(VOVworld)-วันที่29พฤศจิกายน ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ลงมติเกี่ยวกับการยกระดับสถานภาพของปาเลสไตน์จากสถานะผู้สังเกตการณ์เป็นรัฐสังเกตการณ์สหประชาชาติ ซึ่งเหตุการณ์นี้ถือว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะสำเร็จและหากได้รับการรับรองปาเลสไตน์จะมีสถานะใหม่ที่เอื้อให้แก่การดำเนินกระบวนการแสวงหาการสนับสนุนความเป็นรัฐอิสระต่อไป แต่ถึงอย่างไรก็ดีเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ ชาวปาเลสไตน์ยังต้องรับมือกับความท้าทายนานัปการ
|
สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ลงมติเกี่ยวกับการยกระดับสถานภาพของปาเลสไตน์จากสถานะผู้สังเกตการณ์เป็นรัฐสังเกตการณ์สหประชาชาติ(internet)
|
จากสถานการณ์ล่าสุดปรากฎว่า ร่างมติว่าด้วยการรับรองสถานภาพเป็นรัฐสังเกตการณ์ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ โดยเมื่อวันที่27ที่ผ่านมา นาย โลรองต์ ฟาบิอุส รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนต่อรัฐสภาว่า จะสนับสนุนปาเลสไตน์ ในขณะที่โปรตุเกส สวิสเซอร์แลนด์และล่าสุดนี้คืออังกฤษก็ได้ออกมาแสดงการสนับสนุนด้วยเช่นกัน ก่อนหน้านั้นสมาชิกยูเอ็น132ประเทศจากทั้งหมด193ประเทศก็ได้ยอมรับรัฐปาเลสไตน์ ซึ่งตามเงื่อนไขที่กำหนดนั้น เพื่อที่จะได้รับการรับรองปาเลสไตน์จะต้องได้เสียงสนับสนุนจาก2/3ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ดังนั้นโอกาสสำหรับปาเลสไตน์ครั้งนี้ถือว่าสูงมากและที่สำคัญอีกก็คือสหรัฐไม่มีสิทธิ์ยับยั้งมติและการลงมติของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติไม่ต้องผ่านคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งอาจถือว่านี่เป็นชัยชนะทางการทูตและด้านจิตใจที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนปาเลสไตน์ แต่ทั้งนี้ พร้อมกับก้าวเดินที่ถือว่ามีความหมายสำคัญของชาวปาเลสไตน์นั้นก็มีอุปสรรคความท้าทายมากมายที่กำลังรออยู่ โดยก่อนอื่นคือปัญหาภายในประเทศที่ขบวนการฮามาสซึ่งไม่เคยให้การรับรองรัฐอิสราเอลและกำลังควบคุมฉนวนกาซ่าได้แสดงความเห็นว่า นายมามุดอาบบาสไม่ได้ตอบสนองความปรารถนาของชาวปาเลสไตน์เมื่อยอมรับเส้นแบ่งพรมแดนปี1967 ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ดินแดนร้อยละ80ของปาเลสไตน์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอิสราเอล ส่วนปัญหาจากภายนอกนั้นก็มีสหรัฐและอิสราเอลที่แสดงจุดยืนคัดค้านความพยายามของปาเลสไตน์อย่างรุนแรง โดยหลังจากที่ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ได้ยื่นเอกสารขอยกระดับสถานะต่อสหประชาชาติ ทั้งสหรัฐและอิสราเอลต่างแสดงการคัดค้านโดยวอชิงตันได้กล่าวว่าสิ่งนี้จะทำลายกระบวนการเจรจากับอิสราเอลเพื่อยุติการปะทะที่ยืดเยื้อมาหลายทศวรรษระหว่างสองฝ่าย ส่วนอิสราเอลทั้งออกมาตำหนิทั้งขู่ว่า จะใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อต่อต้านปาเลสไตน์หากประธานาธิบดีมามุดอาบบาสสามารถดำเนินแผนการดังกล่าวอย่างลุล่วง ส่วนทางด้านประชามตินั้นเห็นว่า ท่าทีดังกล่าวเป็นเรื่องปกติเพราะสำหรับทางการอิสราเอล การรับรองเอกราชของปาเลสไตน์ก็หมายถึงการที่อิสราเอลต้องยุติการยึดครองดินแดนของปาเลสไตน์ ส่วนวอชิงตันนั้นแน่นอนว่าต้องให้การสนับสนุนพันธมิตรที่สำคัญของตนในตะวันออกกลางอยู่แล้ว
