ลิเบียตกเข้าสู่วงเวียนแห่งความไม่สงบอีกครั้ง

Ánh Huyền/VOV5
Chia sẻ

(VOVworld) –ภายหลังเกือบ๓ปีที่ระบอบของประธานาธิบดีโมอัมมาร์ กัดดาฟี ถูกโค่นล้ม ประเทศลิเบียยังคงไม่สามารถแสวงหาความสงบเพื่อพัฒนาประเทศได้และกำลังเผชิญกับการใช้ความรุนแรงและความแตกแยกที่ร้าวลึกที่ไม่เคยมีมาก่อนเนื่องจากการโจมตีและการปะทะระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มกบฏขยายวงกว้างทั่วประเทศ ความผันผวนล่าสุดในลิเบียในหลายวันที่ผ่านมา โดยเฉพาะ หลังจากที่รัฐสภาเฉพาะกาลลิเบียได้ลงมติปลดนายอาลี ไซดาน นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งได้ทำให้ประชามติระหว่างประเทศมีความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง

(VOVworld) –  ภายหลังเกือบ๓ปีที่ระบอบของประธานาธิบดีโมอัมมาร์ กัดดาฟี ถูกโค่นล้ม ประเทศลิเบียยังคงไม่สามารถแสวงหาความสงบเพื่อพัฒนาประเทศได้  ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศนี้กำลังเผชิญกับการใช้ความรุนแรงและความแตกแยกที่ร้าวลึกที่ไม่เคยมีมาก่อนเนื่องจากการโจมตีและการปะทะระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มกบฏขยายวงกว้างทั่วประเทศ ความผันผวนล่าสุดในลิเบียในหลายวันที่ผ่านมา โดยเฉพาะ หลังจากที่รัฐสภาเฉพาะกาลลิเบียได้ลงมติปลดนายอาลี ไซดาน นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งได้ทำให้ประชามติระหว่างประเทศมีความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง  

ลิเบียตกเข้าสู่วงเวียนแห่งความไม่สงบอีกครั้ง - ảnh 1
การโจมตีและการปะทะระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มกบฏขยายวงกว้างทั่วประเทศ (Photo:AP)

เมื่อวันที่๑๑มีนาคม สมัชชาประชาชนทั่วประเทศหรือรัฐสภาเฉพาะกาลลิเบียได้ลงมติปลดนายอาลี ไซดาน นายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งผ่านการลงมติไม่ไว้วางใจพร้อมประกาศแต่งตั้งนายอับดุลเลาะห์ อัล-ทานี รัฐมนตรีกลาโหมขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ   การลงมติไม่ไว้วางใจมีขึ้นภายหลังการเผชิญหน้าระหว่างทางการส่วนกลางในกรุงทริโปลีกับกลุ่มกบฏในภาคตะวันออกลิเบียในเรื่องการขายน้ำมัน

สาเหตุสำคัญคือ เรือบรรทุกน้ำมันสามารถแล่นฝ่าวงล้อมของกองทัพเรือลิเบียเพื่อขนถ่ายน้ำมันดิบออกจากท่าเรือทะเลที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังกบฏได้สำเร็จ รัฐบาลของนายไซดานได้ขู่ว่า จะใช้กำลัง รวมทั้งการโจมตีทางอากาศเพื่อสกัดไม่ให้ขนส่งน้ำมันออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเครือบริษัทปิโตรเลี่ยมแห่งชาติลิเบีย แต่ความพยายามทั้งปวงได้ประสบความล้มเหลวซึ่งเป็นข้ออ้างเพื่อตำหนิติติงความบกพร่องของทางการส่วนกลางทำให้นายไซดานต้องออกจากตำแหน่ง

ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เผ่าพันธุ์และภาค

หลังจากที่นายไซดานขึ้นกุมอำนาจ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี๒๐๑๒ รัฐบาลของเขาได้ประสบอุปสรรคนานัปการ เขาเป็นนักการเมืองอิสระที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเสรีแต่ไม่สามารถโน้มน้าวให้ฝ่ายค้านกลับใจได้ ในขณะที่ฝ่ายกบฎได้ยึดครองท่าเรือสำคัญต่างๆและกำลังเรียกร้องให้มีสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาลปกครองตนเองในภาคตะวันออก ในขณะนี้รัฐบาลลิเบียเคยพิจารณาถึงการใช้กองทัพเพื่อยึดคืนท่าเรือทะเลจากฝ่ายกบฎแต่สิ่งนี้อาจจะเป็นการจุดชนวนให้แก่สงครามกลางเมืองครั้งใหม่อีกทั้งทำให้โครงสร้างพื้นฐานการจุดเจาะน้ำมันของลิเบียที่ถูกผลกระทบอย่างหนักจากสงครามกลางเมืองเมื่อ๓ปีก่อนเสียหายซึ่งก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่รัฐสภาเฉพาะกาลและนายกรัฐมนตรีโยนความผิดให้แก่กัน

หลังกระแสการชุมนุมโค่นล้มระบอบของประธานาธิบดีโมอัมมาร์ กัดดาฟี ๓ปี รัฐบาลและรัฐสภาลิเบียนับวันถูกตำหนิติติงจากประชาชนมากขึ้นโดยพวกเขากล่าวหาว่า ทางการมีการทุจริตคอรัปชั่นและไม่สามารถสร้างสรรค์ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนได้โดยเมื่อเดือนก่อน การตัดสินใจขยายสมัยประชุมของรัฐสภาได้ถูกประท้วงอย่างรุนแรงจากประชาชนลิเบียนับพันคนซึ่งทำให้รัฐสภาต้องประกาศจัดการเลือกตั้งเร็วขึ้น การเลือกตั้งที่จัดขึ้น เมื่อวันที่๒๐กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพื่อเลือกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ รวมสมาชิก๖๐คน แบ่งเท่ากันใน๓เขตคือ Fezzanในภาคใต้  TripolitaniaในภาคตะวันตกและCyranaicaในภาคตะวันออก  รวมทั้ง ๖ที่นั่งให้แก่ชนกลุ่มน้อย๓เผ่าคือBerbers Toubous และTuareg  แต่การเลือกตั้งก็ไม่สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นได้เนื่องจากเกิดความไม่สงบในเขตเลือกตั้งบางแห่งซึ่งทำให้มีที่นั่งว่าง๑๓ที่นั่งจากทั้งหมด๖๐ที่นั่งของสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยพรรคการเมืองต่างๆไม่เข้าร่วมการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ มีแต่ผู้สมัครอิสระเข้าร่วมการเลือกตั้งเท่านั้น

ปัญหาด้านอำนาจในลิเบีย

ปัจจุบัน แม้จะลงมติปลดนายกรัฐมนตรีไซดานออกจากตำแหน่งแต่ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาจัดการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีผ่านรัฐสภาหรือการเลือกตั้งทั่วไป ประชามติเตือนว่า ความไม่สงบภายในประเทศจะยืดเยื้อต่อไป ถ้ารัฐสภาไม่มีความเห็นพ้องในการเลือกผู้ที่มาทำหน้าที่แทนนายไซดาน อีกทั้งเป็นความเสี่ยงที่จะกีดขวางความพยายามช่วยเหลือลิเบียจากนานาชาติและการหมุนเวียนอาวุธที่ไม่อาจควบคุมก็สร้างความล่อแหลมให้แก่กระบวนการฟื้นฟูประเทศนี้
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การลงมติไม่ไว้วางใจที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความไม่สงบในลิเบียและแม้การเลือกตั้งครั้งใหม่จะได้รับการจัดขึ้นแต่ในอนาคต การเมืองของประเทศนี้ยากที่จะมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน ถ้าไม่มีความเห็นพ้องภายใน ยากที่จะจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่เนื่องจากฝ่ายๆในลิเบียไม่สามารถประนีประนอมผลประโยชน์กันได้./.

Komentar