รองนายกรัฐมนตรี เจิ่นลิวกวาง และบรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม (VNA) |
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 1961 โดยปัจจุบันมีสมาชิก 38 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจที่พัฒนาชั้นนำของโลก นี่คือองค์กรที่เดินหน้าในการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจและสังคมแก่รัฐบาลของประเทศต่างๆ เชื่อมโยงและส่งเสริมการจัดทำกลไกการธรรมาภิบาลโลกในด้านการเงิน ภาษีและการขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างเวียดนามกับ OECD ได้พัฒนาอย่างเข้มแข็งในตลอดกว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาและนับวันเข้าสู่ส่วนลึก จริงจังและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำผลประโยชน์มาสู่เวียดนามและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความร่วมมือที่มีคุณภาพสูงมากขึ้น
เมื่อเดือนมีนาคมปี 2008 เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกของศูนย์พัฒนา OECD อย่างเป็นทางการ และตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา เวียดนามได้จัดทำแผนความร่วมมือทวิภาคีกับ OECD ในระยะต่าง ๆ เช่นช่วงปี 2012-2015 ปี2016-2020 และ ปี2021-2025 จากการปฏิบัติตามแนวทางและกรอบความร่วมมือที่ได้รับการให้คำมั่น เวียดนามและ OECD ได้ประสานงานในการวิจัยและจัดทำรายงานกว่า 10 ฉบับในด้านและระดับต่างๆ ในช่วงปี 2019-2020 กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนามได้เป็นประธานและประสานงานกับ OECD จัดทำรายงาน “ประเมินหลายมิติของเวียดนาม” หรือ MDR ซึ่งเป็นเอกสารที่ได้รับการจัดทำอย่างรอบคอบ สามารถใช้อ้างอิงและเป็นผลงานวิจัยข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการจัดทำร่างเอกสารเกี่ยวกับยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2021-2030 และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม-เศรษฐกิจระยะ 5 ปี คือตั้งแต่ปี 2021-2025 ในเวียดนาม
นอกจากนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2019 เวียดนามและ OECD ได้เจรจาเพื่อจัดทำโครงการแห่งชาติ รวมถึง โครงการความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม 8-10 โครงการที่ปฏิบัติเป็นเวลา 3 ปี คือตั้งแต่ปี 2020-2023 และโครงการความร่วมมือแห่งชาติกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก OECD ซึ่งไม่เพียงแต่รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะและการให้คำปรึกษาด้านนโยบายเท่านั้น หากยังสนับสนุนกระบวนการปฏิบัตินโยบายอีกด้วย
ในการกล่าวปราศรัยในฟอรั่มรัฐมนตรี OECD-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปีนี้ ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงฮานอยในระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคม ภายใต้หัวข้อ “การลงทุนที่ยั่งยืนและมีคุณภาพ: แรงผลักดันใหม่ให้แก่ความสัมพันธ์หุ้นส่วน OECD- เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นาย Mathias Cormann เลขาธิการ OECD ได้กล่าวถึงเวียดนามว่าเป็นตัวอย่างดีเด่นของความร่วมมือที่มีคุณภาพมากขึ้นระหว่าง OECD กับประเทศอื่นๆ
“ยกตัวอย่างเช่น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบให้แก่หน่วยงานสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้าเวียดนาม ซึ่งจัดทำโดย OECD ได้ตอบสนองความคาดหวังที่ชัดเจน อีกทั้ง ค้ำประกันการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม”
นาย Mathias Cormann เลขาธิการ OECD (VNA) |
มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อความร่วมมือ OECD-อาเซียน
ไม่เพียงแต่ยกระดับคุณภาพความร่วมมือทวิภาคีกับ OECD เท่านั้น หากเวียดนามยังมีส่วนร่วมในเชิงรุกและมีความกระตือรือร้นต่อความร่วมมือระหว่าง OECD กับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนอีกด้วย
ตั้งแต่ปี 2014 เมื่อ OECD ประกาศโครงการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ SEARP เพื่อสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เวียดนามก็เป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นอยู่เสมอ ในช่วงที่ผ่านมา เวียดนามได้จัดการสนทนานโยบายที่สำคัญต่างๆ ระหว่าง OECD กับอาเซียน เช่น ฟอรั่ม “เพิ่มผลผลิตที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ครอบคลุมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2016 ฟอรั่มรัฐมนตรี OECD-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเดือนตุลาคมปี 2022 ณ กรุงฮานอยเกี่ยวกับ “การเชื่อมโยงระดับภูมิภาค: ส่งเสริมความสัมพันธ์หุ้นส่วนเพื่อมุ่งสู่ห่วงโซ่อุปทานที่พึ่งตนเองและยั่งยืน” และฟอรั่มรัฐมนตรี OECD - เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีนี้เกี่ยวกับการลงทุนที่ยั่งยืนและมีคุณภาพ
พร้อมกับออสเตรเลีย ปัจจุบัน เวียดนามเป็นประธานร่วมของ SEARP วาระปี 2022-2025 ในฐานะตำแหน่งนี้ เวียดนามเป็นฝ่ายรุกในการสนับสนุนความคิดริเริ่มอยู่เสมอ ล่าสุด ในฟอรั่มรัฐมนตรี OECD-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ณ กรุงฮานอย นาย เจิ่นลิวกวาง รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เสนอ 5 แนวทางเพื่อส่งเสริมการลงทุน OECD-อาเซียน อีกทั้ง แนะนำแนวทางการลงทุนของเวียดนามโดยถือว่า นี่เป็นการสนับสนุนการอภิปรายเกี่ยวกับการลงทุนที่ยั่งยืนและมีคุณภาพระหว่าง OECD กับอาเซียน
“1 คือ การปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของนักลงทุน 2 คือเดินพร้อมกับสถานประกอบการเพื่อฟันฝ่าความยากลำบาก 3 คือสร้างสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศการผลิตและประกอบธุรกิจที่เท่าเทียมกัน โปร่งใสและยั่งยืน เราเชื่อมั่นว่า นี่จะเป็นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือลงทุนที่มีคุณภาพสูงระหว่างเวียดนามกับ OECD และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน”
ความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่น่าประทับใจและความคิดริเริ่มต่างๆ ของเวียดนามได้รับการชื่นชมเป็นอย่างสูงจาก OECD นาย Mathias Cormann เลขาธิการ OECD ประเมินว่า เวียดนามเป็นจุดเด่นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะมืดมน ในรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมให้แก่ฟอรั่มการลงทุน OECD-เวียดนาม ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม ณ กรุงฮานอย OECD ยังแสดงความเห็นว่า เวียดนามกำลังเดินถูกทิศทางเพื่อตอบสนองมาตรฐานในระดับสูงเกี่ยวกับการลงทุนที่ OECD ได้กำหนดใน “แถลงการณ์เกี่ยวกับการลงทุนระหว่างประเทศและบริษัทข้ามชาติ” ซึ่งเป็นเอกสารที่ได้รับการยอมรับของนักลงทุนต่างชาติ
OECD แสดงความเห็นว่า เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องมากที่สุด ซึ่งมีความคืบหน้าเป็นอย่างมากเกี่ยวกับบรรยากาศการลงทุนที่โปร่งใส ตลอดจน การดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบหรือ RBC ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เวียดนามส่งเสริมบทบาทของตนต่อนโยบายการปฏิรูปที่สำคัญของภูมิภาค.