พม่าและสหภาพยุโรปแปรโอกาสความร่วมมือให้เป็นรูปธรรม

Hong Van – VOV5
Chia sẻ
( VOVworld )-วันที่ ๕ เดือนนี้ ประธานาธบดี เต็ง เส่ง ผู้นำพม่าได้เดินทางถึงเบลเยียมซึ่งเป็นประเทศที่ ๔ ในการเยือน ๕ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ประกอบด้วย นอรเวย์ ฟินแลนด์ ออสเตรีย เบลเยียมและอิตาลี่ตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเยือนยุโรปครั้งแรกของพล.อ เต็ง เส่งในฐานะประธานาธิบดีเพื่อกระชับสัมพันธ์กับชาติยุโรป  ซึ่งผลการเยือนครั้งนี้สามารถตอบสนองเป้าหมายดังกล่าวได้

( VOVworld )-วันที่ ๕ เดือนนี้ ประธานาธบดี เต็ง เส่ง ผู้นำพม่าได้เดินทางถึงเบลเยียมซึ่งเป็นประเทศที่ ๔ ในการเยือน ๕ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ประกอบด้วย นอรเวย์ ฟินแลนด์ ออสเตรีย เบลเยียมและอิตาลี่ตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเยือนยุโรปครั้งแรกของพล.อ เต็ง เส่งในฐานะประธานาธิบดีเพื่อกระชับสัมพันธ์กับชาติยุโรป  ซึ่งผลการเยือนครั้งนี้สามารถตอบสนองเป้าหมายดังกล่าวได้

พม่าและสหภาพยุโรปแปรโอกาสความร่วมมือให้เป็นรูปธรรม - ảnh 1
ประธานาธิบดีเต็ง เส่งผู้นำพม่าเยือนนอร์เวย์

การเยือนยุโรปของประธานาธิบดีเต็ง เส่งถือเป็นก้าวเดินที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับโอกาสความร่วมมือที่ท่านกับผู้นำ ๕ ประเทศดังกล่าวได้หยิบยกขึ้นมาหารือในการพบปะต่างๆนอกรอบการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรปหรืออาเซมครั้งที่ ๙ ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาวเมื่อปลายปี ๒๐๑๒ และในการเยือนพม่าของเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ประเทศเหล่านี้เมื่อเร็วๆนี้  โดยในการเยือนนอร์เวย์ ซึ่งเป็นประเทศแรกในการเยือน ๕ ประเทศยุโรปครั้งนี้และเป็นประเทศที่ได้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในพม่าอย่างกระตือรือร้น  ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงปัญหาเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ   ส่วนในการเยือนออสเตรีย ผู้นำพม่าได้ยืนยันว่า สาเหตุที่ทำให้พม่าขาดแคลนเงินทุนและเทคโนโลยีที่ทันสมัยคือ มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในตลอด ๒๐ ปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งเรียกร้องให้ออสเตรียร่วมมือกับพม่าเพื่อแก้ไขปัญหานี้  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหุ้นส่วนโดยประธานาธิบดี เฮนซ์ ฟิชเชอร์ของออสเตรียได้ให้สัญญาว่า รัฐบาลออสเตรียจะอยู่เคียงข้างและสนับสนุนประเทศที่ประสบความคืบหน้าในการปฏิรูปประเทศ  ในขณะเดียวกัน ก่อนการเยือนเบลเยียม  พล.อ เต็ง เส่งได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่าอย่างเต็มรูปแบบ  เบลเยียมเป็นสถานที่ที่ผู้นำพม่าจะมีการเจรจากับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยุโรปในปัญหาหลายประเด็นไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชน การปฏิรูปเศรษฐกิจและกระบวนการฟื้นฟูสันติภาพในภาคเหนือพม่าให้กลับคืนมา

อาจกล่าวได้ว่า การสร้างสรรค์และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปจะนำผลประโยชน์มากมายมาสู่พม่า โดยเฉพาะในขณะที่ประเทศนี้ต้องการพลังต่างๆเพื่อพัฒนาหลังจากมาตรการคว่ำบาตรต่างๆถูกยกเลิกไป  ปัจจุบัน บรรดาประเทศยุโรปลงทุนในพม่าไม่มากนักโดยมีประมาณ ๓,๕๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น  ด้วยเหตุนี้ การขยายความร่วมมือกับยุโรปจะช่วยเพิ่มเงินทุนและเทคโนโลยีโดยเฉพาะประสบการณ์ในด้านธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประเทศในเวลาข้างหน้า  ส่วนสำหรับประเทศในยุโรปก็ให้ความสนใจลงทุนในพม่ามากขึ้นเนื่องจากทำเลทางภูมิประเทศ แหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติและมนุษย์อุดมสมบูรณ์ตลอดจนตลาดที่มีศักยภาพสูงซึ่งยังไม่ถูกใช้ประโยชน์

ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับประเทศต่างๆในยุโรปเริ่มมีความคืบหน้านับตั้งแต่ประธานาธิบดีเต็ง เส่งทำการปฏิรูปประเทศเมื่อขึ้นบริหารประเทศต้นปี ๒๐๑๑ ซึ่งเห็นได้ชัดคือ รัฐบาลพม่าได้ปล่อยตัวนักโทษนับร้อยคนรวมทั้งนักโทษการเมือง ส่งเสริมเสรีภาพสื่อมวลชน อนุญาตให้นักเคลื่อนไหวฝ่ายค้านเข้าร่วมเวทีการเมืองและเปิดกว้างประเทศเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ  ทั้งนี้ทำให้สหภาพยุโรปได้ระงับการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ต่อพม่าเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว แต่ยังคงมาตรการคว่ำบาตรอย่างเข้มงวดในเรื่องการซื้อและจำหน่ายอาวุธเอาไว้ก่อน  นายโจส์ มานูแอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมการยุโรปก็ได้ให้คำมั่นจะจัดเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนากว่า ๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐแก่พม่าและเปิดสำนักงานตัวแทนสหภาพยุโรป ณ กรุงย่างกุ้ง  ส่วนเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว คณะกรรมการยุโรปหรืออีซีได้ผ่านความเห็นชอบมติให้พม่าได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า โดยจะได้ยกเว้นภาษีและโคว์ต้าเมื่อเข้าตลาดยุโรปนับตั้งแต่ปีนี้  ในขณะที่สโมสรปารีสได้ยกเลิกหนี้จำนวน ๖ พันล้านเหรียญสหรัฐให้แก่พม่าด้วย

ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ไม่หมายความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปหรืออียูกับพม่าจะราบรื่นมาตลอด เพราะยังมีข้อครหา เกี่ยวกับการปะทะ ณ รัฐกะฉิ่นทางภาคเหนือของประเทศและความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม ณ รัฐยะไข่ทางภาคตะวันตกของประเทศ

เมื่อเดือนมิถุนายนปี ๒๐๑๒ นางออง ซาน ซูชี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่าได้เดินทางไปเยือนยุโรป ซึ่งเป็นเครื่องหมายสำคัญที่บ่งบอกถึงกระบวนการทางการเมืองของพม่าและการเยือนยุโรปเป็นเวลากว่า ๑๐ วันของประธานาธิบดีเต็ง เส่งแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่ดีของพม่าในการกระชับสัมพันธ์และร่วมมือกับทวีปอันเก่าแก่แห่งนี้เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน  อีกทั้งมีส่วนร่วมผลักดันความสัมพันธ์และร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียนที่พม่าเป็นชาติสมาชิกที่กระตือรือร้น . /.

Komentar