มรสุมในความสัมพันธ์ครั้งใหม่ระหว่างรัสเซียกับยูเครน

Hồng Vân/VOV5
Chia sẻ

(VOVworld)เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับยูเครนไม่เป็นไปอย่างราบรื่น หลังจากรัสเซียกล่าวหายูเครนว่า มีแผนโจมตีก่อการร้ายในเขตแหลมไครเมีย เพื่อสร้างการปะทะครั้งใหม่ในภูมิภาคนี้ นี่ถือเป็นการเคลื่อนไหวที่รุนแรงที่สุดในแหลมไครเมียนับตั้งแต่ถูกผนวกรวมเข้ากับรัสเซียเมื่อปี 2014 ซึ่งได้ทำให้ความสัมพันธ์ที่เต็มด้วยความผันผวนระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านรัสเซีย-ยูเครน ทวีความตึงเครียดมากขึ้น

(VOVworld)เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับยูเครนไม่เป็นไปอย่างราบรื่น หลังจากรัสเซียกล่าวหายูเครนว่า มีแผนโจมตีก่อการร้ายในเขตแหลมไครเมีย เพื่อสร้างการปะทะครั้งใหม่ในภูมิภาคนี้ นี่ถือเป็นการเคลื่อนไหวที่รุนแรงที่สุดในแหลมไครเมียนับตั้งแต่ถูกผนวกรวมเข้ากับรัสเซียเมื่อปี 2014 ซึ่งได้ทำให้ความสัมพันธ์ที่เต็มด้วยความผันผวนระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านรัสเซีย-ยูเครน ทวีความตึงเครียดมากขึ้น

มรสุมในความสัมพันธ์ครั้งใหม่ระหว่างรัสเซียกับยูเครน - ảnh 1
ประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ ปูติน (Sputnik)

เหตุการณ์นี้เริ่มขึ้นจากการที่สำนักงานความมั่นคงแห่งสหพันธรัฐรัสเซียหรือเอฟเอสบีประกาศว่า ได้ทำลาย 2 แผนการก่อการร้ายใส่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญในไครเมีย ซึ่งถูกผนวกรวมเข้ากับรัสเซียเมื่อปี 2014 และได้มีผู้เสียชีวิต 2 คนจากการปะทะ ตามรายงานของเอฟเอสบี ทบวงข่าวกรองสังกัดกระทรวงกลาโหมยูเครนเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความไร้เสถียรภาพในภูมิภาคก่อนการเลือกตั้งรัฐสภารัสเซียในเดือนหน้า
กล่าวหากัน
ประธานาธิบดี วลาดีเมียร์ ปูติน ได้แสดงความเห็นว่า ข้อมูลจากเอฟเอสบีได้แสดงให้เห็นว่า ยูเครนกำลังเล่นเกมส์ที่อันตรายเนื่องจากพยายามปลุกปั่นให้เกิดการใช้ความรุนแรงและการปะทะในไครเมีย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม นาย เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียได้ประกาศว่า รัสเซียพร้อมนำเสนอหลักฐานเกี่ยวกับชาวยูเครนที่ติดอาวุธได้บุกรุกเข้าไปไครเมียให้แก่ตะวันตก ซึ่งเรื่องนี้ได้ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการฟื้นฟูการเจรจาเกี่ยวกับปัญหายูเครนตามกลไกนอร์มังดี กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียยังประกาศว่า ท่าทีการสนับสนุนของตะวันตก โดยเฉพาะของนาโต้ อียูและสหรัฐต่อคำประกาศของประธานาธิบดียูเครน เปโตร โปโรเชนโก ในปัญหาไครเมียได้มีส่วนทำให้ทางการเคียฟมีปฏิบัติการที่อันตรายและยั่วยุในไครเมีย
แต่อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดียูเครน เปโตร โปโรเชนโก ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวว่า นี่คือสิ่งที่ไร้มูลความจริงและเป็นเรื่องน่าตลก และนี่คือข้ออ้างเพื่อให้รัสเซียข่มขู่ทางทหารต่อยูเครนต่อไป
มรสุมในความสัมพันธ์ครั้งใหม่ระหว่างรัสเซียกับยูเครน - ảnh 2
ประธานาธิบดียูเครน เปโตร โปโรเชนโก (AFP)

