จีนและอินเดียผลักดันความไว้วางใจทางการเมืองทวิภาคี

Ánh Huyền-VOV5
Chia sẻ

(VOVworld) – วันที่ 14 พฤษภาคม นาย นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียได้เดินทางถึงกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นประเทศแรกในกรอบเยือน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออก การเยือนนี้คือกิจกรรมการต่างประเทศที่สำคัญและเป็นนิมิตรหมายฉลองครบรอบ 1 ปีการขึ้นบริหารประเทศของนาย โมดีเพื่อผลักดันความร่วมมือทวิภาคีเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ในการเยือนนี้ สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายต้องการบรรลุมากกว่าความร่วมมือด้านเศรษฐกิจก็คือการสร้างความไว้วางใจทางการเมืองระหว่างอินเดียกับจีนหลังจากมีความขัดแย้งกันมาหลายสิบปี

(VOVworld) – วันที่ 14 พฤษภาคม นาย นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียได้เดินทางถึงกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นประเทศแรกในกรอบเยือน 3 ประเทศในเอเชียตะวันออก การเยือนนี้คือกิจกรรมการต่างประเทศที่สำคัญและเป็นนิมิตรหมายฉลองครบรอบ 1 ปีการขึ้นบริหารประเทศของนาย โมดีเพื่อผลักดันความร่วมมือทวิภาคีเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ในการเยือนนี้ สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายต้องการบรรลุมากกว่าความร่วมมือด้านเศรษฐกิจก็คือการสร้างความไว้วางใจทางการเมืองระหว่างอินเดียกับจีนหลังจากมีความขัดแย้งกันมาหลายสิบปี
จีนและอินเดียผลักดันความไว้วางใจทางการเมืองทวิภาคี - ảnh 1
นาย นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียพบปะกับนาย สีชิ้นผิง ประธานประเทศจีน(AP)
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถเห็นถึงความพยายามในการปรับความสัมพันธ์ระหว่างทางการนิวเดลีกับทางการปักกิ่งผ่านการเยือนระดับสูงหลายครั้ง นี่คือการเยือนประเทศจีนครั้งที่ 4 ในรอบ 12 ปีที่ผ่านมาของนายกรัฐมนตรีอินเดีย ในขณะเดียวกัน ในช่วงเวลาดังกล่าว ทางการนิวเดลีได้ให้การต้อนรับบรรดาผู้นำของจีนเดินทางไปเยือนอินเดียถึง 6 ครั้ง ที่น่าสนใจคือการที่จีนเลือกมณฑล ซีอาน มณฑลส่านซีซึ่งเป็นบ้านเกิดของนาย สีชิ้นผิง ประธานประเทศจีนเพื่อจัดการพบปะและเจรจาซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ทางการปักกิ่งให้ความสำคัญต่อการพบปะนี้และอยากยุติความขัดแย้งในอดีตกับอินเดีย
ในกรอบการเยือนประเทศจีน นาย นเรนทรา โมดี จะพบปะกับบรรดาผู้นำจีน เข้าร่วมการประชุมด้านเศรษฐกิจ ณ เมืองเซียงไฮ้และพบปะกับผู้บริหารของเครือบริษัทเศรษฐกิจชั้นนำของจีน คาดว่า ข้อตกลงที่ได้ลงนามในกรอบการเยือนนี้จะมีมูลค่าถึง 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
ความคัดแย้งที่มีอยู่ในอดีต

ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับจีนไม่มีความราบรื่นเนื่องจากการพิพาทในเขตชายแดนโดยในอดีต ได้เกิดสงครามในเขตชายแดนระหว่างจีนกับอินเดีย 3 ครั้งและจนถึงขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุมาตรการทางการเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน  จีนเคยประกาศว่า นิวเดลีกำลังพิพาทกับจีนในภาคตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย รวมพื้นที่ 9 หมื่นตางรางกิโลเมตร ส่วนอินเดียก็ได้ประกาศว่า จีนได้ยึดครองพื้นที่ในภาคตะวันตกของเขตที่ราบสูง อัคไซ ชิน ของอินเดีย รวมพื้นที่ 3 หมื่น 8 พันตารางกิโลเมตร เมื่อเดือนกันยายนปี 2014 ในขณะที่นาย สีชิ้นผิง ประธานประเทศจีนกำลังอยู่ระหว่างการเยือนอินเดียเพื่อเข้าร่วมการเจรจาสุดยอดครั้งแรกกับนาย นเรนทรา โมดี ก็ได้เกิดการปะทะระหว่างกองทัพของทั้งสองฝ่ายในเขต ลาดักห์ ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาหิมาลัยซึ่งตั้งแต่ช่วงนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ความขัดแย้งนี้ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขและยังคงเกิดการปะทะประปราย ล่าสุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2015 จีนได้แสดงความไม่พอใจต่อการที่นาย นเรนทรา โมดี เข้าร่วมพิธีฉลองการก่อตั้งเขตรัฐอรุณาจัลประเทศซึ่งเป็นเขตชายแดนที่เกิดการพิพาทซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ภายใต้การควบคุมของอินเดียซึ่งทางการปักกิ่งได้เรียกเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศจีนเข้าพบเพื่อมอบหนังสือประท้วง พร้อมทั้งย้ำว่า จีนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความสัมพันธ์กับอินเดีย แต่มีความประสงค์ว่า ทางการนิวเดลีจะไม่มีปฏิบัติการที่ทำให้สถานการณ์ในเขตชายแดนมีความซับซ้อนมากขึ้นและแก้ไขปัญหานี้ผ่านการเจรจาทวิภาคี
อุปสรรค์ในความร่วมมือทวิภาคี

ถึงแม้มีความขัดแย้งกันอยู่ แต่อินเดียและจีนยังคงแสวงหาเสียงพูดร่วมกันเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยตั้งแต่ปี 2000 ความสัมพันธ์ด้านการค้าทวิภาคีจีน-อินเดียได้มีการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 29 ต่อปีซึ่งเร็วกว่าอัตราการขยายตัวด้านการค้ากับประเทศอื่นๆ เมื่อมองรอบด้านจะพบว่า ความร่วมมืออินเดีย-จีนถือเป็นเรื่องปรกติเพราะทั้งสองประเทศมีประชากรคิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากรโลกและทั้งสองประเทศต่างเป็นเศรษฐกิจที่เพิ่งเกิดใหม่ของโลก ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงต้องการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ  แต่จนถึงปัจจุบัน ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอินเดียกับจีนถูกระบุอย่างชัดเจนในฟอรั่มพหุภาคีมากกว่าความสัมพันธ์ทวิภาคี ถึงแม้เป็นเศรษฐกิจใหญ่ในเอเชีย แต่อินเดียยังไม่ติด 10 หุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ของจีน ผู้สังเกตการณ์ได้แสดงความเห็นว่า ปัจจุบัน การแลกเปลี่ยนการค้าอินเดีย-จีนยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับศักยภาพของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจประสบความสำเร็จตามที่หวังไว้ ทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักว่า ต้องแก้ไขความท้าทายมากมายโดยในปัจจุบัน อุปสรรค์ของความสัมพันธ์ทวิภาคีจีน-อินเดียคือความขัดแย้งในเขตชายแดนและอุปสรรค์อีกประการก็คือผลประโยชน์ในภูมิศาสตร์เมื่อทั้งสองฝ่ายกำลังพยายามสร้างอิทธิพลในภูมิภาคโดยใช้หุ้นส่วนต่างๆเป็นเครื่องถ่วงดุลย์ เช่นสหรัฐและปากีสถาน
ทั้งร่วมมือและแข่งขัน

สิ่งที่เห็นได้ชัดในหลายปีมานี้คือ ถึงแม้ยังมีความสงสัยเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และถืออีกฝ่ายเป็นภัยคุกคาม แต่ทั้งจีนและอินเดียต่างประสบความสำเร็จในการควบคุมการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ พร้อมทั้งขยายด้านที่สามารถร่วมมือกันโดยจีนมีจุดแข็งเกี่ยวกับการผลิตสินค้า โครงสร้างพื้นฐานและฮาร์ดแวร์ในขณะที่อินเดียมีจุดแข็งเกี่ยวกับการบริการ เทคโนลียีสารสนเทศ  ซอฟต์แวร์และตลาดการเงิน ดังนั้น ทั้งสองประเทศต่างมีความต้องการใช้ประโยชน์ของกันและไม่ให้ความขัดแย้งส่งผลกระทบต่ออนาคตของความสัมพันธ์ร่วมมือ นอกจากนั้น ทั้งอินเดียและจีนต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันในการลดอำนาจของประเทศอื่นกับหุ้นส่วนและถ่วงดุลย์กันในการระดมกองกำลังทั้งภายในและนอกภูมิภาค
จากการเห็นถึงผลประโยชน์ของการประนีประนอมแทนการปะทะ การเยือนจีนครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรีอินเดีย  นเรนทรา โมดี มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันความไว้วางใจทางการเมืองกับจีน เพื่อการพัฒนาอย่างเข้มแข็งและกลายเป็นประเทศมหาอำนาจที่ได้รับการรับรองจากโลก ทางการปักกิ่งไม่สามารถขาดการสนับสนุนจากทางการนิวเดลีและทางการนิวเดลีก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากจีนเช่นกัน ความตึงเครียดด้านภูมิศาสตร์และความต้องการด้านเศรษฐกิจกำลังทำให้ทั้งสองประเทศมหาอำนาจในเอเชียต้องร่วมมือกันเพื่อช่วยลดความสงสัยและ การขาดความไว้วางใจในประวัติศาสตร์และการแข่งขันในอนาคต./.

Komentar