(VOVworld)- เพื่อให้งานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและแก้ปัญหาความยากจนในเขตเขาและเขตชนกลุ่มน้อยมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน หนึ่งในขั้นตอนการปฏิบัติที่มีลักษณะแบบก้าวกระโดดคือการพัฒนาบุคลากร ซึ่งก็เป็นหัวข้อของการสัมมนาเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านบุคลากรของท้องถิ่นเหล่านี้จนถึงปี2020ที่จัดโดยคณะกรรมการชาติพันธุ์และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำเวียดนาม โดยได้มีการหารือถึงมาตรการต่างๆเพื่อมุ่งพัฒนาแหล่งบุคลากรให้แก่เขตเขาและเขตชนกลุ่มน้อย.
|
การสัมมนาเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านบุคลากรของท้องถิ่นเขตเขาและเขตชนกลุ่มน้อย(internet)
|
เวียดนามมี54ชนเผ่าพี่น้องโดยเป็นชนกลุ่มน้อย คิดเป็นร้อยละ14ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งอาศัยในเขตเขาทางภาคเหนือ ภาคกลาง เขตเตยเงวียนและเขตตะวันตกภาคใต้กำลังมีการพัฒนาและผสมผสานเข้ากับกระบวนการพัฒนาของทั้งประเทศอย่างรวดเร็วผ่านการปฏิบัตินโยบายและเข้าร่วมโครงการต่างๆที่พรรคและรัฐบาลได้อนุมัติ เช่น โครงการช่วยเหลือที่ดินเพื่อการผลิตและอยู่อาศัย ที่พักอาศัยและน้ำบริโภคให้แก่ครอบครัวชนกลุ่มน้อยที่ยากจน โครงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในต.ที่ยากจนเป็นพิเศษในเขตเขาเขตทุรกันดาร โครงการแก้ปัญหาความยากจนอย่างรวดเร็วและยั่งยืนให้แก่62อ.ที่ยากจนที่สุดของประเทศ ตลอดจนโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ เป็นต้น แต่ในทางเป็นจริงทักษะความสามารถของท้องถิ่นเหล่านี้ยังจำกัดไม่สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่เข้มแข็งและรวดเร็วของเศรษฐกิจเชิงตลาดได้ โดยสาเหตุสำคัญมาจากการศึกษาฝึกอบรมแรงงานในพื้นที่ขาดประสิทธิภาพและคุณภาพเมื่อเทียบกับระดับปานกลางของท้องถิ่น ดังนั้นการพัฒนาแหล่งบุคลากรให้แก่เขตนี้จึงถือเป็นประเด็นสำคัญในนโยบายแบบเบ็ดเสร็จของพรรคและรัฐที่มีต่อเขตเขาเขตชนกลุ่มน้อย ทางคณะกรรมการชาติพันธุ์ก็มีแผนการร่างยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาบุคลากรให้แก่เขตชนกลุ่มน้อยทั้งด้านสุขภาพ สติปัญญาความสามารถและจิตใจโดยถือการศึกษาเป็นขั้นตอนแบบก้าวกระโดดเพื่อการปฏิบัติแผนการดังกล่าวและเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของเขตนี้คณะกรรมการชนเผ่าเขตเขาจะมีการก่อตั้งสถาบันศึกษาชนเผ่าเพื่อฝึกอบรมนักเรียนชนกลุ่มน้อย เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในเขตชนกลุ่มน้อย นอกจากนี้ปัญหาด้านการบริการสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากร นาย K’sor Phuoc ประธานสภาชนเผ่าแห่งรัฐสภาเผยว่า หน้าที่ที่สำคัญในเวลาต่อไปคือปฏิบัติงานด้านการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขาเพื่อเป็นพื้นฐานที่มั่นคงแก่การพัฒนาบุคลากร