การกระทำตอบโต้
ถึงแม้ยูเครนได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวทันที แต่ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูตินได้ประกาศว่า ผู้นำยูเครนได้เปลี่ยนมาใช้กลยุทธ์ก่อการร้าย แทนมาตรการเจรจาอย่างสันติ พร้อมทั้งยืนยันว่า รัสเซียจะไม่นิ่งเฉยต่อเหตุการณ์นี้ หลังจากนั้น สภาความมั่นคงรัสเซียได้ประชุมภายใต้อำนวยการของประธานาธิบดี ปูติน เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการเพิ่มความเข้มงวดในการต่อต้านการก่อการร้าย ปกป้องประชาชนและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของไครเมีย รัสเซียยังเร่งติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ S400 ชุดแรกในไครเมีย ในขณะที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ยืนยันว่า จะจัดการซ้อมรบในไครเมียและเขตVolgograd ในระหว่างวันที่ 16-19 สิงหาคม พร้อมทั้งพิจารณาแผนการตอบโต้ที่รวมถึงการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับยูเครน และเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม กลุ่มส.ส ของพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซียนำโดย ส.ส Sergei Obukhov ก็ได้ส่งจดหมายถึงนาย วลาดีเมียร์ ปูติน โดยเรียกร้องให้ยกเลิกสนธิสัญญามิตรภาพ ร่วมมือและหุ้นส่วนกับยูเครน
เพื่อตอบโต้การกระทำของมอสโคว์ ประธานาธิบดียูเครน เปโตร โปโรเชนโก ได้สั่งให้หน่วยงานทหารทุกหน่วยที่อยู่ใกล้ไครเมียและเขตดอนบาสส์อยู่ในภาวะพร้อมรบ หน่วยงานทหารของยูเครนที่ติดกับเขตชายแดนไครเมียยังได้เพิ่มกองกำลัง และยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย ในการประชุมลับของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมตามข้อเสนอของยูเครน เอกอัครราชทูตยูเครนประจำสหประชาชาติ Volodymyr Yelchenko ได้เสนอให้ผู้สังเกตการณ์ของสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและเจ้าหน้าที่ของสภากาชาดสากลไปยังไครเมียเพื่อสอบปากคำผู้ต้องสงสัย 2 คนที่ถูกรัสเซียจับกุมในการสืบสวนแผนก่อการร้ายดังกล่าว
สถานการณ์ในความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่เลวร้ายได้ทำให้เอกอัครราชทูตยูเครนประจำสหประชาชาติ Volodymyr Yelchenko ต้องเปรียบเทียบสถานการณ์ในปัจจุบับกับสถานการณ์ที่นำไปสู่สงครามระหว่างรัสเซียกับจอร์เจียเมื่อปี 2008 แต่ตามความเห็นของผู้สังเกตการณ์ ยากที่จะเกิดการปะทะระหว่างสองประเทศ หากรัสเซียอาจจะใช้มาตรการคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจและการทูต เพื่อตอบโต้และโดดเดี่ยวทางการเคียฟ เพราะถ้าหากเกิดการปะทะ จะไม่เพียงแต่ทำให้แผนการนำสันติภาพมาสู่เขตตะวันออกยูเครนประสบความล้มเหลวเท่านั้น หากความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับตะวันตกก็จะเลวร้ายลงอีกด้วย ดังนั้น จึงได้มีการประกาศที่โอนอ่อนจากทั้งสองฝ่าย โดยนาย เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียได้ประกาศว่า ตนไม่เห็นว่า ทุกคนอยากเห็นการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัสเซียกับยูเครน ส่วนในการเจรจาผ่านทางโทรศัพท์กับรองประธานาธิบดีสหรัฐ โจเซฟ ไบเดน ประธานาธิบดียูเครน เปโตร โปโรเชนโก ได้ยืนยันว่า ยูเครนอยากหลีกเลี่ยงการเพิ่มความตึงเครียดกับรัสเซีย ในขณะเดียวกัน เมื่อบ่ายวันที่ 14 สิงหาคม รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี แฟรงก์ วอลเตอร์ สไตน์ไมเออร์ ได้เดินทางถึงเมือง Ekaterinburg เพื่อหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เก ลาฟรอฟ เกี่ยวกับแผนการโจมตีก่อการร้ายที่ประสบความล้มเหลวในแหลมไครเมีย
การเคลื่อนไหวล่าสุดที่เกิดขึ้นในไครเมียได้ทำให้ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครนยากที่จะคลี่คลายลงโดยเร็ว หากทำให้ความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความผันผวนระหว่างรัสเซีย-ยูเครนเลวร้ายลงไปอีก อีกทั้งยังเป็นสัญญาณไม่ดีต่อการปฏิบัติข้อตกลงสันติภาพมินสค์ และส่งผลกระทบต่อความพยายามขัดขวางการทวีการใช้ความรุนแรงในภาคตะวันออกยูเครน.

Komentar