ผลการเลือกตั้งรัฐสภาเยอรมนี – ผลกระทบต่ออียู

Hong Van - VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) -  ด้วยเสียงสนับสนุนร้อยละ 33 พรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียนหรือซีดียูของนายกรัฐมนตรี อัง เกลา แมร์เคิลและสหภาพสังคมคริสเตียนหรือซีเอสยูได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งรัฐสภาเยอรมนีเมื่อวันที่ 24 ที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่า นาง อัง เกลา แมร์เคิลจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีเป็นสมัยที่ 4 และผลการเลือกตั้งนี้ไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อเยอรมนีเท่านั้น หากยังหมายถึงการที่สหภาพยุโรปหรืออียูจะมีความเชื่อมโยงในด้านเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น

ผลการเลือกตั้งรัฐสภาเยอรมนี – ผลกระทบต่ออียู - ảnh 1นายกรัฐมนตรี อัง เกลา แมร์เคิล (Photo: AFP/TTXVN)

เยอรมนีเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อนโยบายการพัฒนาของอียู ดังนั้นแนวทางสนับสนุนการเชื่อมโยงในอียูของนาง อัง เกลา แมร์เคิลซึ่งจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีอีกสมัยจะเอื้อประโยชน์ให้แก่อียู

บทบาทที่นับวันมีความสำคัญมากขึ้นในอียู

ใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เยอรมนีนับวันมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอียู โดยเป็นศูนย์กลางของการธำรงเสถียรภาพของภูมิภาค ซึ่งความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจ การทหารและดำเนินภารกิจการทูตอย่างระมัดระวังและมีความรับผิดชอบของเยอรมนีได้สร้างความไว้วางใจต่อบรรดาประเทศสมาชิกอียู

เราสามารถเห็นบทบาทสำคัญด้านการเมืองของเยอรมนีในยุโรปจาก “กลไก”การประสานงานระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศส ซึ่งช่วยผลักดันความร่วมมือระยะยาวของอียู ส่วนในด้านเศรษฐกิจ เยอรมนีมีบทบาทแกนหลักในการช่วยให้อียูหลุดพ้นจากวิกฤตทางการเงิน นอกจากนั้น เยอรมนียังมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อนโยบายความมั่นคงและการทูตของอียู โดยเฉพาะการร่วมมือกันระหว่างนาง อัง เกลา แมร์เคิลกับอียูในการแก้ปัญหาผู้อพยพ ซึ่งเป็นความท้าทายใหม่ของอียูได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการประเมินประจำปีของสภาการต่างประเทศยุโรปหรืออีซีเอฟอาร์ปรากฎว่า เยอรมนีเป็นประเทศนำหน้าในรายชื่อประเทศที่มีอิทธิพลต่อนโยบายการต่างประเทศของอียูในปี 2015 และ 2016 และผลการตอบแบบสอบถามของอีซีเอฟอาร์เกี่ยวกับประเทศสมาชิกที่เข้าถึงปัญหาต่างๆของอียูมากที่สุดก็คือเยอรมนี

ชัยชนะของนาง อัง เกลา แมร์เคิลเป็นปัจจัยธำรงเสถียรภาพของอียู

จากจุดยืนที่สนับสนุนการเข้าเมืองของผู้อพยพและความเชื่อมโยงภายในอียู ชัยชนะของนาง อัง เกลา แมร์เคิลถือเป็นปัจจัยที่เอื้อประโยชน์แก่อียู

ในฐานะเป็นหัวรถจักรของอียูและนับวันมีบทบาทสำคัญในปัญหาระหว่างประเทศและภูมิภาค เยอรมนีกำลังร่วมกับฝรั่งเศสทำการแสวงหามาตรการปรับปรุงและปฏิรูปอียูเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการสลายตัวและวิกฤตเศรษฐกิจ – การเงินโดยการถอนตัวออกจากอียูของอังกฤษ วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ ปัญหาการค้าเสรีและความสัมพันธ์กับทางการวอชิงตันคือความท้าทายที่ต้องฟันฝ่าเป็นอันดับแรก ซึ่งนาง อัง เกลา แมร์เคิลได้ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่ออิสระทางการเงินของอียู โดยเมื่อต้นปี 2017 เธอและประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ก็ได้เห็นพ้องในด้านหลักการของการจัดตั้งรัฐสภายูโรโซน งบซูโรโซน การเพิ่มการลงทุนสาธารณะในภูมิภาคและการประสานงานในการปฏิรูป นอกจากนี้ นางอัง เกลา แมร์เคิล ได้เห็นพ้องจัดตั้งกองทุนการเงินยุโรปหรืออีเอ็มเอฟเพื่อช่วยให้ยูโรโซนสามารถรับมือกับวิกฤตได้โดยไม่ต้องพึ่งพากองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ

