค์การภราดรภาพมุสลิมเป็นภัยคุกคามต่อระบอบการเมืองในภูมิภาค ดังนั้น สาเหตุแท้จริงคือการแย่งชิงอำนาจในประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำมันนี้กับประเทศมหาอำนาจด้านน้ำมันอื่นๆในภูมิภาค
ความพยายามในการแก้ไขวิกฤต
จากสถานการณ์ดังกล่าว ประชาคมระหว่างประเทศกำลังพยายามคลี่คลายความตึงเครียดโดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ความอดกลั้นและการสนทนาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งดังกล่าว สหรัฐเรียกร้องให้ผ่อนการปิดกั้นกาตาร์ โดยถือว่า วิกฤตที่ไม่เคยมีมาก่อนนี้จะส่งผลกระทบในทางลบต่อการต่อต้านกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสที่นำโดยสหรัฐ ส่วนตูรกีได้ประกาศว่า พร้อมที่จะทำทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อลดความตึงเครียดและแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี อีกทั้งย้ำว่า การสนทนาจะเป็นมาตรการแก้ไขเดียวในทุกสภาวการณ์และประธานาธิบดีตุรกีได้ประกาศสนับสนุนกาต้าร์ต่อไปโดยเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งปิดกั้นต่างๆและเร่งรัดให้ซาอุดิอาระเบียมีบทบาทผลักดันความสัมพันธ์ที่ดีงามในภูมิภาค ส่วนจีนได้สนับสนุนประเทศที่เกี่ยวข้องให้มีปฏิบัติการเพื่อลดความแตกต่างและใช้ความอดกลั้นเพื่อไม่ให้ความตึงเครียดทวีความรุนแรงมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน คูเวต เป็นประเทศแรกที่ออกหน้าเพื่อแก้ไขวิกฤตทางการทูตในอ่าวเปอร์เซีย โดยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน กษัตริย์แห่งคูเวตทรงยืนยันว่า พร้อมทึ่จะทำทุกอย่างเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างบรรดาประเทศอาหรับ และในหลายวันที่ผ่านมา พระองค์ทรงเสด็จเยือนประเทศซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และกาต้าร์เพื่อแสวงหามาตรการแก้ไขทางการทูตและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายทำการเจรจาเพื่อแก้ไขวิกฤต ส่วนประเทศกาตาร์ได้ชื่นชมมาตรการดังกล่าวและพร้อมแสวงหารูปแบบการสนทนาที่เปิดเผยและจริงจังเพื่อแก้ไขวิกฤต เพราะว่าวิกฤตทุกด้านจะไม่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคหรือประเทศใดๆ ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อสังเกตว่า วิกฤตกาต้าร์ปัจจุบันคือช่วงที่ลำบากของภูมิภาคเท่านั้นและวิกฤตนี้จะได้รับการแก้ไขโดยผ่านมาตรการทางการทูต./.