ความตึงเครียดระลอกใหม่ในความสัมพันธ์รัสเซีย-อียู

Hong Van/VOV5
Chia sẻ

(VOVworld)-ในขณะที่รัสเซียและประเทศตะวันตกกำลังแสวงหามาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขวิกฤตในยูเครน แต่การที่เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาประธานคณะกรรมการยุโรปหรืออีซี ฌอง-คล้อด ยุงเกอร์ เรียกร้องให้ก่อตั้งกองทัพสหภาพยุโรปได้สร้างกระแสการคัดค้านภายในอียูแถมยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับอียูมีแนวโน้มเลวร้ายลงอีกด้วย


(VOVworld)-ในขณะที่รัสเซียและประเทศตะวันตกกำลังแสวงหามาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขวิกฤตในยูเครน แต่การที่เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาประธานคณะกรรมการยุโรปหรืออีซี ฌอง-คล้อด ยุงเกอร์ เรียกร้องให้ก่อตั้งกองทัพสหภาพยุโรปได้สร้างกระแสการคัดค้านภายในอียูแถมยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับอียูมีแนวโน้มเลวร้ายลงอีกด้วย

ความตึงเครียดระลอกใหม่ในความสัมพันธ์รัสเซีย-อียู - ảnh 1
ประธานอีซี ฌอง-คล้อด ยุงเกอร์ (Reuter)

ในการตอบสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ Welt am Sonntag ของเยอรมนีประธานคณะกรรมการยุโรปหรืออีซี ฌอง-คล้อด ยุงเกอร์ได้เผยว่า กองกำลังนี้จะช่วยอียูประสานนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงให้ดียิ่งขึ้นและแสดงความรับผิดชอบในฐานะของยุโรปบนเวทีโลก ตลอดจนจะมีส่วนร่วมเสริมสร้างนโยบายด้านความมั่นคงของอียูเพื่อรับมือกับวิกฤตเหมือนที่อาจจะเกิดขึ้นเหมือนในยูเครน

หลังสงครามโลกครั้งที่สองคือช่วงปี50ของศตวรรษก่อน เยอรมนี ฝรั่งเศสและอิตาลีรวมทั้งประเทศสมาชิกสหภาพศุลกากรเบเนลักซ์ต่างมีความประสงค์ที่จะจัดตั้งประชาคมด้านกลาโหมยุโรปแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะถูกคัดค้านจากรัฐสภาฝรั่งเศส นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันแผนการนี้ก็ได้รับการเอ่ยถึงหลายครั้งโดยล่าสุดคือเมื่อปี2004ที่อียูได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังทหารหมุนเวียนกันภายในกลุ่มเพื่อเตรียมพร้อมเข้าแทรกแซงเขตที่เกิดวิกฤตแต่ในทางเป็นจริงกองกำลังนี้ยังไม่เคยปรากฎตัวอย่างเป็นรูปธรรม

กองทัพอียูคือวิสัยทัศน์และแนวโน้มของยุโรปเมื่อโอกาสอำนวย

ตามความเห็นของประธานอีซี ภาพลักษณ์ของอียูได้เสื่อมเสียลงเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในด้านการต่างประเทศเพราะดูเหมือนว่าอียูไม่สามารถแบกรับหน้าที่ความรับผิดชอบของตนได้อย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันการก่อตั้งกองทัพอียูจะพิสูจน์ให้โลกเห็นว่าจะไม่เกิดปัญหาการปะทะในกลุ่มและยังช่วยให้ค่าใช้จ่ายด้านอาวุธยุทโธปกรณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้28ประเทศสมาชิกมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น โดยกองทัพของอียูจะช่วยให้ให้ยุโรปสามารถจัดการกับภัยคุกคามได้อย่างทันการณ์ในประเทศสมาชิกหรือประเทศเพื่อนบ้านและยังเป็นการยืนยันเพื่อให้รัสเซียเห็นว่า อียูมีความจริงจังในการปกป้องผลประโยชน์ของตน ประธานอีซียังปฏิเสธทัศนะที่ว่าการก่อตั้งกองทัพยุโรปจะเป็นความท้าทายต่อกลุ่มนาโต้

