รักษาการปฏิบัตินโยบายแก้ปัญหาความยากจนอย่างรอบด้าน

็Hồng Vân-VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – ตามกำหนดการ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2016 เป็นต้นไป เวียดนามจะปฏิบัตินโยบายประเมินความยากจนอย่างรอบด้านตามมาตรฐานต่างๆซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ได้รับการคาดหวังว่า คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ยากจนจะดีขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า ปัจจุบัน กระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทางการท้องถิ่นต่างๆกำลังเตรียมพร้อมอย่างเข้มแข็งเพื่อปฏิบัตินโยบายให้มีประสิทธิภาพที่สุด

(VOVworld)ตามกำหนดการ นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2016 เป็นต้นไป เวียดนามจะปฏิบัตินโยบายประเมินความยากจนอย่างรอบด้านตามมาตรฐานต่างๆซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ได้รับการคาดหวังว่า คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ยากจนจะดีขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า ปัจจุบัน กระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทางการท้องถิ่นต่างๆกำลังเตรียมพร้อมอย่างเข้มแข็งเพื่อปฏิบัตินโยบายให้มีประสิทธิภาพที่สุด

รักษาการปฏิบัตินโยบายแก้ปัญหาความยากจนอย่างรอบด้าน - ảnh 1
มาตรฐานความยากจนในช่วงปี 2016-2020 ของเวียดนามได้รับการจัดทำตามมาตรฐานเกี่ยวกับรายได้และระดับการขาดแคลนการเข้าถึงบริการสังคมขั้นพื้นฐาน


เมื่อหลายปีก่อน มาตรฐานการประเมินครอบครัวยากจนอาศัยการชี้วัดจากรายได้โดยความยากจนถูกกำหนดบนพื้นฐานของค่าใช้จ่ายที่ตอบสนองความต้องการขั้นต่ำและถูกกำหนดเป็นเงินสดเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนปี2015 นายกรัฐมนตรี เหงียนเติ๊นหยุงได้ลงนามอนุมัติโครงการแบบบูรณาการ “เปลี่ยนแปลงมาตรการวัดระดับความยากจนจากมิติเดียวมาเป็นหลายด้านในช่วงปี 2016-2020” โดยมาตรฐานความยากจนในช่วงปี 2016-2020 ของเวียดนามได้รับการจัดทำตามมาตรฐานเกี่ยวกับรายได้และระดับการขาดแคลนการเข้าถึงบริการสังคมขั้นพื้นฐานและเพื่อให้นโยบายเกิดประสิทธิผล ต้องเตรียมทั้งด้านความสามารถและแหล่งพลัง ตลอดจนการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างทางการและหน่วยงานทุกระดับ
ปฏิบัติอย่างพร้อมเพรียงในส่วนกลาง
ตามโครงการ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2015 สำนักงานที่เกี่ยวข้องจะรวบรวมและรายงานผลการสำรวจ กำหนดกลุ่มเป้าหมายต่างๆตามมาตรฐานความยากจนของประเทศและของแต่ละท้องถิ่นอย่างรอบด้านและรายงานของนายกรัฐมนตรี ควบคู่กันนั้นคือการจัดทำซอฟแวร์ออนไลน์เพื่อบริหารเป้าหมายยากจนในทั่วประเทศ จัดเก็บข้อมูลการสำรวจเพื่อประเมินผลการปฏิบัตินโยบายแก้ปัญหาความยากจน นายกรัฐมนตรี เหงียนเติ๊นหยุงได้เผยว่า“รัฐบาลได้สั่งให้กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆตรวจสอบ กำหนดจำนวนครอบครัวยากจน ครอบครัวที่จะตกเป็นผู้ยากจนตามมาตรฐานใหม่และเตรียมเงื่อนไขต่างๆเพื่อปฏิบัติในปี 2016 ควบคู่กับการปฏิบัติโครงการเป้าหมายแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนในช่วงปี 2016-2020 ที่รัฐสภาเพิ่งอนุมัติ พร้อมทั้งปรับปรุงและปฏิบัตินโยบายพิเศษสำหรับเขตที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยและเขตยากจนพิเศษ โดยเฉพาะที่ดินเพื่อการผลิต ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย น้ำสะอาด สาธารณสุข การศึกษา การพัฒนาอาชีพ การส่งเสริมการเกษตรและป่าไม้ให้มีความสมบูรณ์”

รักษาการปฏิบัตินโยบายแก้ปัญหาความยากจนอย่างรอบด้าน - ảnh 2
รัฐบาลให้ความสนใจถึงชนกลุ่มน้อยในการแก้ปัญหาความยากจน


ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี กระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมได้ประสานกับทบวงสถิติและกระทรวง หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจัดทำมาตรฐานเกี่ยวกับค่าครองชีพขั้นต่ำ มาตรฐานความยากจนที่ระบุในนโยบาย มาตรฐานครอบครัวยากจนและครอบครัวที่จะตกเป็นผู้ยากจนเพื่อยื่นเสนอต่อนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ กระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมก็เพิ่งเสร็จสิ้นการฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์ให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับตำบลและอำเภอเพื่อมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาความยากจนอย่างรอบด้าน ในขณะเดียวกัน กระทรวงวางแผนและการลงทุนจะประกาศอัตราการขาดแคลนความต้องการด้านสังคมของประเทศและแต่ละท้องถิ่น วิเคราะห์ระดับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของเขต นโยบายแก้ปัญหาความยากจนและสวัสดิการสังคม คาดว่า เพื่อปฏิบัตินโยบายแก้ปัญหาความยากจนอย่างรอบด้านในปี 2016 ต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน 1 หมื่น 5 พันล้านด่งเพื่อให้การช่วยเหลือคนจนและผู้ที่จะตกเป็นคนจน ดังนั้น กระทรวงการคลังต้องรับผิดชอบในการจัดหาแหล่งงบประมาณ นอกจากนั้น กระทรวงและหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาและฝึกอบรมและกระทรวงการก่อสร้างต้องมีส่วนร่วมเสนอมาตรการต่างๆเพื่อยกระดับความสามารถในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชน เพิ่มอัตราเด็กไปโรงเรียนตรงตามเกณฑ์อายุ เพิ่มอัตราประชาชนที่มีที่อยู่อาศัย
ท้องถิ่นเข้าร่วมอย่างเข้มแข็ง
นาย โงเจื่องที หัวหน้าสำนักงานแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนได้เผยว่า แนวทางปฏิบัติการแก้ปัญหาความยากจนในระยะต่อไปคือผลักดันการกำหนดการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น ดังนั้น คณะกรรมการประชาชนจังหวัดและนครต้องชี้นำการสำรวจ กำหนดเป้าหมายของนโยบายแก้ปัญหาความยากจนและสวัสดิการสังคมอย่างต่อเนื่อง เป็นฝ่ายรุกในการจัดทำมาตรการเพื่อยกระดับความสามารถในการเข้าถึงบริการสังคมขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น จังหวัดและนครบางแห่งได้เตรียมจัดการประชุมปฏิบัติโครงการแบบบูรณาการ “การเปลี่ยนแปลงมาตรการวัดความยากจนจากมิติเดียวมาเป็นหลายด้านที่จะปฏิบัติในช่วงปี 2016-2020” เปิดฝึกอบรม แนะนำวิธีการ กระบวนการสำรวจครอบครัวยากจน ครอบครัวที่จะตกเป็นผู้ยากจนให้แก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น บนพื้นฐานเงื่อนไขและความสามารถของท้องถิ่น จังหวัดและนครสังกัดส่วนกลางสามารถเพิ่มเติมความต้องการด้านสังคมในขั้นพื้นฐาน ต้องทำการตรวจสอบนโยบายอย่างพร้อมเพรียงเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน การเสนอให้ประกาศใช้นโยบายที่ให้ความสนใจถึงการเป็นฝ่ายรุกเพื่อหลุดพ้นจากความยากจนของประชาชน นาย เหงียนเลิมแถ่ง รองประธานสภาชนเผ่าแห่งรัฐสภาได้แสดงความเห็นว่า“การเปลี่ยนแปลงวิธีการเข้าถึงเพื่อยกระดับความสามารถการเป็นตัวของตัวเองและก้าวรุดหน้าไปของประชาชนคือพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ลดแนวคิดรอการช่วยเหลือจากรัฐของคนจนบางส่วน นโยบายแก้ปัญหาความยากจนต้องลดเบี้ยผู้ยากจนและการช่วยเหลือต้องมีเงื่อนไขที่เป็นรูปธรรมซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม”
การเปลี่ยนแปลงมาตรการเข้าถึงความยากจนมิติเดียวมาเป็นรอบด้านต้องดำเนินตามกระบวนการ แต่การเตรียมพร้อมอย่างเคร่งครัดเพื่อให้หน่วยงานและท้องถิ่นทุกระดับปฏิบัติจะช่วยให้การปฏิบัติแนวทางนี้มีประสิทธิภาพที่รวดเร็วมากขึ้นตามที่ได้ระบุในรัฐธรรมนูญปี 2013 คือ “พลเมืองมีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง”. 

Komentar