( VOVworld )-แม้ว่าปี ๒๐๑๒ จะประสบความท้าทายต่างๆนานา แต่ความร่วมมือในองค์การอาเซียนยังประสบผลเป็นที่น่ายินดีไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกในความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จะมุ่งสู่ประชาคมอาเซียนให้สำเร็จภายในปี ๒๐๑๕ จุดยืนในการแก้ไขปัญหาภายในกลุ่มและปัญหาความท้าทายจากภายนอก นอกจากนี้แล้ว การแสวงหาเสียงพูดเดียวกันได้ช่วยตอบโจทย์ปัญหากำแพงกีดกันต่างๆเพื่อมุ่งสู่องค์การอาเซียนที่สามัคคีและเป็นหนึ่งเดียวเพื่อรับมือกับปัญหามากมายที่จะต้องแก้ไขที่กำลังรออยู่ข้างหน้า
ตลอด ๔๕ ปีที่ผ่านมา การพัฒนาสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนไม่ได้โปรยด้วยกลีบดอกกุหลาบ หากต้องผ่านเส้นทางที่ขรุขระและเต็มไปด้วยปัญหาที่ต้องแก้ไข และปี ๒๐๑๒ ก็เป็นปีแห่งการทดสอบความสามัคคีภายในกลุ่มเพราะได้เกิดความไม่ลงตัวในหลายประเด็น ซึ่งเห็นได้ชัดคือ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาตร์การพัฒนาขององค์กรอาเซียน ที่ที่ประชุมรมว.ต่างประเทศขององค์กรเมื่อเดือนกรกฎคมปีนี้ ไม่สามารถผ่านความเห็นชอบปฏิญญาร่วมเนื่องจากทัศนะที่แตกต่างกันในปัญหาทะเลตะวันออก แต่เนื่องด้วยเกียรติประวัติความสามัคคีและการแก้ไขปัญหาที่สมเหตุสมผล ในที่สุดอาเซียนก็สามารถตกลงกันได้ในหลักการร่วมเกี่ยวกับทะเลตะวันออก สาเหตุที่นำไปสู่การมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในบางปัญหาเนื่องมาจาก ๑๐ ชาติสมาชิกอาเซียนมีประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม การพัฒนา ระบบการเมือง สังคมและผลประโยชน์แตกต่างกัน ดังนั้นการมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดเอกลักษณ์ขององค์การอาเซียนคือ แม้จะมีความแตกต่างกันแต่ชาติสมาชิกอาเซียนทุกชาติต่างถือผลประโยชน์ขององค์กรเป็นหลัก ความสามัคคีสามารถแก้ไขปัญหาทุกประเด็นแม้ว่าจะเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและอ่อนไหวก็ตาม นายเหงวียนเตี๊ยนมิงห์ อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศเวียดนามเห็นว่า “ เมื่อที่ประชุมรมว.ต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ ๔๕ หรือเอเอ็มเอ็ม-๔๕ประสบความล้มเหลวเนื่องจากไม่สามารถผ่านความเห็นชอบปฏิญญาร่วม ชาติสมาชิกอาเซียนทุกชาติต่างตระหนักได้ดีว่า นี่เป็รผลเสียอันยิ่งใหญ่ต่อองค์กร หากไม่ได้รับการแก้ไข อาเซียนจะตกเข้าสู่วิกฤต ดังนั้น เมื่ออินโดนีเซียนเสนอข้อคิดริเริ่มเกี่ยวกับการอนุมัติแถลงการณ์ ๖ ข้อนั้นก็ได้รับความเห็นด้วยกับชาติสมาชิกอย่างรวดเร็วและมีปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม”
อาเซียนได้ตกลงกันในจุดยืนว่า สันติภาพ ความมีเสถียรภาพและความมั่นคงในทะเลตะวันออกมีความสำคัญต่อทุกประเทศในภูมิภาค อีกทั้งเห็นพ้องปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีเพื่อมุ่งสู่ร่างระเบียบการปฏิบัตต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการพิพาทต่างๆตามกฎหมายสากล
