กระแสผู้อพยพในสถานีโรถไฟKeleti ในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี(Photo: AFP/TTXVN)
|
คำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมยุโรป เมื่อวันที่6กันยายน ได้ชี้ชัดว่า “ศาลปฏิเสธการคัดค้านของสโลวาเกียและฮังการีต่อระเบียบการชั่วคราวเกี่ยวกับการจัดสรรผู้อพยพ” ตามคำวินิจฉัยดังกล่าว ฮังการีจะต้องรับผู้อพยพกว่า1,200คนและสโลวาเกียต้องรับผู้อพยพ800คน
การจัดสรรโควต้าผู้อพยพถูกคัดค้านนับตั้งแต่2ปีก่อน
สถานการณ์ที่เป็นจริงได้แสดงให้เห็นว่า ได้เกิดความแตกแยกระหว่างประเทศสมาชิกอียูนับตั้งแต่ที่อียูประกาศโครงการจัดสรรโควต้าผู้อพยพ โดยมีเป้าหมายเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ให้แก่ผู้อพยพ160,000คนเมื่อปี2015 โดยศาลยุติธรรมยุโรปได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกต้องร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งจำนวนผู้อพยพที่แต่ละประเทศจะรับนั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพของตน ในขณะที่ประเทศใหญ่ๆที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจอย่างเช่นเยอรมนีรับผู้อพยพร้อยละ20 ฝรั่งเศสรับร้อยละ15 ส่วนประเทศในภูมิภาคยุโรปตะวันออกอย่างเช่น ฮังการีและสโลวาเกียรับร้อยละ1-2 แม้การจัดสรรผู้อพยพดังกล่าวได้รับการอนุมัตินับตั้งแต่เดือนกันยายนปี2015แต่แผนการดังกล่าวยังคงถูกคัดค้านจากประเทศต่างๆในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก รวมทั้ง สโลวาเกีย ฮังการี สาธารณรัฐเช็กและโรมาเนีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้ลงคะแนนคัดค้านการจัดสรรผู้อพยพดังกล่าว ดังนั้น ตามข้อมูลสถิติ จนถึงเดือนกรกฎาคมปี2017 มีผู้อพยพประมาณ2หมื่นคนที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานใหม่ตามแผนการ ซึ่งเยอรมนีเป็นประเทศที่รับผู้อพยพมากที่สุดคือ4พันคน รองลงมาคือฝรั่งเศสรับกว่า3700คน เนเธอแลนด์รับเกือบ1600คนและสวีเดนรับประมาณ1200คน ฮังการีและโปแลนด์ยังไม่ได้เปิดรับผู้อพยพ ส่วนสาธารณรัฐเช็กก็ได้ปฏิเสธการรับผู้อพยพในตลอดกว่า1ปีที่ผ่านมาและสำหรับสโลวาเกียก็รับผู้อพยพเพียงจำนวนน้อย้ท่านั้น
มีหลายสาเหตุที่ทำให้ประเทศต่างๆในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกปฏิเสธการรับผู้อพยพ 1คือ ประเทศเหล่านี้เห็นว่า การจัดสรรโควต้าผู้อพยพต่อประเทศสมาชิกที่มีอธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ 2คือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออกและยุโรปกลางเป็นประเทศที่ยากจนในยุโรป 3คือ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาด้านความมั่นคง ซึ่งเหตุโจมตีก่อการร้ายครั้งล่าสุดในประเทศยุโรปตะวันตกเมื่อเร็วๆนี้ รวมทั้ง เหตุโจมตีในอังกฤษและเยอรมนีได้สร้างความวิตกกังวลต่อความเป็นไปได้ที่เหตุโจมตีก่อการร้ายอาจเกิดขึ้นในประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก
ผู้อพยพในเขตชายแดนระหว่างเซอร์เบียกับโครเอเชีย(Photo: AFP/TTXVN) |
ยุโรปถูกแตกแยกเนื่องจากการจัดสรรโควต้าผู้อพยพต่อไป
คำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมยุโรป เมื่อวันที่6กันยายนถือเป็นความล้มเหลวของอียูเกี่ยวกับความสามัคคีและความเป็นเอกภาพ โดยหลังจากที่ศาลยุติธรรมยุโรปออกคำวินิจฉัยดังกล่าว นายกรัฐมนตรีสโลวาเกีย Robert Fico ได้เผยว่า จะไม่เปลี่ยนแปลงจุดยืนต่อแผนการดังกล่าว สโลวาเกียจะแก้ไขปัญหานี้ต่อไป ส่วนนาย Peter Szijjarto รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฮังการีได้ตำหนิการตัดสินใจดังกล่าวของศาลยุติธรรมยุโรปว่า เป็นการประกาศที่ไร้ความรับผิดชอบและไม่อาจยอมรับได้ คุกคามต่อความมั่นคงและอนาคตของยุโรป ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเช็ก มิลอส เซมาน ได้ยืนยันว่า สาธารณรัฐเช็กไม่จำเป็นต้องยอมรับการจัดสรรคโควต้าผู้อพยพระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้ง ย้ำว่า พร้อมสละความช่วยเหลือทางการเงินของอียูเพื่อแลกกับการไม่รับผู้อพยพ โดยทางการปรากจะมีส่วนร่วมแก้ไขวิกฤตนี้ผ่านวิธีอื่น หลังประกาศดังกล่าวของประธานาธิบดีมิลอส เซมาน สาธารณรัฐเช็กได้เสริมกำลังตำรวจอีก1100นายเพื่อปกป้องเขตชายแดน เฝ้าติดตามสถานการณ์และตรวจสอบยานพาหนะ
ส่วนนาย ฌอง-โคลด ยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมการยุโรปได้เตือนว่า ประเทศที่คัดค้านแผนการดังกล่าวจะไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากการบริหารผู้อพยพ ส่วนนาย Dimitris Avramopoulos ตัวแทนระดับสูงของอียูเกี่ยวกับผู้อพยพได้ยืนยันว่า ฮังการี สาธารณรัฐเช็กและโปแลนด์จะถูกลงโทษตามข้อกำหนดของกลุ่มถ้าหากไม่ปฏิบัติภาระหน้าที่ของตน เมื่อวันที่10กันยายน นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้เตือนว่า มีความเป็นไปได้ที่ประเทศต่างๆที่ไม่เข้าร่วมแผนการดังกล่าวจะถูกปฏิเสธความช่วยเหลือในด้านต่างๆ พร้อมทั้ง ยืนยันว่า ถ้าไม่มีความสามัคคีในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพ ก็จะไม่มีความสามัคคีในด้านอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมโยงภายในอียู
ความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกอียูเกี่ยวกับแผนการจัดสรรโควต้าผู้อพยพได้ขัดขวางการปฏิบัติคำมั่นของอียูในการลดภาระให้แก่กรีซและอิตาลี ซึ่งเป็น2ประเทศอยู่ด่านหน้าในการรับผู้อพยพนับตั้งแต่ปี2015 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมยุโรปได้แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกภายในอียู ซึ่งทำให้อียูประสบอุปสรรคมากมายในสภาวการณ์ที่อียูกำลังพยายามแก้ไขผลเสียหายจากการถอนตัวออกจากอียูของอังกฤษ.