ร่วมมือเพื่อผลประโยชน์จะดีกว่าการพิพาทกัน

Huyen-VOV5
Chia sẻ
( VOVworld ) - วันที่ ๒๑ เดือนนี้  เจ้าหน้าที่ฝ่ายการค้าระดับสูงของ ๓ ประเทศได้แก่ จีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้ได้มีการพบปะกัน ณ นคร ซิงเต๋า ทางภาคเหนือของจีนเพื่อเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอระหว่างสามฝ่ายต่อไป   การเจรจาครั้งนี้มีขึ้นในขณะที่ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง ๓ ประเทศยังคงตึงเครียดเนื่องจากเหตุพิพาททางดินแดนเมื่อเร็วๆนี้ แต่วงการวิเคราะห์สถานการณ์เห็นว่า การพิพาทเหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อกระบวนการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอเพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหาศาลจากที่แต่ละประเทศจะได้จากเอฟทีเอ

ร่วมมือเพื่อผลประโยชน์จะดีกว่าการพิพาทกัน - ảnh 1
จีน-ญี่ปุ่น-สาธารณรัฐเกาหลีใกล้จะเข้าถึงเขตการค้าเสรี

( VOVworld ) - วันที่ ๒๑ เดือนนี้  เจ้าหน้าที่ฝ่ายการค้าระดับสูงของ ๓ ประเทศได้แก่ จีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้ได้มีการพบปะกัน ณ นคร ซิงเต๋า ทางภาคเหนือของจีนเพื่อเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอระหว่างสามฝ่ายต่อไป   การเจรจาครั้งนี้มีขึ้นในขณะที่ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง ๓ ประเทศยังคงตึงเครียดเนื่องจากเหตุพิพาททางดินแดนเมื่อเร็วๆนี้ แต่วงการวิเคราะห์สถานการณ์เห็นว่า การพิพาทเหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อกระบวนการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีหรือ เอฟทีเอเพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหาศาลจากที่แต่ละประเทศจะได้จากเอฟทีเอ

ข่าวจากเว็บไซต์ของสถานีวิทยุและโทรทัศน์เคบีเอสของสาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้รายงานว่า ในการพบปะครั้งนี้  ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องจะแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นอาทิเช่น หลักการพื้นฐานของข้อตกลงการค้าระหว่าง ๓ ฝ่าย  ขอบเขตของเศรษฐกิจด้านต่างๆ ปัญหาเกี่ยวกับระเบียบ การดำเนินตามสัญญาที่ได้ให้ไว้ โดยเฉพาะคำมั่นสัญญาที่ได้ผ่านความเห็นชอบ ใน การเจรจารอบแรกเกี่ยวกับเอฟทีเอ ณ ญี่ปุ่นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา  ตลอดจนความตั้งใจอันแน่วแน่ในการจัดการเจรจาครั้งสำคัญๆก่อนปลายปีนี้เพื่อนำไปสู่ข้อตกลงการค้าเสรี ๓ ฝ่ายโดยเร็ว

ร่วมมือเพื่อผลประโยชน์จะดีกว่าการพิพาทกัน - ảnh 2
หมู่เกาะพิพาทเซนกากุ(ภาษาญี่ปุ่น )-เตียวหยู( ภาษาจีน )ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการหยิบยกปัญหาข้อตกลงการค้าเสรี ๓ ฝ่ายมาหารือ  โดยเมื่อปี ๒๐๐๒ ปักกิ่งได้เสนอข้อคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ตั้งแต่นั้นมาทั้ง ๓ ประเทศก็ได้แสดงความตั้งใจในการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรี ๓ ฝ่ายซึ่งส่งผลให้การค้าระหว่างสามประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ใน ๑๐ ปีที่ผ่านมา การค้าระหว่าง ๓ ประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า ๕ เท่าซึ่งทะลุ ๖ ล้าน ๙ แสนล้านเหรียญสหรัฐ จีนได้กลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ส่วนญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีได้กลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่รายอันดับที่ ๔ และ ๖ ของจีนตามลำดับ  ปี ๒๐๑๑ การค้าระหว่างจีนกับญี่ปุ่นมีมูลค่ากว่า  ๓ ล้าน ๔ แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๒ เมื่อเทียบกับปี ๒๐๑๐  ส่วนการค้าระหว่างจีนกับสาธารณรัฐเกาหลีมีมูลค่า ๒ ล้าน ๕ แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น ๓ ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี ๒๐๑๕

นอกจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มากมายแล้ว ข้อตกลงการค้าเสรี ๓ ฝ่ายยังมีผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ที่แต่ละประเทศต่างมองเห็น  โดยเมื่อก่อนนี้ จีนไม่ค่อยให้ความสนใจกับข้อตกลงฉบับนี้ แต่ในสภาวการณ์ที่สาธารณรัฐเกาหลีและสหรัฐได้สร้างเขตการค้าเสรี ส่วนญี่ปุ่นได้เข้าร่วมข้อตกลงเศรษฐกิจข้ามแปซิฟิกหรือทีพีพีโดยสหรัฐเป็นผู้ริเริ่มนั้น และจากที่ไม่อยากถูกโดดเดี่ยวในเอเชีย-แปซิฟิกโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ จีนจึงเข้าร่วมข้อตกลงเอฟทีเอดังกล่าวเพื่อควบคุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ จากศักยภาพทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของตน จีนหวังว่า หลังจากได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี ๓ ฝ่ายแล้วจะสามารถรักษาฐานะทางเศรษฐกิจที่เข้มเข็งที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือโดยญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีต้องพึ่งตลาดใหญ่ของจีน  สำหรับญี่ปุ่น ข้อตกลงการค้าเสรี ๓ ฝ่ายจะช่วยในการขยายตลาดให้แก่สินค้าของตนในประเทศจีน ส่วนข้อตกลงทางเศรษฐกิจข้ามแปซิฟิกหรือทีพีพีจะเป็นเครื่องมือให้ญี่ปุ่นถ่วงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจกับจีน  ส่วนสาธารณรัฐเกาหลี นับตั้งแต่กลายเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางการค้าสูงนั้นก็ยังไม่ยอมนิ่งเฉยให้สองประเทศคือจีนและญี่ปุ่นจัดตั้งเขตการค้าเสรีที่ทำให้สินค้าของตนเสียเปรียบในตลาดของสองประเทศนี้

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า  ข้อตกลงการค้าเสรี ๓ ฝ่ายมีผลประโยชน์มหาศาลที่ไม่ควรมองข้าม แต่กระบวนการเจรจานี้กำลังประสบกับอุปสรรคจากการเมือง การทูต การทหารและสิทธิผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ที่ขัดแย้งกัน  ซึ่งจุดนี้ได้ทำให้ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องไม่สามารถแสวงหาเสียงพูดตรงที่กันได้ในตลอด ๑๐ ปีที่ผ่านมา   อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปที่นับวันยิ่งเลวลง เศรษฐกิจสหรัฐซบเซา ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกำลังกลายเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจพัฒนาอย่างคล่องตัวของโลก ทั้งสามประเทศจึงต้องมีความคิดที่คล่องตัวในลักษณะสร้างสรรค์มากขึ้น   ดังนั้น การที่ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องปิดฉากการพิพาทเกี่ยวกับดินแดนที่ตึงเครียดเป็นการชั่วคราวเพื่อหันมานั่งเจรจาหารือกันเพื่อหาหนทางที่เอื้อให้แก่การเจรจาทางการค้าจึงถือเป็นหนทางที่เหมาะกับแนวโน้มในปัจจุบัน

ร่วมมือเพื่อผลประโยชน์จะดีกว่าการพิพาทกัน - ảnh 3
หมู่เกาะพิพ่ทระหว่างญี่ปุ่นกับสาธารณรัฐเกาหลี
( ทาเมชิมะภาษาญี่ปุ่น- ดอกโดภาษาเกลาหลีี )

เพื่อเตรียมแก่การพบปะครั้งสำคัญนี้  วงการการค้าระหว่างสามประเทศได้มีการพบปะกันที่ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อเจรจารอบแรกเกี่ยวกับเขตการค้าเสรี  ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนพฤษภาคม รัฐมนตรีพาณิชย์ ๓ ประเทศได้มีการพบปะกัน ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนและได้เห็นพ้องกันที่จะเริ่มทำการเจรจาสำคัญๆในปลายปีนี้เพื่อลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการค้าเสรี ๓ ฝ่าย  ส่วนในการประชุมสุดยอดระหว่างจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีครั้งที่ ๕ ณ กรุงปักกิ่งเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ทั้งสามประเทศได้ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการขยายความสัมพันธ์และร่วมมือในทุกด้านและคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับการขยายความร่วมมือเพื่อมุ่งสู่อนาคต  บรรดาผู้นำได้ยืนยันที่จะผลักดันความร่วมมือโดยยึดทัศนะเกี่ยวกับการสร้างบรรยากาศการแข่งขันทางการค้าและการลงทุนเป็นหลัก  ส่วนก่อนการพบปะครั้งนี้ เพื่อลดความตึงเครียดระหว่างจีนกับญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับการพิพาทในหมู่เกาะเตียวหยูตามภาษาจีนและเซนกากุตามภาษาญี่ปุ่น เมื่อวันที่ ๒๐ เดือนนี้ ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน นายโอซามุ ฟูจิมูระปลัดสำนักรัฐบาลญี่ปุ่นได้ชี้ชัดว่า ทั้งสองประเทศไม่ได้ประสงค์ให้การพิพาทเกี่ยวกับหมู่เกาะจะส่งผลกระทบในทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ  ความสัมพันธ์กับจีนถือเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญสำหรับญี่ปุ่นและจำเป็นอย่างยิ่งต่อความมีเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งทางการโตเกียวประสงค์ที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ที่มีประโยชน์ให้กับทั้งสองประเทศอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

มีลู่ทางที่แจ่มใสต่อข้อตกลงการค้าเสรี ๓ ฝ่าย  ซึ่งความสำเร็จในการเจรจาว่าด้วยข้อตกลงฉบับนี้สำหรับประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ใน ๑๐ ประเทศอันดับแรกของประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนาอย่างเข้มแข็งของโลกจะเป็นพลังขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วมากขึ้น  อีกทั้งยังเป็นปัจจัยส่งผลในทางบวกต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจในภูมิภาคและลดแรงกดดันต่อวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน ./.

Komentar