ภายใต้หัวข้อคือ อาเซียน หนึ่งประชาคม หนึ่งชะตากรรม ปีนี้กลุ่มอาเซียนได้แสดงให้เห็นถึงจิตใจแห่งความเห็นตรงกันในปัญหาหลักที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ โดยเพื่อมุ่งสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๐๑๕ ปีนี้ อาเซียนได้ประกาศจัดตั้งสถาบันสันติภาพและปรองดองและผ่านความเห็นชอบปฏิญญาสิทธิมนุษยชน นี่เป็นความคืบหน้าที่สำคัญขององค์การอาเซียนในกระบวนการสร้างสรรค์ประชาคมการเมืองและความมั่นคงและสอดคล้องกับเป้าหมายกับหลักการปฏิบัติของอาเซียนคือ ความเป็นเอกภาพในความหลากหลาย นายเหงวียนเตี๊ยนมิงห์เผยต่อไปว่า “ นี่เป็นพัฒนาการก้าวสำคัญของสมาชิกอาเซียนเนื่องจากมีระบอบการเมืองที่แตกต่างกันดังนั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนจึงมีความแตกต่างกันเช่นกัน แต่ผ่านการหารือมา ๑ ปี อาเซียนได้เห็นพ้องกันว่า นอกจากปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนของตะวันตกแล้ว เราต้องคำนึงถึงความหลากหลายของภูมิภาคด้วย สิ่งที่สำคัญของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนคือ การกำหนดมาตรฐานร่วมและเคารพมาตรฐานกับกฏหมายของแต่ละชาติ ซึ่งเป็นความสำเร็จของอาเซียนในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเจรจาเพื่อความเห็นพ้องกันในที่สุด ”
ปี ๒๐๑๒ ถือเป็นความสำเร็จของกลุ่มอาเซียนในการขยายความร่วมมือกับหุ้นส่วนนอกกลุ่ม โดยอาเซียนได้ยกระดับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและอินเดียขึ้นเป็นความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์และได้รับรายละเอียดเกี่ยวกับความคิดริเริ่มร่วมมือจากบรรดาประเทศคู่เจรจา โดยญี่ปุ่นสัญญาจะสนับสนุนเงิน ๕ แสนล้านเยนให้แก่ประเทศริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายใน ๓ ปี ส่วนจีนได้เสนอจัดตั้งคณะกรรมการเชื่อมโยงอาเซียน-จีน สนับสนุนสินเชื่อ ๑ หมื่นล้านเหรียญสหรัฐให้แก่โครงการเชื่อมโยงอาเซียน สมทบอีก ๕ ล้านเหรียญสหรัฐเข้าในกองทุนร่วมมืออาเซียน-จีน สาธารณรัฐเกาหลีจัดงบ ๑๐ ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการผสมสานของอาเซียนตามความคิดริเริ่มเชื่อมโยงอาเซียน และสหภาพยุโรปสนับสนุน ๑๕ ล้านยูโรระยะปี ๒๐๑๒ – ๒๐๑๖ ทั้งนี้มาจากความสามัคคี จิตใจเปิดกว้าง มีความเห็นตรงกัน มีความเป็นเอกภาพในความหลากหลาย การมุ่งมั่นอนุรักษ์เอกลักษณ์เพื่อสันติภาพ ความมีเสถียรภาพและความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
ปี ๒๐๑๓ ใกล้จะมาถึง หากอาเซียนจะปฏิบัติตามหลักการเหล่านี้ต่อไปก็จะสามารถธำรงพลังแห่งความมีชีวิตชีวาและฐานะโดดเด่นไว้ได้ ซึ่งเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของอาเซียนในเวลาข้างหน้าคือ ประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๐๑๕ บทบาทเป็นศูนย์กลางในเอเชียตะวันออกตลอดจนพยายามเพื่อสันติภาพ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในโลก ./.