(VOVworld) – ภายหลัง 1 ปีที่เยอรมนีและบางประเทศในยุโรปตัดสินใจเปิดพรมแดนรับผู้อพยพนโยบายนี้ได้ส่งผลกระทบไม่น้อยต่อสถานการณ์การเมืองของหลายประเทศ นอกจากนั้น ยุโรปก็กำลังต้องประสบอุปสรรคในการตั้งถิ่นฐานให้แก่ผู้อพยพในอิตาลีและกรีซและประเทศอื่นๆ
มาตรการที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือต้องมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในการปฏิบัติงาน แต่ยุโรปยังคงไม่สามารถแสวงหาเสียงพูดเดียวกันได้ (AFP)
|
ในสภาวการณ์ที่สหภาพยุโรปหรืออียูกำลังแสวงหาเสียงพูดเดียวกันเพื่อแก้ไขวิกฤตผู้อพยพ มาตรการที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือต้องมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในการปฏิบัติงาน แต่ยุโรปยังคงไม่สามารถแสวงหาเสียงพูดเดียวกันได้ ในขณะเดียวกัน ปัญหาผู้อพยพได้กลายเป็นประเด็นการเมืองที่ร้อนระอุในบางประเทศยุโรป โดยเฉพาะในเยอรมนี โดยเมื่อวันที่ 4 กันยายน นาย โดนัลด์ ทัสก์ ประธานสภายุโรปได้เผยว่า ยุโรปกำลังใกล้ที่จะบรรลุขอบเขตเกี่ยวกับความสามรถในการรับกระแสผู้อพยพครั้งใหม่
สร้างอุปสรรคต่อการเมือง
ปัญหานี้เริ่มต้นจากกระแสผู้อพยพชาวซีเรียที่ปรากฎตัวในสถานีรถไฟในใจกลางกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการีเมื่อปลายเดือนสิงหาคมปี 2015 ที่ต้องการเดินทางไปยังเยอรมนีและออสเตรีย ในตอนแรก ทางการฮังการีก็พยายามขัดขวางกระแสผู้อพยพ แต่ที่สุดก็ต้องยอมถอยเนื่องจากแรงกดดันของกระแสผู้อพยพครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ในสภาวการณ์ดังกล่าว นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ได้ประกาศว่า พร้อมที่จะรับผู้อพยพกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่กระแสผู้อพยพจาก แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะจากซีเรียไปยังเยอรมนีและยุโรป จนถึงปลายปี 2015 มีผู้อพยพ 1.1 ล้านคนไปยังเยอรมนี ซึ่งยังไม่รวมผู้อพยพที่ไม่ลงทะเบียน ซึ่งสูงกว่าตัวเลข 8 แสนคนที่ทางการได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น ใน 6 เดือนแรกของปีนี้ มีผู้อพยพกว่า 2 แสนคนที่ได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยในเยอรมนี นาย โทมัส เด ไมซีเรอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเยอรมนีได้เผยว่า จำนวนผู้อพยพในต้นปี 2016 ได้ลดลงเนื่องจากการเดินทางผ่านภูมิภาคบอลข่านถูกปิดล้อม และข้อตกลงเกี่ยวกับผู้อพยพระหว่างสหภาพยุโรปกับตุรกีได้มีผลบังคับใช้แล้ว แต่นาย โทมัส เด ไมซีเรอ ได้เผยว่า ตนไม่ค้ำประกันว่า ข้อตกลงตุรกี-อียูจะได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพในเดือนต่อๆไป
ปัญหาผู้อพยพอาจจะไม่กลายเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไขสำหรับนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ถ้าหากไม่เกิดเหตุการณ์วุ่นวายและการก่อการร้ายต่างๆในเยอรมนี โดยผู้ก่อเหตุคือผู้อพยพ และยังส่งผลให้คะแนนนิยมของนาง อังเกลา แมร์เคิล ลดลงอย่างหนัก ล่าสุด พรรคคริสเตียนเดโมเครติกยูเนียนหรือซีดียูของนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล อยู่อันดับ 3 