ด้วยความพยายามที่ไม่ยอมปล่อยให้อียูกลับไปสู่ยุคแห่งลัทธิชาติพันธุ์และลัทธิชาตินิยมอีกครั้ง นางอัง เกลา แมร์เคิลมีความประสงค์ว่า อียูต้องมีความแข็งแกร่งและปลอดภัย โดยเธอเคยกล่าวยืนยันไว้ว่า “ช่วงที่อียูสามารถเชื่อมั่นประเทศอื่นกำลังผ่านไปแล้ว” “บรรดาประเทศยุโรปต้องแบกรับภารกิจด้านกลาโหมด้วยตนเอง” ส่วนหนังสือปกขาวด้านกลาโหมของเยอรมนีในปี 2016 ก็ได้ยืนยันแนวทางที่เยอรมนีจะเป็น “ปัจจัยกระตุ้นในยุโรป”

ทั้งนี้บรรดานักวิเคราะห์ได้แสดงความเห็นว่า ยุโรปกำลังสร้างสรรค์สหภาพฯที่มีความเป็นอิสระจากบรรดาประเทศมหาอำนาจอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยฝรั่งเศสและเยอรมนีจะเป็นแกนหลักเดินหน้าปฏิบัติ

อุปสรรค

ถ้าหากมองในภาพรวม ผลการเลือกตั้งของเยอรมนีได้ส่งผลดีต่ออียูแต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะราบรื่นไปเสียหมด เพราะในทางกลับกัน ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความแตกแยกที่น่ากังวลในสังคมเยอรมนี ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบในระยะยาว ที่ชัดเจนก็คือความซับซ้อนในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมเนื่องจากพรรคสังคมประชาธิปไตยหรือเอสดีพี ได้ประกาศว่า จะไม่เข้าร่วมพันธมิตรของพรรคซีดียูและซีเอสยูเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ แต่นาง อัง เกลา แมร์เคิล ได้ยืนยันว่า จะพยายามหารือกับพรรคเสรีประชาธิปไตยหรือเอฟดีพีและพรรคกรีน ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้ายเก่าแก่ของเยอรมนีเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม นี่จะเป็นรัฐบาลร่วมที่ไม่มีเอกภาพเพราะสองพรรคดังกล่าวมีความคิดเห็นแตกต่างกับพรรคซีดียูและซีเอสยูในปัญหานโยบายทางเศรษฐกิจและการปฏิรูปยุโรป โดยเมื่อเร็วๆนี้ พรรคเอฟดีพีคัดค้านข้อเสนอการปฏิรูปอียูของประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ถึงแม้ข้อเสนอเหล่านี้ดูเหมือนว่าได้รับการสนับสนุนจากนาง อัง เกลา แมร์เคิลก็ตาม นอกจากนี้ ผู้นำหลายประเทศอียูได้แสดงความระมัดระวังต่อทัศนะที่ตายตัวของพรรคเอฟดีพีเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดินและการต่อต้านนโยบายรับผู้อพยพ ดังนั้น หากพรรคเอฟดีพีร่วมมือกับพรรคซีดียูและซีเอสยู ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จุดยืนและการเข้าถึงของรัฐบาลชุดใหม่เยอรมนีเกี่ยวกับปัญหายุโรปจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจไม่เอื้อต่อแผนการปฏิรูปยุโรปของฝรั่งเศสและเยอรมนี

การที่นาง อัง เกลา แมร์เคิล จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยถือว่ามีความหมายสำคัญต่ออนาคตของยุโรป แม้ยังมีความท้าทายนานัปการแต่ในฐานะประเทศหัวจักรของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นสหภาพที่มีสมาชิกถึง 27 ประเทศ เยอรมนีถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้อียูมีความเชื่อมโยงมากขึ้นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง.

Komentar