จีนก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆในแนวปะการัง Subi (Photo AP)
|
ในช่วงที่ผ่านมา จีนได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนอย่าง “คล่องตัว” ในนโยบายเกี่ยวกับทะเลตะวันออก ตั้งแต่การวาดเส้นประ 9 เส้นเองไปจนถึงการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า ยุทธศาสตร์ “ซื่อซา” และเมื่อแผน “เส้นประ 9 เส้น” ถูกประชาคมระหว่างประเทศคัดค้านอย่างรุนแรง จีนก็ได้หันมาปฏิบัติแผนการประกาศอธิปไตยเหนือเกาะแก่งและแนวปะการังในทะเลตะวันออก โดยจีนได้จัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า “ เขตซีซา” และ “เขตหนานซา” ส่งเครื่องบินไปจอดที่เกาะด๊าจื๋อเถิบในหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ของเวียดนาม ซึ่งการที่จีนผลักดันยุทธศาสตร์ “ซื่อซา” ได้ละเมิดข้อกำหนดต่างๆของกฎบัตรสหประชาชาติและอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 อย่างรุนแรง แสดงให้เห็นถึงการเดินหน้าผลักดันความทะเยอทะยานของจีนในการยืนยันอธิปไตยที่ละเมิดกฎหมายในทะเลตะวันออกเพื่อมุ่งควบคุมทะเลตะวันออกทั้งหมด ซึ่งทำให้ประชามติต้องแสดงปฏิกิริยาอย่างเข้มแข็งต่อความทะเยอทะยานที่ไร้เหตุผลนี้ของจีนในทะเลตะวันออก
ร่วมกันยื่นหนังสือประท้วงต่อสหประชาชาติ
ในหลายวันที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาคต่างคัดค้านความทะเยอทะยานที่ไร้เหตุผลของจีนในทะเลตะวันออก
โดยล่าสุด นาง Kelly Craft เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติได้ยื่นจดหมายถึงเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติเพื่อประท้วงคำเรียกร้องอธิปไตยเหนือทะเลตะวันออกที่ไร้เหตุผลและผิดกฎหมายของจีน โดยย้ำว่า สหรัฐคัดค้านคำเรียกร้องนี้เนื่องจากไม่สอดคล้องกับกฎหมายสากลที่ได้ถูกระบุในอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 พร้อมทั้งเรียกร้องให้นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติส่งจดหมายนี้ถึงทุกประเทศสมาชิกของสหประชาชาติเพื่อเป็นเอกสารในระเบียบวาระการประชุมของสมัชชาใหญ่สหประชาติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ส่วนนาย ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้ประกาศว่า สหรัฐคัดค้านคำเรียกร้องเกี่ยวกับอธิปไตยที่ละเมิดกฎหมายของจีนในทะเลตะวันออก โดยถือว่า เป็นการกระทำที่อันตรายและละเมิดกฎหมาย พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทุกประเทศสมาชิกของสหประชาชาติสามัคคีกันในการธำรงกฎหมายสากลและการเดินเรืออย่างเสรี
นาง Kelly Craft เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ (Photo กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ)
|
ในขณะเดียวกัน อินโดนีเซียได้ยืนยันจุดยืนของตนเกี่ยวกับปัญหานี้ผ่านหนังสือที่ส่งถึงเลขาธิการใหญ่ของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมว่า รัฐบาลอินโดนีเซียสนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮ็กเมื่อปี 2016 โดยยืนยันว่า “คำเรียกร้องของจีนเกี่ยวกับ “เส้นประ 9 เส้น” เป็นเรื่องที่ไม่มีพื้นฐานทางนิตินัยและละเมิดอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 อย่างรุนแรง” ซึ่งเป็นหนึงสือประท้วงฉบับล่าสุดของบรรดาประเทศอาเซียนที่ส่งถึงสหประชาชาติต่อจากหนังสือของเวียดนามเมื่อเดือนมีนาคมปี 2020 และหนังสือของมาเลเซียเมื่อเดือนธันวาคมปี 2019 เกี่ยวกับการที่จีนได้ประกาศอธิปไตยเหนือไหล่ทวีปในทะเลตะวันออก
แผนการเรียกผลประโยชน์กับสิ่งที่ต้องแลก
ทั้งนี้สามารถเห็นได้ว่า การเคลื่อนไหวต่างๆของจีนล้วนเป็นสิ่งที่ภูกวางไว้มาก่อน โดยจีนได้เพิกเฉยอธิปไตยที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ของเวียดนามและสิทธิที่ชอบธรรมของหลายประเทศทั้งในระดับภูมิภาคและโลกเกี่ยวกับการเดินเรือและการบินอย่างเสรีในหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลล์และเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ในทะเลตะวันออกเพื่อเรียกร้องอธิปไตยอย่งไร้เหตุผลแต่เพียงฝ่ายเดียว อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้จากแผนปฏิบัตินี้กับสิ่งที่จีนต้องแลกนั้นคือเรื่องที่ต้องพูดถึง โดยบรรดาผู้สังเกตการณ์แสดงความคิดเห็นว่า ความเสี่ยงจากการที่จีนบังคับใช้สิทธิต่างๆในทะเลตะวันออกแต่เพียงฝ่ายเดียวย่อมจะเกิดขึ้นแน่นอน นั่นคือความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐนับวันรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากการเผชิญหน้ากันในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการค้า เทคโนโลยี ไปจนถึงปัญหาด้านทหารและปัจจุบันคือการกล่าวหาและตำหนิกันเกี่ยวกับการป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 รวมทั้งแหล่งกำเนิดของเชื้อไวรัส SARS – CoV- 2 นอกจากนี้ ภาพลักษณ์ของประเทศมหาอำนาจของจีนก็ได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติที่ละเมิดกฎหมายสากล ดังนั้น ถ้าหากจีนยังคงมีปฏิบัติการที่ก้าวร้าวในทะเลตะวันออก เพิกเฉยต่อกฎหมายสากลและอธิปไตยของบรรดาประเทศริมฝั่งทะเลต่อไปก็จะส่งผลให้เพิ่มโอกาสที่จะเกิดการปะทะ การเผชิญหน้าในภูมิภาคมากขึ้น พร้อมทั้งจะสร้างความซับซ้อนและทำให้การแก้ไขปัญหาพิพาททำได้ยากขึ้น ถ้าหากมองในภาพรวมแล้ว นี่ถือเป็นเรื่องที่น่าอันตรายต่อความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค./.