|
ประธานาธิบดีปาเลสไตน์แถลงข่าวหลังจากได้ยื่นเอกสารขอยกระดับสถานะต่อสหประชาชาติ(AP) |
เมื่อย้อนอดีตไปเมื่อกว่า 60 ปีก่อน มาตรการสองรัฐอยู่ร่วมกันอย่างสันติเป็นข้อคิดริเริ่มแรกของนานาประเทศเพื่อแก้ไขการพิพาทระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์บนดินแดนของชาวปาเลสไตน์ โดยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนปี 1947 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ผ่านความเห็นชอบมติ 181 ที่แบ่งปาเลสไตน์เป็น 2 รัฐ คือของชาวยิวและชาวปาเลสไตน์ ต่อจากนั้นประชาคมระหว่างประเทศก็ได้อนุญาติให้อิสราเอลประกาศจัดตั้งรัฐของชาวยิวและรับรองสถานภาพเป็นรัฐอิสระเมื่อมอบสถานภาพเป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ในองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ รวมทั้งสหประชาชาติให้แก่อิสราเอล ในขณะเดียวกัน ชาวปาเลสไตน์ยังต้องพยายามแสวงหาสิทธิการจัดตั้งรัฐของตนเองมาจนถึงปัจจุบัน และนับตั้งแต่ปี 1988 องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้พยายามต่อสู้ผ่านกลไกระหว่างประเทศที่ชอบธรรมต่าง ๆ รวมทั้งผ่านมาตรการปฏิบัติของตนเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ปาเลสไตน์ นั่นคือการจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ที่อิสระและมีเส้นแบ่งพรมแดนปี 1967 เพื่อกลายเป็นเพื่อนบ้านของอิสราเอล รัฐที่ได้รับการจัดตั้งบนพื้นที่ร้อยละ 80 ของปาเลสไตน์ในประวัติศาสตร์ เวลาผ่านไปกว่า 20 ปีนับตั้งแต่การประชุมสันติภาพมาดริดปี 1991 ชาวปาเลสไตน์ก็ยังไม่สามารถแสวงหารัฐที่เอกราชพร้อมอาณาเขตของตัวเองได้ เนื่องจากกระบวนการเจรจาระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลได้ประสบความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าเพราะความขัดแย้งระหว่างสองฝ่าย โดยอิสราเลยืนยันพร้อมที่จะเข้าร่วมการเจรจาโดยปราศจากเงื่อนไข ส่วนปาเลสไตน์ได้ประกาศว่าจะไม่มีการเจรจาใดหากอิสราเอลยังเดินหน้าก่อสร้างเขตที่พักอาศัยของชาวยิวในดินแดนที่ยึดครองของปาเลสไตน์พร้อมกับฉนวนกาซ่า บวกกับการเปิดไฟเขียวของสหรัฐให้แก่ปฏิบัติการต่าง ๆ ของอิสราเอลก็ยิ่งทำให้สันติภาพในตะวันออกกลางกลายเป็นเรื่องเพ้อฝัน ดังนั้นการที่ปาเลสไตน์เลือกวิธีการดังกล่าวเพื่อมุ่งสร้างสรรค์เอกราชประเทศให้แก่ตนเองก็เป็นเรื่องที่ไม่แปลก
ถึงเวลาแล้วที่ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากที่ต้องพลัดพลากจากกันและทนรับความสูญเสียมามากมายต้องได้มีชีวิตความเป็นอยู่ตามปกติเหมือนประชาชนประเทศอื่น ๆ ในโลก มีสิทธิเสรีภาพบนดินแดนที่ตนมีอธิปไตยและเอกราช และนี่คือความปราถนาที่ประชาคมระหว่างประเทศให้การสนับสนุน แต่ถึงอย่างไรก็ดีเส้นทางเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้จะเต็มไปด้วยความท้าทาย จากคำพูดถึงการปฏิบัติมิใช่เป็นเส้นทางที่ราบรื่นเพราะถึงแม้จะได้รับการยกระดับสถานภาพเป็นรัฐสังเกตการณ์สหประชาชาติแล้ว แต่ปาเลสไตน์ก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาการพิพาททางดินแดนกับอิสราเอลต่อไป และนี่เป็นเพียงผลสำเร็จเบื้องต้นเพื่อดึงความสนใจจากประชามติและเริ่มกระบวนการใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะสิ้นสุด./.