ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (CCO) |
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา พจนานุกรมชื่อดัง Collins ของอังกฤษได้เลือกคำว่า AI ที่ย่อมาจากคำว่าปัญญาประดิษฐ์ เป็น keyword ประจำปี 2023 ซึ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาของสำนักพิมพ์ Collins เผยว่า คำว่า AI เป็นคำศัพท์ที่รู้จักอย่างแพร่หลายอย่างรวดเร็ว และกลายเป็น “หัวข้อหารือของปี” โดยการใช้คำว่า AI ได้เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าในปีที่ผ่านมา
ศักยภาพในการประยุกต์ใช้ที่ยิ่งใหญ่ของ AI
การเปิดตัว ChatGPT ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ AI ของบริษัท OpenAI เมื่อต้นปีนี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญและสร้างความฮือฮาไปทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เนื่องจาก ChatGPT และคู่แข่ง เช่น Gemini ของ Google DeepMind หรือ Grok AI ของมหาเศรษฐี Elon Musk ได้สร้างจุดเริ่มต้นของยุค AI นี่ไม่ใช่แค่แอปพลิเคชันที่ตอบสนองความต้องการใช้งานทั่ว ๆ ไปเท่านั้น หากยังแต่ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ “แนวคิดเบื้องต้น” ในเชิงรุก ที่สามารถเชื่อมโยง Metadata การพัฒนาปัญญาด้วยตนเองผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน
ส่วนเทคโนโลยี Generative AI และเทคโนโลยี AI frontier ก็กำลังมีบทบาทเป็นอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ที่มาเลเซีย AI ถูกประยุกต์ใช้ในการผลิตเกษตรโดยถูกใช้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจัดทำแผนที่ข้อมูลการเกษตรและติดตามผลผลิต ส่วนที่อิสราเอล เจ้าหน้าที่ด้านการเงินได้ใช้ AI ในการสร้างแบบจำลองทางการเงิน ในขณะที่ทางการไทยใช้ AI เพื่อตรวจสอบการชำระภาษี ติดตามธุรกรรมของผู้เสียภาษีบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ตามความเห็นของนาย อันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ถ้าหากประเทศต่าง ๆ ใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบและยุติธรรมก็สามารถสร้างก้าวกระโดดในการพัฒนาได้
“AI สามารถส่งเสริมปฏิบัติการด้านสภาพอากาศและความพยายามในการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมายในปี 2030 แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี AI ที่ถูกใช้อย่างมีความรับผิดชอบและมีความสามารถในการเข้าถึงได้โดยสะดวก รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการเทคโนโลยีนี้มากที่สุด”
ในระดับโลก AI กำลังเริ่มถูกนำมาใช้เพื่อสร้างแบบจำลองการพยากรณ์โรคระบาดใหม่ๆ และบริการด้านสาธารณสุข การพยากรณ์อากาศและการพัฒนาพันธุ์พืชที่สามารถในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้นเพื่อสร้างระบบอาหารโลกใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น
นาย อันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (IRNA) |
พัฒนา AI อย่างมีความรับผิดชอบเพื่อจำกัดความเสี่ยง
แต่นอกจากศักยภาพและผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่แล้ว ในทางกลับกัน AI ก็เริ่มสร้างความกังวลไม่น้อย โดยในปีนี้ ประเทศ องค์กรระหว่างประเทศและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต่างเริ่มจับตามองถึงความเสี่ยงที่ AI อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงของสังคมและความปลอดภัยของมนุษยชาติ
เมื่อกลางปีนี้ ซีอีโอของบริษัท AI ชั้นนำของโลก พร้อมกับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญหลายร้อยคนได้ลงนามในปฏิญญาที่มีการย้ำว่า ความพยายามลดความเสี่ยงของ AI จะต้องเป็นเนื้อหาที่โลกต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ และเปรียบการกระทำนี้ว่า มีความเร่งด่วนเหมือนการป้องกันสงครามนิวเคลียร์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน Elon Musk หนึ่งในผู้นำในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี AI ยังได้เตือนเกี่ยวกับอันตรายของเทคโนโลยีนี้ถ้าหากไม่สามารถควบคุมได้
“ในฐานะวิศวกรเทคโนโลยีที่มีความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับ AI ผมคิดว่า ในบางช่วง ประชามติมีความคาดหวังเกินไปเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI AI ส่วนใหญ่เป็นแหล่งพลังที่ดี แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ดี ดังนั้น เราจึงต้องลดข้อไม่ดีที่อาจเกิดจากเทคโนโลยีนี้”
จากความท้าทายที่ AI สามารถพัฒนาจนไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อมนุษย์ ประชาคมโลกจึงได้เร่งควบคุมการพัฒนาและการใช้ AI โดยเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดการประชุมสุดยอดทั่วโลกเกี่ยวกับความปลอดภัย AI ครั้งแรก ณ อังกฤษ โดยตัวแทนของ 27 ประเทศ รวมถึงประเทศมหาอำนาจด้าน AI ชั้นนำของโลก เช่น สหรัฐ จีน และสหภาพยุโรปหรืออียูได้อนุมัติแถลงการณ์ Bletchley โดยให้คำมั่นที่จะส่งเสริมจิตใจแห่งความรับผิดชอบและความร่วมมือระหว่างประเทศในการใช้และการวิจัย AI อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศต่างๆ ได้เสนอหลักการควบคุม AI อย่าง “ปลอดภัยด้วยการออกแบบ หรือ secure by design” และนักพัฒนา AI ให้คำมั่นที่จะอนุญาตให้รัฐบาลตรวจตราระดับความปลอดภัยของเทคโนโลยี AI ก่อนที่จะเผยแพร่สู่สาธารณะ
เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สหประชาชาติได้ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้าน AI โดยมีสมาชิก 39 คน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการบริษัท เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและนักวิชาการ โดยมีหน้าที่ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ AI ในระดับโลก โดยเฉพาะ เมื่อต้นเดือนธันวาคม สหภาพยุโรปได้บรรลุข้อตกลงทางการเมืองเกี่ยวกับข้อกำหนดในร่างกฎหมาย AI ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับ AI ฉบับแรกและมีความสมบูรณ์ที่สุดในขณะนี้
ในระดับประเทศ สหรัฐและอังกฤษได้จัดตั้งสถาบันความปลอดภัย AI เพื่อประเมินและทดลองโมเดลใหม่ๆ เพื่อระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก AI ในขณะเดียวกัน จีนยังได้ประกาศ “ข้อคิดริเริ่มในการบริหารจัดการ AI ระดับโลก” ซึ่งเสนอกฎระเบียบชั่วคราวสำหรับเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างหรือ Generative AI นอกจากนี้ บริษัทและองค์กรวิจัยกว่า 50 แห่ง เช่น Meta, IBM, Intel, Sony, Dell และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือ NASA ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่ม AI Open Source เพื่อค้ำประกันวิธีความร่วมมือที่เปิดกว้างและโปร่งใสมากขึ้นในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้.