(VOVworld)-ในขณะที่วิกฤตของยูเครนยังไม่มีสัญญาณคลี่คลาย ก็ได้เกิดความขัดเเย้งที่ถือว่ารุนแรงที่สุดระหว่างรัสเซียกับสหภาพยุโรปและสหรัฐคือการที่รัสเซียส่งกำลังทหารเข้าสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียแห่งยูเครนเพื่อปกป้องพลเมืองรัสเซีย ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ส่งผลให้ความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยราบรื่นระหว่างรัสเซียและฝ่ายตะวันตกหลังยุคสงครามเย็นยิ่งถลำลึก
นายปูตินได้กล่าวถึงจุดยืนของตนในการส่งทหารไปยังไครเมียว่าเป็นเพียงมาตรการปกป้องสวัสดิภาพของพลเมืองรัสเซียต่อภัยคุกคามจากกลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรงในยูเครน(AP)
|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายวันที่ผ่านมาของทุกฝ่ายได้สะท้อนถึงความเร่งรีบในการหาทางออกแก่ปัญหาของยูเครน โดยทั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้และสหภาพยุโรปหรืออียูต่างเรียกประชุมฉุกเฉิน ส่วนผู้นำหลายชาติตะวันตกก็ได้มีการหารือทางโทรศัพท์เป็นเวลานานกับประธานาธิบดีรัสเซียปูตินพร้อมมีคำเตือนให้รัสเซียระมัดระวังในการปฏิบัติ
ตะวันตกประกาศมาตรการคว่ำบาตร
โดยนางแคทเธอรีน แอซตัน หัวหน้าตัวแทนฝ่ายความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศของอียูได้เผยว่า อียูกำลังพิจารณามาตรการคว่ำบาตรบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยการระงับความสัมพันธ์หรือไม่ออกวีซ่าเข้าอียู ทางด้านรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีแฟร็งค์- วอลเตอร์ สไตน์ไมเออร์ ได้ประกาศว่าถ้ารัสเซียไม่มีปฏิบัติการที่น่าไว้ใจก็จะกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับอียู รวมทั้งการเจรจาว่าด้วยการผ่อนปรนการออกวีซ่าต่อพลเมืองรัสเซียและข้อตกลงหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างรัสเซีย-อียูตลอดจนการอายัดบัญชีธนาคารของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซีย
ส่วนในการหารือทางโทรศัพท์เป็นเวลา90นาทีกับประธานาธิบดีรัสเซียปูติน นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐก็เตือนว่าการที่มอสโคว์ปฏิเสธการถอนกำลังทหารกลับฐานทัพที่ตั้งในไครเมียก็จะส่งผลเสียต่อชื่อเสียงของรัสเซียในเวทีโลกและรัสเซียจะต้องเผชิญกับการโดดเดี่ยวทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ หลังจากออกคำเตือนรัสเซีย วอชิงตันก็ประกาศระงับการเจรจาทางการค้าและการลงทุนกับทางการมอสโคว์ ส่วนเพนตาก้อนได้ประกาศระงับความร่วมมือด้านการทหารที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตในยูเครน รวมทั้ง การซ้อมรบและการเยือนท่าเรือ
ทางด้านการค้า สหรัฐ แคนาดา อังกฤษและฝรั่งเศสต่างประกาศระงับกระบวนการเตรียมความพร้อมให้แก่การประชุมสุดยอดจี8 ณ เมืองโซชิ ของรัสเซียในเดือนมิถุนายนนี้ ในขณะที่นาโต้ได้กล่าวว่า สถานการณ์ทั้งในยูเครนและรอบปัญหายูเครนอาจจะคุกคามความมั่นคงของประเทศสมาชิกของนาโต้ที่มีชายแดนติดกับประเทศนี้รวมไปถึงเสถียรภาพของภูมิภาคยุโรป-มหาสมุทรแอตแลนติก
นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐหารือทางโทรศัพท์เป็นเวลา90นาทีกับประธานาธิบดีรัสเซียปูติน (Reuter)
|
ท่าทีที่แข็งกร้าวของรัสเซีย
ต่อสถานการณ์ดังกล่าว ประธานาธิบดีรัสเซียได้กล่าวถึงจุดยืนของตนในการส่งทหารไปยังไครเมียว่าเป็นเพียงมาตรการปกป้องสวัสดิภาพของพลเมืองรัสเซียต่อภัยคุกคามจากกลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรงในยูเครนและจนถึงขณะนี้การกระทำต่างๆของรัสเซียในปัญหายูเครนถือว่าเหมาะสมเพื่อเป้าหมายช่วยปรับสถานการณ์อย่างสันติ ซึ่งรัสเซียเห็นว่าการตำหนิของนาโต้ที่ว่ามอสโคว์กำลังคุกคามสันติภาพและความมั่นคงในยุโรปจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ยูเครนดีขึ้น โดยรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียเซอร์เก ลาฟรอฟ ได้ติติงคำขู่ที่จะใช้มาตรการคว่ำบาตรของฝ่ายตะวันตกที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของรัสเซียในปัญหาของยูเครน
สิ่งที่สำคัญคือทุกฝ่ายต้องร่วมสนทนากัน
ในขณะเดียวกันถึงแม้ได้ออกมาเตือนรัสเซียให้ระมัดระวังแต่ก็มีหลายประเทศตะวันตกไม่ค่อยเชื่อมั่นต่อประสิทธิภาพของมาตรการเหล่านี้ โดยวุฒิสมาชิก กรีส เมอร์ฟี ประธานคณะอนุกรรมการยุโรปแห่งคณะกรรมาธิการต่างประเทศวุฒิสภาสหรัฐได้กล่าวว่า การที่สหรัฐจะปฏิบัติมาตรการคว่ำบาตรแต่เพียงฝ่ายเดียวจะไม่ได้ผลถ้าหากไม่ร่วมมือปฏิบัติพร้อมกับฝ่ายยุโรป ส่วนอดีตรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ โรเบอร์ต เกตส์ เตือนว่า ประธานาธิบดีโอบามาควรพิจารณาอย่างรอบคอบต่อท่าทีที่มีต่อรัสเซียเพราะสหรัฐอาจจะประสบอุปสรรคถ้าหากพันธมิตรในยุโรปไม่มีปฏิบัติการที่เข้มแข็งเท่าตามที่พูดไว้ วุฒิสมาชิกจอนห์มัคเคน ยอมรับว่าการบอยคอตการประชุมสุดยอดจี8ที่จะจัดขึ้น ณ รัสเซีย เป็นเรื่องที่น่าขบขันและไม่สามารถป้องปรามใครได้ ส่วนฝ่ายเยอรมนีก็คัดค้านการปลดสมาชิกภาพจี8ของรัสเซียและเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ที่สหรัฐอาจจะใช้มาตรการคว่ำบาตรด้านธนาคารโดยการอายัดบัญชีการเงินของรัสเซียซึ่งเป็นมาตรการที่เคยทำกับอิหร่านนั้นก็ยากที่จะสำเร็จเพราะยุโรปจะเป็นฝ่ายคัดค้านอันดับแรกเนื่องจากมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับรัสเซีย โดยรัฐมนตรีต่างประเทศลักเซมเบิร์กได้เผยว่า รัสเซียได้สนองพลังงานร้อยละ25แก่อียู และสหรัฐก็ไม่อาจมองข้ามบทบาทที่สำคัญไม่น้อยของรัสเซียในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศอื่นๆโดยเฉพาะปัญหาของซีเรียและอิหร่าน
ตามความเห็นของผู้สังเกตการณ์นานาชาติ ปัญหาของไครเมียจะกลายเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างรัสเซียและฝ่ายตะวันตกนับตั้งแต่ยุคสงครามเย็นอย่างแน่นอนและการแก้ไขโดยใช้มาตรการคว่ำบาตรจากไม่ว่าฝ่ายใดก็ตามจะไม่ใช่ทางออกและมาตรการที่ควรใช้คือร่วมกันสนทนาอย่างเปิดเผยและจริงจัง./.