บนพื้นฐานการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่นควรมีการวางแผนการพัฒนาแหล่งบุคลากรให้ชัดเจนและเหมาะสมโดยเฉพาะต้องปรับปรุงระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไป โรงเรียนอัจฉริยะ โรงเรียนอาชีวะศึกษา วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยให้ความสนใจพัฒนาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพการสอนสาขาอาชีพต่างๆ มีนโยบายให้สิทธิพิเศษในการฝึกอบรมผู้ที่มีความสามารถให้แก่เขตชนกลุ่มน้อย
|
ผู้แทนชนกลุ่มน้อยที่ร่วมการสัมมนา(internet) |
เพื่อพัฒนาแหล่งบุคลากรอย่างรวดเร็ว มีคุณภาพและยั่งยืน นอกจากความช่วยเหลือและสนับสนุนจากส่วนกลางแล้ว ท้องถิ่นที่เป็นเขตเขาและเขตชนกลุ่มน้อยควรส่งเสริมพลังในท้องถิ่น พึ่งพาตนเองเพื่อก้าวไปข้างหน้า ต้องเตรียมพร้อมข้อมูลเพื่อพยากรณ์ความต้องการด้านบุคลากร ตรวจสอบและปรับปรุงแผนพัฒนาบุคลากรถึงปี2015และวิสัยทัศน์ถึงปี2020 ผลักดันกิจกรรมการฝึกสอนอาชีพ พัฒนาเครือข่ายสถาบันฝึกอบรมอาชีพให้แก่ชนกลุ่มน้อยเพื่อยกระดับคุณภาพบุคลากรโดยเฉพาะเยาวชน ปฏิบัติโครงการ มาตรการและนโยบายเกี่ยวกับเงินเดือนและสวัสดิการสังคม โอกาสการพัฒนาเพื่อดึงดูดแหล่งบุคลากร ซึ่งตามความเห็นของดร. ฟานวันหุ่ง รองหัวหน้าคณะคณะกรรมการชาติพันธุ์เผยว่า ในแผนพัฒนาบุคลากรต้องให้ความสนใจต่องานด้านการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ต้องถือการพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุนพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่อนาคต ต้องมีการจัดทำแผนการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมเพื่อให้ทุกชนเผ่ามีปัญญาชนที่มีความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาชนเผ่าของตน ตลอดจนการส่งเยาวชนชนกลุ่มน้อยดีเด่นไปศึกษายังต่างประเทศ เข้าถึงแหล่งเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ ส่วนตามความเห็นของนาง เลทิแทงเหวี่ยน เจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำเวียดนาม ปัจจุบันแหล่งบุคลากรในเขตเขาและเขตชนกลุ่มน้อยยังไม่เพียงพอกับความต้องการและมีช่องว่างค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับท้องถิ่นอื่นๆดังนั้นนโยบายการพัฒนาบุคลากรนั้นต้องมีความสอดคล้องกับแต่ละท้องถิ่น นโยบายต่างๆต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่นและชนเผ่า โดยให้ความสนใจต่อแรงงานในพื้นที่ และเพื่อที่จะสร้างก้าวกระโดดใหม่ในนโยบายที่มีต่อชนกลุ่มน้อย รัฐบาลควรพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติดูแลปัญหาชนกลุ่มน้อยในเขตเขาเพื่อบริหารชี้นำการปฏิบัติ.
การยกระดับคุณภาพแหล่งบุคลากรในเขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขาเป็นหน้าที่ของพรรค ปวงชน กองทัพและทั้งระบบการเมือง ซึ่งทางคณะกรรมการชาติพันธุ์จะเป็นฝ่ายชี้นำการร่างโครงการพัฒนาแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงให้แก่เขตชนกลุ่มน้อยและเขตเขาเพื่อตอบสนองความต้องการของภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยในเวลาต่อไป โดยหน้าที่ของทางการหน่วยงานทุกระดับคือปฏิบัติแผนการและมาตรการต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน สร้างก้าวเปลี่ยนแปลงที่เข้มแข็งในการใช้และฝึกอบรมแหล่งบุคลากรในเขตเขาและเขตชนกลุ่มน้อย./.