สร้างความแตกแยกในกลุ่มและเพิ่มความขัดแย้ง

อย่างไรก็ดี ยังไม่มีใครเห็นถึงประสิทธิภาพของแนวคิดที่จะจัดตั้งกองทัพของอียูแต่ที่เห็นได้ทันทีก็คือปฏิกิริยาของฝ่ายต่างๆ โดยก่อนอื่นคือในกลุ่มอียูเอง ซึ่งนางอังเกลา แมร์เคิล นายกฯและนาย แฟรงค์ วอลเตอร์ สไตน์ไมเออรัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนีต่างแสดงการสนับสนุนแนวคิดดังกล่าวโดยเห็นว่าความร่วมมือด้านการทหารอย่างกว้างลึกในยุโรปคือสิ่งที่จำเป็นเพื่อรับมือกับความท้าทายทั่วโลกและภัยคุกคามใหม่ต่อความเป็นระเบียบของยุโรปจำเป็นต้องมีกลไกที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ความมั่นคง

แต่ในทางตรงกันข้ามกับท่าทีของเยอรมนี มีหลายประเทศยุโรปไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้โดยเฉพาะฝรั่งเศสและอังกฤษซึ่งได้แสดงท่าทีที่ระมัดระวังในการมอบหน้าที่ทางทหารในขอบเขตที่กว้างใหญ่ให้กับอียูเพราะสิ่งนี้อาจจะทำให้กลุ่มนาโตมีอิทธิพลน้อยลง นอกจากนั้นอังกฤษยังเห็นว่านี่เป็นความคิดที่ไม่อาจพัฒนาได้และอังกฤษยังไม่พร้อมที่จะเข้าร่วมพันธมิตรทางทหารนี้ ในขณะเดียวกันสมาชิกของพรรคฝ่ายค้านในอังกฤษยังแสดงความเห็นว่า การก่อตั้งกองทัพยุโรปจะเป็นปัญหาของภูมิภาคและคุกคามต่ออธิปไตยของแต่ละประเทศสมาชิก ส่วนนาย โจนาทาน สติลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาระหว่างประเทศของนิตยสาร เดอะการ์เดียน ของอังกฤษได้แสดงความเห็นว่า อียูควรคิดอย่างรอบคอบก่อนเสนอความคิดต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่มีต่อความสัมพันธ์กับรัสเซียเพราะขณะนี้มาตรการคว่ำบาตรต่างๆของอียูต่อรัสเซียก็ได้ส่งผลกระทบต่อบางเศรษฐกิจในอียูและหลายประเทศยังเป็นห่วงว่าความสัมพันธ์รัสเซีย-อียูกำลังเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง

ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิ่งที่ต้องกล่าวถึงก็คือท่าทีของรัสเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อเสนอของประธานอีซี โดยสส.อาวุโสของรัสเซีย เลโอนิด สลุตสกี ได้แสดงความเห็นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่าอียูกำลังแสดงให้เห็นถึงความหวาดระแวงต่อรัสเซียและแนวคิดที่จะก่อตั้งกองทัพก็เพื่อมุ่งถ่วงดุลทางทหารกับรัสเซียซึ่งเป็นประเทศที่ไม่เคยมีความคิดที่จะก่อสงครามกับไม่ว่าประเทศใดในโลก ส่วนนาย แฟรง กลิน สเตวิช สมาชิกคณะกรรมาธิการกลาโหมแห่งสภาล่างรัสเซียได้กล่าวว่าถ้าหากกองทัพอียูได้รับการก่อตั้งก็อาจจะกลายเป็นปฏิบัติการยั่วยุ

ทั้งนี้ในสภาวการณ์ที่รัสเซียและฝ่ายต่างๆยังไม่สามารถแสวงหามาตรการแก้ไขวิกฤตของยูเครนได้ การที่อียูเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียและล่าสุดคือคำเรียกร้องให้จัดตั้งกองทัพอียูนั้นมีแต่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอียู-รัสเซียเลวร้ายลงและแน่นอนว่าจะไม่เอื้อประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่ายอีกทั้งจะส่งผลต่อการแก้ไขความขัดแย้งที่มีอยู่ให้ยากขึ้นตามไปด้วย./.

Komentar