ในการเลือกตั้งสภาล่างในรัฐเม็คเคล่นบวร์ก-ฟอร์พอมเมิร์นเมื่อวันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นฐานเสียงของนาง อังเกลา แมร์เคิล ที่น่าสนใจ พรรคทางเลือกเพื่อเยอรมนีหรือเอเอฟดี ที่มีแนวคิดชาตินิยมและต่อต้านผู้อพยพได้คะแนนสนับสนุนสูงกว่าพรรคซีดียูเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งระดับเขต โดยได้ร้อยละ 21.9 นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล กำลังประสบอุปสรรคเนื่องจากนโยบายการต่างประเทศของตน โดยอัตราผู้ที่สนับสนุนนโยบายเปิดรับผู้อพยพของนาง อังเกลา แมร์เคิล ได้ลดลง มาอยู่ที่ร้อยละ 34 เท่านั้น นโยบายเปิดรับผู้อพยพไม่เพียงแต่สร้างความแตกแยกในสังคมเยอรมนีเท่านั้น หากยังมีความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียเปรียบให้แก่พรรคซีดียูและสถานะของนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิลในการเลือกตั้งรัฐสภาในปี 2017 อีกด้วย
ผู้อพยพในกรีซ (AFP)
|
อุปสรรคในความพยายามสร้างเขตตั้งถิ่นฐาน
เมื่อเดือนกันยายนปี 2015 สหภาพยุโรปหรืออียูได้อนุมัติแผนการที่มุ่งตั้งถิ่นฐานให้แก่ผู้อพยพ 1 แสน 6 หมื่นคนในอิตาลีและกรีซภายในเวลา 2 ปี แต่จนถึงขณะนี้ มีผู้อพยพไม่ถึงร้อยละ 3 ในจำนวนกลุ่มผู้อพยพดังกล่าวที่ได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกอื่นๆของอียู เมื่อวันที่ 5 กันยายน คณะกรรมการยุโรปหรืออีซีได้เร่งรัดให้รัฐบาลของประเทศสมาชิกผลักดันความพยายามปฏิบัติแผนการตั้งถิ่นฐานให้แก่ผู้อพยพ แต่ออสเตรีย ฮังการีและโปแลนด์ยังไม่เปิดรับผู้อพยพ คำมั่นของประเทศสมาชิกอียูเกี่ยวกับการให้การช่วยเหลือกรีซควบคุมเขตชายแดนและแก้ไขข้อเรียกร้องขอลี้ภัยยังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ ในบทวิเคราะห์ที่ลงบนเว็บไซต์ euobserver.com ผู้เชี่ยวชาญ Nikolaj Nielsen ได้แสดงความเห็นว่า ความพยายามของสหภาพยุโรปในการตั้งถิ่นฐานให้แก่ผู้อพยพยังไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ การรับและจำนวนผู้อพยพที่เปิดรับยังคงเป็นเรื่องที่อ่อนไหว โดยฮังการีได้ทำการรณรงค์คัดค้านผู้อพยพก่อนการลงประชามติในวันที่ 2 ตุลาคมว่า จะคัดค้านแผนการตั้งถิ่นฐานให้แก่ผู้อพยพของอียูหรือไม่ ส่วนที่เยอรมนี รัฐบาลนี้ก็กำลังต้องเผชิญกับปัญหาการรับผู้อพยพ ในการเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อวันที่ 4 กันยายน พรรคทางเลือกเพื่อเยอรมนีหรือเอเอฟดีได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่าพรรคซีดียูของนาง อังเกาลาแมร์เคิล ส่วนในประเทศออสเตรีย นาย Norbert Hofer ผู้ลงสมัครของพรรคเสรีภาพ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวา มีความเป็นไปได้สูงที่จะกลายเป็นประธานาธิบดีของออสเตรีย เพราะยังคงมีคะแนนนำในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 2 ตุลาคมนี้
1 ปีหลังจากเปิดพรมแดนรับผู้อพยพ หลายประเทศในยุโรปกำลังต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และถึงแม้ได้มีการปฏิบัติมาตรการและนโยบายต่างๆที่ถือเป็นก้าวกระโดดเพื่อแก้ไขปัญหานี้ แต่ดูเหมือนว่าว่า จะยังไม่เกิดผล และประเทศยุโรปยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายในระยะยาวทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม.